ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เรื่องของห้องสมุด โดย บางกอกเกี้ยน

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11562 มติชนรายวัน


เรื่องของห้องสมุด


คอลัมน์ โลกสองวัย

โดย บางกอกเกี้ยน




ระยะนี้น้องหนูที่เรียนชั้น ม.ปลาย กำลังวุ่นวายอยู่กับการสอบบรรดา "เนต" ทั้งหลาย ขอให้จงโชคดีกับการเรียนต่อระดับสูงขึ้นไปอีกเด้อ

ประการ สำคัญ อยากเรียนวิชาอะไรคุยกับคุณพ่อคุณแม่ให้เข้าใจกันสักหน่อย อย่าผลีผลามเอาแต่ใจตัวเองเป็นที่ตั้ง คุณพ่อคุณแม่ก็เช่นเดียวกัน ชี้แจงแสดงเหตุผลกับลูก แล้วฟังเหตุผลจากลูกด้วย อย่าลืม โบราณท่านว่า "อย่าข่มขืน..." เอ๊ะ ไม่ใช่สิ ต้อง "อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า"

มีงานที่ต้องแนะนำต่อเนื่อง คือนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวบรวมผลงานทัศนศิลป์พระบรมสาทิสลักษณ์จากศิลปินสาขาทัศนศิลป์ตั้งแต่ศิลปิน อาวุโสกว่า 30 คน ถ่ายทอดทรรศนะความงามเชิงสุนทรียศิลป์และการตีความหมายในบริบทของสังคม ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลป์ ในหลายรูปแบบ อาทิ พระเจ้าอยู่หัวในชีวิตประจำวันของประชาชนกับสังคม เป็นต้น

งานนี้มี ต่อเนื่องตั้งแต่สิงหาคมโน่น จะจบงาน 15 พฤศจิกายนนี้ หาเวลาไปชื่นชมให้ได้นะครับ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชื่องาน "ภาพของพ่อ... บารมีแห่งแผ่นดิน"

งานวันนี้ (5 พฤศจิกายน) สำนักพิมพ์รักลูกบุกส์จัดเปิดตัวหนังสือ "คู่มือเลี้ยงลูก" เวลา 14.00-15.30 น. ณ ลานสานฝัน TK Park ในงานมีเสวนาเรื่อง "เลี้ยงลูกให้เท่าทันโรคและโลกยุคใหม่" จากกุมารแพทย์

คือ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิมล ศรีสุภาพ กับ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เลี้ยงลูก 3 รุ่นจากครอบครัวคนดัง คุณบ๊อบ-ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ คุณเปิ้ล-หัทยา วงษ์กระจ่าง ผู้ดำเนินรายการคือ คุณดาว-อภิสรา นุตยกุล แห่ง 30 ยังแจ๋ว

หนังสือคู่มือเลี้ยงลูก จัดพิมพ์มาครบ 25 ปี จากการรวบรวมเรียบเรียงของศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) แพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา พ่อแม่มือใหม่หัดเลี้ยงควรหาซื้อมาศึกษาและเป็นคู่มือเลี้ยงลูก

วันก่อนว่าถึงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ "บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์"วันนี้ขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อความรู้ความเข้าใจให้ ถ่องแท้

"บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์" เลขที่ 1166 ถนนสุขุมวิท ซอย 101/1 สืบเนื่องจากหม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี และท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากเจ้าฟ้า 2 พระองค์ โดยหม่อมหลวงจิรายุได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อเนื่องยางนาน

ส่วนท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ได้รับ พระกรุณาจากสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ที่ทรงอบรมเลี้ยงดูท่านผู้หญิงมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ กระทั่งสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งสองสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจึงดำริจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติให้สมเด็จเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณที่พักในซอยดังกล่าวแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดสร้างพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด "บ้านจิรายุ -พูนทรัพย์" ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งวิทยาการและให้บริการการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัยดำเนินการได้อย่างยั่งยืน

ใครที่รู้จักและเคยพบท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ในวันนี้อาจจะไม่เชื่อสายตาตนเองว่า อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ท่านนี้จะมีอายุขึ้นปีที่ 100 ทั้งยังแข็งแรงและมีความจำที่แม่นยำราวกับเพิ่งจะเกษียณจากราชการ ซึ่งลูกศิษย์ของท่านเพิ่งจะจัดงานแสดงมุทิตาจิตไปเมื่อเร็วๆ นี้ - อนุโมทนาสาธุ

อีกเรื่อง โครงการสารานุกรมไทยฯ ครบรอบ 40 ปี จึงจัดสร้างห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 10 แห่งทั้งประเทศ คือที่ห้องสมุดแห่งชาติ นครราชสีมา โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี โรงเรียนในอีกบางจังหวัด

ทั้งจัดสร้าง "รถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ พระราชทาน" 1 คัน น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ

ไปเผยแพร่ในทุกพื้นที่ไทย

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra04051152&sectionid=0131&day=2009-11-05

 

นักมานุษยวิทยาคนสำคัญ "โคล้ด เลวี่-สเตราส์" เสียชีวิตในวัย 100 ปี

 
โคล้ด เลวี่-สเตราส์


เลวี่-สเตราส์ ในวัยหนุ่ม

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 15:29:42 น.  มติชนออนไลน์

นักมานุษยวิทยาคนสำคัญ "โคล้ด เลวี่-สเตราส์" เสียชีวิตในวัย 100 ปี

"โค ล้ด เลวี่-สเตราส์" นักมานุษยวิทยาคนสำคัญชาวฝรั่งเศสและผู้ก่อตั้งสาขาวิชามานุษยวิทยาเชิงโครง สร้างได้เสียชีวิตลงในวัยหนึ่งศตวรรษ ชี้เป็นผู้ต่อต้านท้าทายว่าวัฒนธรรมยุโรปไม่ได้ดีเลิศสูงส่งกว่าวัฒนธรรม อื่น ปธน.ฝรั่งเศสระบุเป็นนักชาติพันธุ์วิทยาผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า "โคล้ด เลวี่-สเตราส์" หนึ่งในปัญญาชนชาวฝรั่งเศสที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักคิดมานุษยวิทยาเชิงโครงสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ในวัย 100 ปี


เลวี่-สเตราส์ เกิดที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อปี ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) ในครอบครัวที่มีพ่อและแม่เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เขาเติบโตในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์


เดิมที เลวี่-สเตราส์ เป็นนักศึกษาที่ชาญฉลาดผู้มีความสามารถดีเยี่ยมในวิชาธรณีวิทยา, นิติศาสตร์ และปรัชญา จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสเดินทางไปสอนหนังสือในสาขาวิชาสังคมวิทยา ที่ประเทศบราซิล ในปี ค.ศ.1935 (พ.ศ.2478) เขาจึงเริ่มให้ความสนใจกับสาขาวิชามานุษยวิทยา


ที่ประเทศบราซิล เลวี่-สเตราส์ได้เดินทางไปศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนเผ่าท้องถิ่น รวมทั้งได้ริเริ่มพัฒนาทฤษฎีและวิธีวิทยาในการศึกษากลุ่มชนเผ่าท้องถิ่น เหล่านั้น ซึ่งต่อมาได้มีคุณูปการอย่างลึกซึ้งต่อการศึกษาวิชามานุษยวิทยา


หลังจากเดินทางกลับมาประเทศฝรั่งเศส เลวี่-สเตราส์ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของกองทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสถูกกองทัพนาซีเยอรมันบุกเข้ายึดครองประเทศ เลวี่-สเตราส์ก็ตระหนักว่าตนเองตกอยู่ในอันตรายเนื่องมาจากการมีเชื้อสายยิว ของเขา ดังนั้น นักวิชาการชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิวคนนี้จึงตัดสินใจลี้ภัยไปยังประเทศสหรัฐ อเมริกา


ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เลวี่-สเตราส์ ได้เข้าร่วมขบวนการ "เสรีฝรั่งเศส" ซึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลอเมริกันในการปลดปล่อยประเทศฝรั่งเศสจากการปกครองของ นาซี หลังสงครามสิ้นสุดลง เขาจึงได้เดินทางกลับประเทศบ้านเกิด และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491)


นับแต่นั้นเป็นต้นมา เลวี่-สเตราส์ ก็ผลิตผลงานวิชาการทางด้านมานุษยวิทยาชิ้นสำคัญออกมาเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงทศวรรษ 1950 เขา ได้ใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและนิทานปรัมปรามาเป็นเครื่องมือที่แสดง ให้เห็นว่า แม้มนุษย์ในทุกสังคมจะมีแบบแผนทางพฤติกรรมและความคิดร่วมกัน แต่พฤติกรรมของมนุษย์เหล่านั้นก็วางอยู่บนพื้นฐานของระบบตรรกะที่แตกต่าง หลากหลายกันไปในแต่ละสังคม ข้อเสนอดังกล่าวได้ท้าทายระบบคิดที่เห็นว่าวัฒนธรรมยุโรปหรือตะวันตกมี เอกลักษณ์และมีความสูงส่งกว่าวัฒนธรรมอื่น ซึ่งสอดคล้องกับความคิดต่อต้านลัทธิอาณานิคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว พอดี


เลวี่-สเตราส์ ยังเสนออีกว่า ภาษา, การสื่อสาร และระบบตรรกะทางคณิตศาสตร์ จะเปิดเผยให้เราได้เห็นถึงระบบพื้นฐานของสังคม และความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งระบบความเชื่อของมนุษย์นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะใช้วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนที่ เชื่อมโยงสถาบันระดับพื้นฐานเหล่านั้นเข้ากับสถาบันอื่น ๆ ของสังคม


ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี่ แห่งฝรั่งเศส ได้กล่าวไว้อาลัยแด่โคล้ด เลวี่-สเตราส์ ว่า "เขาเป็นหนึ่งในนักชาติพันธุ์วิทยาผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล" และ "เป็นผู้สร้างสรรค์วิชามานุษยวิทยาสมัยใหม่"


ทั้งนี้ นอกจากจะมีความสามารถในการ เขียนงานวิชาการสาขามานุษยวิทยาแล้ว เลวี่-สเตราส์ยังถือเป็นปัญญาชนผู้มีอารมณ์ขันอันคมคาย โดยเขาเคยกล่าวติดตลกถึงนามสกุลของตนเองที่ไปพ้องกับชื่อของกางเกงยีนส์ ยี่ห้อดังระดับโลกว่า "ไม่มีปีใดเลย ที่จะไม่มีคำสั่งซื้อกางเกงยีนส์ถูกจัดส่งมาที่ผม"