ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Come join me at ตามหานักออกแบบและผู้ประกอบการ โครงการ "จับคู่ทางธุรกิจ" กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและสิ่งทอ on PORTFOLIOS*NET Creative Community




PORTFOLIOS*NET
PORTFOLIOS*NET has invited you to the event 'ตามหานักออกแบบและผู้ประกอบการ โครงการ "จับคู่ทางธุรกิจ" กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและสิ่งทอ' on PORTFOLIOS*NET Creative Community!
 
Check out "ตามหานักออกแบบและผู้ประกอบการ โครงการ "จับคู่ทางธุรกิจ" กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและสิ่งทอ" on PORTFOLIOS*NET Creative Community

PORTFOLIOS*NET

ตามหานักออกแบบและผู้ประกอบการ โครงการ "จับคู่ทางธุรกิจ" กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและสิ่งทอ Time: August 10, 2010 to August 17, 2010
Location: TCDC
Organized By: TCDCCONNECT.COM

Event Description:

โครงการ "จับคู่ทางธุรกิจ" กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและสิ่งทอ (Business Matching)
ตามหานักออกแบบและผู้ประกอบการ ร่วมกันพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) โดย TCDCCONNECT ได้จัดโครงการ "จับคู่ทางธุรกิจ" (Business Matching) กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่อหนังและสิ่งทอ

โดย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริม ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ หรือนักออกแบบได้มีโอกาสทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ร่วมด้วยการสัมมนากับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณชเล วุทธานันท์ ผู้ก่อตั้ง PASAYA บริษัทผู้ผลิตและส่งออกผ้าบุเฟอร์นิเจอร์และผ้าแฟชั่น, ดร. อโนทัย ชลชาติภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาและบริหารแบรนด์แฟชั่น และคุณธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์ Brand Manager จากบริษัท Ragazze ซึ่งเราเชื่อมั่นว่ากิจกรรมนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในระบบธุรกิจ

"จับคู่ทางธุรกิจ" - เราสร้างสรรค์กันอย่างไร?
เริ่มต้นจากเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใน โครงการฯ เลือกนักออกแบบเครื่องหนังและสิ่งทอที่สนใจอยากร่วมงานด้วยโดยตรง โดยผู้ประกอบการจะพิจารณาจากแฟ้มผลงาน (Portfolio) และประวัติการทำงานของนักออกแบบแต่ละท่าน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจในทิศทางการออกแบบ และสามารถคาดหวังถึงผลงานที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบได้

รางวัลของผู้เข้าร่วมโครงการ
นักออกแบบจะได้รับการคัดเลือกจากผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ซึ่งผู้ประกอบการและนักออกแบบจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. โอกาสในการจัดแสดงผลงานที่ TCDC
2. สิทธิในการเป็นสมาชิก TCDC ฟรี 1 ปี
3. โอกาสในการวางจำหน่ายผลงานในร้าน THE SHOP @TCDC

สมัครด่วน! วันนี้ ถึง วันที่ 17 สิงหาคม 2553

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกที่นี่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณแพร โทร. 02-6647667 #118 , #101


See more details and RSVP on PORTFOLIOS*NET Creative Community:
http://www.portfolios.net/events/event/show?id=2988839%3AEvent%3A808120&xgi=3Lo2iCuYhON5CN&xg_source=msg_invite_event
About PORTFOLIOS*NET Creative Community
Art Design Fashion Film Model Music Photography Community where talents can share their works, knowledge and experience.
PORTFOLIOS*NET Creative Community 12263 members
209098 photos
3114 songs
1882 videos
2419 discussions
520 Events
1850 blog posts
 
To control which emails you receive on PORTFOLIOS*NET Creative Community, click here


วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แม่ทัพภาค 4 คนใหม่ ดับไฟใต้...หรือ...ยิ่งเติมเชื้อ??

ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกรณีสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.)
view counter
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

แม่ทัพภาค 4 คนใหม่ ดับไฟใต้...หรือ...ยิ่งเติมเชื้อ??

ถึงตอนนี้ บัญชีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร ประจำปี 2553 ระดับหัวขบวนนั้นค่อนข้างนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งสำคัญๆ เช่นผบ.ทบก็เป็นไปตามคาดหมาย ‘พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา’และเพื่อน ตท.12 สาย‘บูรพาพยัคฆ์’ผงาดคุมกองทัพยกแผง

แต่ที่อุณหภูมิร้อนฉ่า และน่าจับตาเป็นพิเศษคือตำแหน่ง แม่ทัพภาค 4บุคคลที่จะมากุมบังเหียนกองทัพภาคที่มีภารกิจสำคัญในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ และดับไฟที่กำลังลุกโชนหนักอยู่ในขณะนี้!!
ก่อนหน้านี้ ตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่4’ คนใหม่ เป็นการขับเคี่ยวกันของตัวเต็งซึ่งเป็น ‘คนใน’ กองทัพภาค4 ระหว่างพล..กสิกรคีรีศรี’(ตท.11) ผู้บัญชาการกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจทหาร(ผบ.พตท.) ‘พล..อุดมชัยธรรมสาโรรัชต์’(ตท.13) รองแม่ทัพภาคที่4 คนที่หนึ่ง และ ‘พล..จำลองคุณสงค์’(ตท.14) รองแม่ทัพภาคที่4 คนที่สาม
ซึ่งไม่ว่าคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นแม่ทัพคนใหม่ สำหรับกำลังพลของกองทัพภาค 4 และคนทำงานในพื้นที่แล้ว ถือว่า ‘ยอมรับได้’  เพราะบุคคลจากรายชื่อดังกล่าวคือ คนใน’ เป็นนายทหารที่เข้าใจพื้นที่ และปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจริงๆ
แต่ล่าสุดอย่างไม่มีที่ไปที่มา ปรากฏชื่อพล..อกนิษฐ์หมื่นสวัสดิ์’(ตท.12) หัวหน้าประสานงานไทย-มาเลเซียเป็นแคนดิเดตคนสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีก1 คน!!
จึงมีคำถามว่า นอกจากการเป็นอดีตนักเรียนเตรียมทหาร ‘รุ่น12’ รุ่นเดียวกับพล..ประยุทธ์จันทร์โอชา’ ว่าที่ ผบ.ทบ.แล้ว จุดแข็งของพล..อกนิษฐ์ในการจะก้าวขึ้นเป็นแม่ทัพภาค4 คนใหม่คืออะไร??
เพราะต้องยอมรับว่า สถานการณ์เฉพาะหน้าของกองทัพภาค 4 ในวันนี้ไม่มีภารกิจใดที่สำคัญมากไปกว่าการดับ ‘ไฟใต้’ อีกแล้ว ขณะเดียวกันรากเหง้าความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ปลายด้ามขวานก็มี ‘บริบทเฉพาะ’ และ ‘พิเศษ’ เสียจนยากที่คนนอกพื้นที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ
ดังนั้น แม่ทัพภาค 4 คนใหม่จึงจำเป็นต้องเป็น ‘คนใน’ ที่เข้าใจปัญหา และมีคุณสมบัติรอบด้าน!!
ซึ่ง นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ เข้าใจบริบทปัญหา ชายแดนภาคใต้อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็ต้องเป็นนายทหารที่ได้รับการยอมรับจากกำลังพลในกองทัพภาค 4 อีกทั้งต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาในพื้นที่ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และภาคประชาสังคม
ประการสำคัญ แม่ทัพคนใหม่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจงานด้าน ‘มวลชน’ ซึ่ง ถือเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาความหวาดระแวงในพื้นที่ อันจะเป็นกุญแจถอดรหัสดับไฟใต้ เพราะการแก้ปัญหาความไม่สงบที่ปลายด้ามขวาน ไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยงานด้านการทหารเพียงด้านเดียว และหากกองทัพขาดความเข้าใจในการทำงานการเมืองในพื้นที่ ก็ยากที่จะชนะและได้ใจชาวบ้าน!!
กล่าวสำหรับ พล..อกนิษฐ์หมื่นสวัสดิ์’เคยรับราชการในกองทัพภาคที่4 มานานพอสมควรถือว่ามีบทบาทในพื้นที่ภาคใต้ไม่น้อยก่อนที่จะถูกโยกเข้าไปในส่วนกลาง ห่างหายจากพื้นที่ไปนานหลายปี สาเหตุเพราะเคยเป็นตัวแทนของกองทัพภาคที่ 4 ไปร่วมเจรจากับขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้ หรือ พูโล ในยุคที่ พูโล ยังเรืองอำนาจ ที่ ประเทศซีเรีย และอียิปต์ แต่การเจรจาในครั้งนั้นต้องล้มเหลว
ถ้าว่ากันตามหลักการ ก็ถือว่า ถูกย้ายออกจากพื้นที่เพราะมีความผิด!!
แน่ นอนว่า การห่างพื้นที่ไปนาน ย่อมส่งผลในการประสานงานกับดุลอำนาจต่างๆ ไม่ว่าสายสัมพันธ์กับเอ็นจีโอ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หรือแม้กระทั่งกำลังพลในกองทัพภาค 4 ก็ต้องมานับหนึ่งกันใหม่ หากได้ ‘คัมแบ็ก’ อีกครั้ง
อันที่จริง พล..อกนิษฐ์ ในอดีตเคยมีบทบาทโดดเด่นในฐานะนายทหารหนึ่งที่เคยเป็นผู้เจรจากับอดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายาก่อนที่จะมีการเจรจาสลายการจับอาวุธและเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กระนั้น เรื่องราวแต่เก่าก่อนถ้าจะให้ถึงขนาด ‘ฟันธง’ ว่า พล..อกนิษฐ์ เข้าใจปัญหาชายแดนในวันนี้อย่างลึกซึ้งจนเหมาะสมที่จะขึ้นแท่น ก็คงจะเป็นการมองอย่าง ‘ผิวเผิน’ และง่ายเกินไป!!
เพราะบริบท ของปัญหาในวันนั้นกับวันนี้กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การสู้รบเพื่อเอาชนะกองกำลังติดอาวุธของขบวนการฯ เป็นเพียงเรื่องปลายเหตุ ด้วยอุปสรรค ‘สำคัญ’ ที่ถึงตอนนี้ก็ยังดับไฟใต้ไม่ได้ ประเด็นหลักอยู่ที่เจ้าหน้าที่รัฐยังเข้าไม่ถึงจิตใจคนในพื้นที่ ยังเอาชนะ จิตใจชาวบ้านไม่ได้ต่างหาก
ว่าไปแล้ว เป็นเรื่อง ‘มวลชน’ ล้วนๆ!!
ขณะเดียวกัน แนวทางการทำงานของ พล..อกนิษฐ์ ที่ผ่านมา ค่อนข้างที่จะใช้บริการผู้มีอำนาจหรืออิทธิพลในพื้นที่เสียมากกว่า หากได้มานั่งแท่นแม่ทัพภาค4 จริงๆ จึง น่าวิตกว่า ผู้นำชุมชน โดยเฉพาะผู้นำศาสนา บาบอตามปอเนาะต่างๆ จะหมดโอกาสที่จะมีบทบาทร่วมในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมวลชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่รัฐ และยิ่งส่งผลต่อการแก้ปัญหาภาคใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกทั้งการที่ พล..อกนิษฐ์ ถือเป็นคนนอกกองทัพภาค 4 การข้ามห้วยมานั่งแท่นผู้บังคับบัญชา ก็จะเกิดปัญหาการยอมรับจากนายทหารและกำลังพลเพราะทหารในพื้นที่นั้นต้องการให้คนในกองทัพภาค 4 ขึ้นมาเป็นผู้นำ เนื่องจากการคลุกคลีอยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนานจะทำให้เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ อย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การแก้ไขอย่างถูกต้องและเป็นระบบ
และที่ถือเป็น ‘จุดด้อย’ สำคัญ ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคที่สุดของ พล..อกนิษฐ์ ในการขึ้นแท่นแม่ทัพภาค 4 ก็คือ นโยบายของกองทัพที่ระบุว่า บุคคลที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งแม่ทัพต้องผ่านตำแหน่งหลักเป็นผู้บังคับหน่วยหรือคุมกำลังในระดับผู้บังคับการกรมหรือผู้บัญชาการกองพล แต่ พล..อกนิษฐ์  ‘ไม่เคย’ ดำรงตำแหน่งหลักดังกล่าวมาก่อน
การดันทุรังหนุน พล..อกนิษฐ์เป็นแม่ทัพภาค 4 จึงเท่ากับว่าเป็นการทำลายระบบของกองทัพเสียเอง!!
ปัจจุบัน การทำงานที่เป็นอยู่ในพื้นที่ ขาดทั้งเอกภาพ และวิสัยทัศน์ ต่างคนต่างทำ ต่างกันต่างเดิน แล้วเมื่อการเมืองที่มาเล่นในกองทัพภาค 4 ทำให้นายทหารดีๆ ที่มีความสามารถไม่สามารถอยู่ทำงานอยู่ได้ ส่วนนายทหารที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ขาดทั้งความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ แต่มีเส้นสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจในกองทัพกลับได้รับการแต่งตั้งให้รับผิด ชอบงานในตำแหน่งที่สำคัญ ก็เสมือนยิ่งเติมเชื้อแห่งความขัดแย้งเข้าไปอีก
ที่สุดแล้ว หาก  ‘พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา’ และกองทัพ ต้องการดับไฟใต้อย่างจริงจังและมีความจริงใจในการแก้ปัญหาที่ปลายด้ามขวาน การเลือกบุคคลมาเป็นแม่ทัพภาค 4 ‘คนใหม่’ ก็จะต้องใคร่ครวญให้หลายตลบ เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมที่สุดมารับผิดชอบงานสำคัญ
แต่หากเพียงเพื่อผลักดันให้ ‘ตท.12’ และเพื่อน ‘บูรพาพยัคฆ์’ ยกแผงขึ้นกุมอำนาจกองทัพ โดยไม่ยี่หระว่าจะเป็นการเติมเชื้อไฟและเพิ่มปัญหาให้จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ ก็ไม่เป็นปัญหาที่จะลองส่ง พล..อกนิษฐ์หมื่นสวัสดิ์’ ลงไปเป็นแม่ทัพคุมภาคใต้
ส่วนจะเผาหลอกหรือเผาจริง ไม่นานเดี๋ยวก็รู้!!
http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30573
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บิ๊ก สตง.รวมตัวต้าน"จารุวรรณ"กลับมานั่งเก้าอี้ต่อ ซัดกันนัวกับลูกน้องคนสนิท ลั่นกลับมาเป็น ปธ.คตง.

วันที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 10:20:59 น.  มติชนออนไลน์

บิ๊ก สตง.รวมตัวต้าน"จารุวรรณ"กลับมานั่งเก้าอี้ต่อ ซัดกันนัวกับลูกน้องคนสนิท ลั่นกลับมาเป็น ปธ.คตง.

ฝุ่น ตลบ "จารุวรรณ โต้ พิศิษฐ์" กลางที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง สตง. ยืนยันกลับเข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการฯต่อ เจอที่ประชุมรุมต้าน ซัดกันนัวกับรองผู้ว่าฯ อดีตลูกน้องคนสนิท อ้างผิดหวัง เปลี่ยนไป ลั่นตั้งใจเข้ามาเป็นประธาน คตง. อีก

นายกฯไม่รู้เรื่อง"จารุวรรณ"ขอนั่งเก้าอี้ต่อ

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การเตรียมขอกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาทั้งที่อายุครบ 65 ปีบริบูรณ์โดยอ้างความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภาระบุ ว่า ประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.)ฉบับที่ 29  ที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการสรรหาผู้ว่าการฯคนใหม่ว่า   เป็นเรื่องของข้อกฎหมาย


เมื่อถามว่าขณะนี้เรื่องดังกล่าวขั้นตอนไปถึงไหนแล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะเรื่องไม่ได้ผ่านมาทางตน 

"บิ๊ก"สตง.รุมต้าน"จารุวรรณ" ไม่ให้นั่งเก้าอี้ต่อ

 

เมื่อเช้าวันที่ 2 สิงหาคม นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รอง ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการ ฯได้เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงระดับ 10 จำนวน 11 คน เพื่อหารือถึงความชัดเจนจากกรณีที่คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้ทำหนังสือเวียนถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ว่าจะกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่า การ สตง. โดยอ้างความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาว่าสามารถดำรงตำแหน่ง นี้ต่อไปได้ ทั้งที่คุณหญิงจารุวรรณ มีอายุครบ 65 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งต้องพ้นตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรม นูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542


รายงานข่าวแจ้งว่า มติที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่จำนวน 7 คน เห็นว่าคำสั่งของคุณหญิงจารุวรรณไม่ชอบด้วยกฎหมายและควรรอให้คณะกรรมการ กฤษฎีกาตีความให้ชัดเจนก่อน โดยให้นายพิศิษฐ์รักษาการผู้ว่าการ สตง. แต่อีก 4 คน ไม่มีความเห็นชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ จากนั้นที่ประชุมได้รวมตัวกันเดินทางเข้าพบคุณหญิงจารุวรรณที่ห้องทำงาน เพื่อแจ้งมติที่ประชุมข้างต้น แต่คุณหญิงจารุวรรณยืนยันว่าจะกลับเข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการ สตง.อย่างแน่นอน และจะรับเงินประจำตำแหน่งเหมือนเดิมด้วย

 

  
“ ตอนแรกก็ว่าจะไปแล้ว หลังจากที่อายุครบเกณฑ์ และยิ่งตอนนี้มาเกิดเรื่องแบบนี้ด้วยก็ไม่อยากจะอยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่จากการที่ไปสอบถามข้อมูลด้านกฎหมายหลายแห่ง เนื่องจากพี่เป็นคนใฝ่รู้ในข้อกฎหมาย ก็ได้รับการยืนยันจากนักกฎหมายหลายคน ที่เข้าใจกฎหมายดีกว่าพวกเรา สตง.มากว่า ยังอยู่ในตำแหน่งได้ และควรอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ สตง.เกิดปัญหาสุญญากาศในการบริหารงาน และผู้ใหญ่บางคน ซึ่งไม่ขอเอ่ยชื่อบอกว่า ยังไปไม่ได้ ก็เลยตัดสินใจกลับเข้ามาทำหน้าที่ต่อไปเหมือนเดิม โดยจะใช้ตำแหน่งว่า ผู้ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าการฯ สตง. ” แหล่งข่าวกล่าวอ้างคำพูดของคุณหญิงจารุวรรณในที่ประชุม

  
ข่าวแจ้งว่า  ในระหว่างการประชุม ครั้งนี้ มีข้าราชการระดับสูงหลายคน ได้พยายามทักท้วงว่า ควรจะมีการรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมาก่อนหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติ แต่คุณหญิงจารุวรรณกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเพียงแค่คำแนะนำเท่านั้น จะปฎิบัติตามหรือไม่ปฎิบัติตามก็ได้ ส่วนเหตุผลที่ต้องส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี แจ้งไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็เพราะเห็นว่า นายกฯ มีอำนาจดูแลรับผิดชอบหน่วยงานนี้อยู่ และที่ผ่านมา ก็มีหลายเรื่องที่นายกฯ ไม่ได้ดำเนินการตามกฤษฎีกา


“ พี่ว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอะไรหรอก เราน่าจะใช้วิธีส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เกิดความชัดเจนไปเลยดี กว่า ผลออกมาเป็นอย่างไร พี่ก็พร้อมจะปฏิบัติตามนั้น ส่วนกรณีที่กรรมการ ป.ป.ช.(คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)บางคน ที่เมื่อพ้นกำหนดแล้ว ต้องลาออกไป เรื่องนี้ คงไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกับพี่ได้ เพราะกรณีของ ป.ป.ช. เขามีคณะกรรมการหลายคน ออกไปคนหนึ่งเข้าก็ยังมีคนเหลือทำงานได้ แต่ตำแหน่งผู้ว่าฯ มีตำแหน่งเดียว  ถ้าไม่อยู่ต่อมันจะเกิดปัญหาสุญญากาศในการบริหารงานได้ และตำแหน่งรักษาการ ก็ทำงานบางเรื่องไม่ได้ การจะตีความข้อกฎหมายอะไรมันจะต้องดูเรื่องเจตนารมณ์ด้วย” คุณหญิงจารุวรรณกล่าวต่อที่ประชุม

   
ในระหว่างการหารือครั้งนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ยังมีการโต้เถียงหลายเรื่อง กับนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าฯรักษาราชการแทนผู้ว่าฯซึ่งเคยเป็นลูกน้องคนสนิทไม่ว่า จะเป็นกรณีที่แต่ละฝ่าย พูดจาไม่ดีกับลูกน้องคนสนิทของแต่ละฝ่าย  โดยคุณหญิงจารุวรรณอ้างว่า  นายพิศิษฐ์ ขู่ว่าจะสั่งย้าย คุณ ป. ให้ไปนั่งในตำแหน่งที่รับผิดชอบงานน้อยๆ  หลังจากที่นายพิศิษฐ์ ท้วงถามเอกสารราชการบางฉบับ แต่ไม่รับ โดยมีการอ้างว่า มีงานที่ต้องทำมาก  ขณะที่นายพิศิษฐ์ ก็อ้างว่า คุณหญิงจารุวรรณ ก็เคยทำหนังสือประจานลูกน้องตนเอง ว่า ทำงานไม่ดี โดยมีสาเหตุเพียงแค่ว่า โทรศัพท์ มาที่ห้องทำงาน แล้วไม่ยอมรับ ทำให้ติดต่อไม่ได้


“การโต้เถียงดังกล่าว ยังลุกลามไปถึงปัญหาสำคัญอีกหลายเรื่องไม่ว่า จะเป็นเรื่องที่นายพิศิษฐ์ ออกคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งน้องของคุณหญิงจารุวรรณ ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา สตง. เพื่อช่วยเรื่องภาษาต่างประเทศ ซึ่งคุณหญิงยืนยันว่า น้องของตน ทำประโยชน์ให้กับสตง. อย่างมาก หรือกรณีการประกาศราคาก่อสร้างอาคาร สตง.แห่งใหม่  ที่คุณหญิงระบุกลางที่ประชุม ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ได้มอบหมายให้นายพิศิษฐ์ เป็นผู้รับผิดชอบ และทำทุกอย่างตามคำแนะนำของนายพิศิษฐ์ ตลอด และยอมรับว่า มีความตั้งใจที่จะให้พล.อ.ต. อาวุธ เงินชูกลิ่น เข้ามารับออกแบบให้ เพราะต้องการให้อาคารสตง.แห่งใหม่ มีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นไทยมากที่สุด  ขณะที่นายพิศิษฐ์ ยืนยันว่า สิ่งที่ตนทำไป และเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีเจตนาอย่างเดียวก็คือ ทำทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสี่ยงของ สตง. และปกป้องน้องๆ ข้าราชการที่รับผิดชอบงานนี้ ไม่ให้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น หลังจากที่ตรวจพบว่า  การดำเนินงานในเรื่องนี้มีปัญหาความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นหลายอย่าง" แหล่งข่าวกล่าวถึงบรรยากาศที่ประชุม


อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ยังได้ยอมรับกับข้าราชการทุกคนว่า มีความตั้งใจว่า หลังจากพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ ไปแล้ว จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน( คตง. )และต้องการที่จะให้นายพิศิษฐ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฯ  จึงได้วางตัวให้นายพิศิษฐ์ เข้ามาเป็นรักษาการผู้ว่าฯ แต่ขณะนี้รู้สึกผิดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท่าทีของนายพิศิษฐ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป พยายามขับไล่ตนให้ออกไปจาก สตง.  และไม่คิดว่า เหตุการณ์การต่อต้านตนไม่ให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ  จะย้อนรอยกลับมาเกิดขึ้นกับตัวเองอีกครั้งแบบนี้  ขณะที่นายพิศิษฐ์ กล่าวยืนยันว่า การจะทำอะไรก็แล้ว แต่จะต้องดูเรื่องความถูกต้องของกฎหมายเป็นสำคัญ และก็ควรจะนำความจริงมาพูดกัน เพื่อจะได้ให้เพื่อนข้าราชการ สตง.ทุกคนรับทราบว่าอะไรเป็นอะไร


แหล่งข่าวจากสตง. กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ แม้ว่าคุณหญิงจารุวรรณ จะยืนยันว่า จะกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง. อีกครั้ง แต่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สตง.ก็ยังมีความสับสนว่า ในทางปฎิบัติทำได้หรือไม่ เพราะขณะนี้คำวินิจของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังไม่ออกมา และจะสามารถเชื่อถือคำวินิจฉัยของคณะที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภา ได้มากน้อยเพียงใด  เพราะถ้าตีความแบบนี้ได้ ก็จะส่งผลทำให้อำนาจของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ด้วยว่าการตรวจเงินฯ ที่กำหนดอายุของผู้ว่าฯ ว่าจะต้องไม่เกิน 65 ปี หมดความศักดิ์สิทธิ์ลงทันที


“ แม้คุณหญิงจารุวรรณ จะยืนยันเสียงแข็ง ว่า กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ได้  แต่ดูเหมือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่หลายคน ก็ยังไม่มั่นใจว่าทำได้จริง และมองว่า คุณหญิงจารุวรรณ มีความสัมพันธ์อะไรพิเศษกับส.ว.บางกลุ่มหรือเปล่า  ขณะที่นายพิศิษฐ์ ในฐานะรักษาการก็ยืนยันว่า จะทำหนังสือเวียนแจ้งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สตง. ได้รับทราบว่าหากใครปฎิบัติตามคำสั่งหนังสือเวียนของคุณหญิงจารุวรรณ ถือเป็นความผิด และจะต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวด้วย ก็ยิ่งส่งผลทำให้การดำเนินงานภายในของ สตง. เกิดปัญหาขึ้นอย่างมากในขณะนี้”  แหล่งข่าวระบุ

 

เมื่อเดียวกันมีการประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ นัดแรก มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน ในวาระเรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมให้รับทราบ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถิ์ ลุกขึ้นสอบถามกรณีปรากฏข่าวในสื่อ ว่า คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภาได้เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา ว่า ควรที่จะให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่าการ สตง.) เนื่องจากอายุครบ 65 ปีตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542  ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดินต่อเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบ จึงมีข้อสงสัยว่า กระแสข่าวดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ และคณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจดำเนินการตามที่เป็นข่าวหรือไม่


นายประสพสุข ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าว สตง.ส่งเรื่องมาให้ตนพิจารณา จึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาพิจารณาเพื่อเสนอ ความเป็นประกอบการพิจารณาของประธาน เมื่อที่คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เสนอความเห็นมาแล้วตนได้รับทราบเท่านั้น ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างไร และไม่เกี่ยวกับการพิจารณาของใคร เพราะความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เป็นเพียงความเห็น ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีมีผู้มาสอบถาม  ซึ่งตนได้ชี้แจงว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


จากนั้นนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา สอบถามว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เริ่มข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์อ้างบันทึกของ สตง.ระบุถึงความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาในเรื่องนี้ ทำให้รู้สึกแปลกใจว่าคณะกรรมการที่ปรึกษาฯดังกล่าว ทำงานเพื่อวุฒิสภา แต่เหตุใดจึงมีบันทึกออกไปเปิดเผยอยู่ภายนอกได้

 

นายเรืองไกรกล่าวว่า ต่อมาตนไปขอตรวจสอบกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาว่า มีบันทึกออกไปจริงหรือไม่แต่กลับดูไม่ได้ ต่อมาจึงทราบอย่างไม่เป็นทางการจากเจ้าหน้าที่ว่า ประธานวุฒิสภาไม่ได้ส่งเอกสารนี้ออกไปข้างนอก ปัญหาจึงอยู่ที่เหตุใดจึงมีความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธาน วุฒิสภาไปปรากฏอยู่ในบันทึกขององค์กรอิสระ ทำให้สื่อมวลชนนำไปอ้าง ทำให้เกิดความเสียหาย และมีปัญหาตามมาอีกว่า บันทึกการประชุมของคณะที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 53 ได้สรุปความเห็นให้ทำรายงานความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เสนอประธานวุฒิสภานำความเห็นของคณะที่ปรึกษาฯ ไปใช้ประกอบการพิจารณา ทั้งนี้เพื่อให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการ สรรหาผู้ว่าการสตง.ใช้พิจารณาแก้ไขปัญหาต่อไป


"เรื่องนี้ในสตง.ก็เป็นข่าว สื่อมวลชนก็สนใจ แล้วคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาใช้สถานะอะไร เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 หรือไม่ ไปก้าวก่ายอะไรเขาหรือเปล่า" นายเรืองไกร กล่าว


จากนั้นนายประสพสุข ชี้แจงอีกครั้งว่า เรื่องนี้สตง.มีหนังสือมาถึงตน จึงให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาให้ความเห็นประกอบการพิจารณา ของตน เมื่อรับทราบความเห็นแล้วก็รับทราบเฉยๆ ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ต่อ เป็นการรับทราบเรื่องนี้ประกอบการพิจารณาเท่านั้น


ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ชี้แจงว่า หลังจากคณะกรรมการฯ พิจารณาเรื่องนี้แล้ว ก็ทำความเห็นเสนอประธานวุฒิสภา ส่วนคุณหญิงจารุวรรณ ได้ทำหนังสือเสนอมายังคณะกรรมการฯ ในช่วงที่ประธานวุฒิสภาไปราชการในต่างประเทศ โดยหนังสือระบุว่า มีความต้องการที่จะได้บันทึกความเห็นดังกล่าวเพื่อนำไปประกอบดุลยพินิจของ คุณหญิงจารุวรรณเอง ซึ่งในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ เห็นว่า บันทึกดังกล่าวไม่ได้เป็นความลับอะไรจึงนำส่งไปให้อย่างถูกต้องตามระบบ สารบรรณ


"เรื่องที่ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯมีความ ถูกต้องหรือไม่ ผมยืนยันว่า ถูกต้องทุกประการ รองรับด้วยข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา และอำนาจของประธานวุฒิสภา การพิจารณาได้ทำอย่างถูกต้องทุกประการ ส่วนที่มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ สตง.อาจเกิดจากคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ ผมขอชี้แจงว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากผู้ว่าการ ฯ แต่อาจเกิดจากผู้ผิดหวังบางคน ที่ผิดหวัง หรือเสียประโยชน์ ไม่ได้ตำแหน่ง หรือบางคนที่ชักใยอยู่ข้างหลังที่ต้องการสิ่งที่ไม่ถูกต้องในกระบวนการที่ ไม่ถูกต้อง หนังสือของเราเป็นแค่ความเห็นทางกฎหมาย ผลจะมีหรือไม่อยู่ที่ผู้อ่านว่า จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ทั้งหมดไม่ใช่ความเห็นชี้ขาด สิ่งที่จะชี้ขาดได้มีเพียงคำสั่งศาล ขอย้ำว่า เรื่องนี้ไม่เคยมีการวินิจฉัยว่าคุณหญิงจารุวรรณ ต้องพ้นจากตำแหน่ง เป็นแต่เพียงความสงสัยของคุณหญิงจารุวรรณเองเท่านั้น" นายไพบูลย์ กล่าว


นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปโดยโปร่งใส ส่วนถ้าเพื่อนสมาชิกเห็นว่าพวกตนโดยเฉพาะตนทำหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 266 ก็ขอให้ไปฟ้องให้ตรวจสอบ หากไม่ดำเนินการจะถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่


ด้านนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องใดต้องเข้าใจถึงสาระสำคัญ หากไม่เข้าใจจะเสียหาย คณะกรรมการฯเป็นนักกฎหมาย การอ่านกฎหมายต้องทำอย่างรอบด้าน การทำหน้าที่ของคณะกรรมการฯได้ทำหน้าที่ตามที่ร้องขอ จึงขอถามกลับไปยังผู้สงสัยว่า ความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ คือ ความคิดเห็นของนักกฎหมายธรรมดาไม่ได้เป็นความเห็นชี้ขาด เช่นนี้แล้วจะมาต่อว่าเพื่อนสมาชิกได้อย่างไร การตัดสินมีกลไกของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ การวิพากษ์วิจารณ์ใครต้องคิดให้ดีและให้ความเคารพต่อเพื่อสมาชิกด้วย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นบรรยากาศการประชุมเคร่งเครียดมากขึ้น โดยนายเรืองไกร กล่าวว่า ขอสำเนาหนังสือความเห็นเรื่องนี้ทั้งหมด ทั้งบันทึกการปะชุม หนังสือที่ออก และหนังสือความเห็นที่ส่งไปยัง สตง. โดยอยากทราบว่า ผู้ที่ส่งหนังสือคือใคร ใครเป็นผู้ลงนาม  ลงนามในสถานะใด โดยขอหนังสือทั้งหมดให้ตนภายในวันนี้ ทำให้นายไพบูลย์ ลุกขึ้นตอบโต้ว่า เรื่องการขอเอกสารขอให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุรายละเอียดว่าต้องการหนังสืออะไร หากไม่มีลายลักษณ์อักษรจะไม่สามารถส่งเอกสารให้ได้ ในฐานะประธานยินดีที่จะส่งหนังสือให้ทั้งหมดตามที่ต้องการ


นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา กล่าวว่า กรอบอำนาจหน้าที่ของกรรมการฯคือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามที่ประธานขอมา เรื่องที่เข้าสู่การพิจารณาของกรรมการฯ จะต้องทำเป็นระเบียบวาระขึ้นมา และคณะกรรมการฯไม่เคยหยิบยกเรื่องใดขึ้นมาพิจารณาเอง จึงขอให้ทราบว่า คณะกรรมการฯ ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย สำหรับความเห็นที่ออกไปจะตรงกับความเห็นที่เพื่อนสมาชิกต้องการหรือไม่ไม่ สามารถผูกมัดได้ มติของคณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจผูกพันให้ฝ่ายใดปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามได้ ขอยืนยันว่าคณะกรรมการฯ ทำงานโดยอิสระโปร่งใส และยึดหลักกฎหมายโดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝงหรือแอบอิงทั้งสิ้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280748023&grpid=&catid=01



--
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

บูรพาพยัคฆ์



บูรพาพยัคฆ์


คอลัมน์ คอลัมน์ที่13



"บูรพาพยัคฆ์" คือชื่อเรียกนายทหารที่รับราชการ หรือเคยผ่านการรับราชการในหน่วยกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.)

อันเป็นหน่วยที่ดูแลกองกำลังบูรพา รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก

ซึ่งกองทัพประเมินว่าชายแดนด้านตะวันออกที่ติดกับพื้นที่ประเทศกัมพูชาเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดของประเทศ

ชื่อ บูรพาพยัคฆ์มีที่มาจากรากศัพท์จากฐานทัพที่กองทัพใช้หน่วยทหารต่างๆ เผชิญหน้าการสงครามระหว่างที่กัมพูชามีปัญหาความขัดแย้ง "เขมร 4 ฝ่าย" สมัยปี พ.ศ.2522

พล.ร.2 รอ. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เป็นกองพลทหารราบยานเกราะ กองพลเดียวในประเทศไทย

มีหน่วยขึ้นตรงภายใต้บังคับบัญชา ประกอบด้วย

กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.2 รอ.) ค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี

กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 รอ.) ค่ายไพรีระย่อเดช จ.สระแก้ว

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) (ทหารเสือราชินี) ค่ายนวมินทราชินี "ทหารเสือราชินี" จ.ชลบุรี

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ (ป.2 รอ.) ค่ายพรหมโยธี จ.ปราจีนบุรี

รวมถึง

กอง พันทหารม้าที่ 30 รักษาพระองค์ (ม.พัน.30 รอ.) กองพันทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (ม.พัน.2 รอ.) กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ (ช.พัน.2 รอ.) กองพันทหารสื่อสารที่ 2 รักษาพระองค์ (ส.พัน.2 รอ.)

ในอดีตเคย มีนายทหารคนสำคัญ ที่เคยเติบโตมาจาก พล.ร.2 รอ. เช่น พล.อ.ศัลย์ ศรีเพ็ญ อดีตรองผบ.ทบ. พล.อ.ชัยณรงค์ หนุนภักดี อดีตรองผบ.สส. พล.อ.นิพนธ์ ภารัญนิตย์ อดีตรองผบ.ทบ. พล.อ.อาชวินทร์ เศวตเศรณี อดีตแม่ทัพน้อยที่ 1

แต่บางคนไม่ได้ก้าวขึ้นเป็น ผบ.พล.ร.2 แต่เคยวนเวียนรับราชการคุมกำลังในพื้นที่นี้มาก่อน

เช่น พล.อ.วัฒนา สรรพานิช อดีตรองผบ.สส. และพล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร อดีตผบ.ทบ.

หรือ อดีตยังเติร์กคนดัง "วีรบุรุษตาพระยา" พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร อดีตผู้การกรม 2 ค่ายจักรพงษ์ ถ้าอนาคตไม่วูบไปกับเหตุการณ์เมษาฮาวาย ก็มีสิทธิ์คั่วเก้าอี้ผบ.พล.ร.2 ในยุคนั้นเหมือนกัน

สำหรับนายทหารที่มีตำแหน่งสำคัญในปัจจุบัน ที่เคยผ่านเส้นทางเติบโตจากบูรพาพยัคฆ์ได้แก่

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.อุดมเดช สีตบุตร รองแม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.ธีรชัย นาควานิช รองแม่ทัพภาคที่ 1

โดยมี พล.ต.วลิต โรจนภักดี เป็น ผบ.พล.ร.2 รอ. คนปัจจุบัน

ทั้ง พล.อ.อนุพงษ์ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.ท.คณิต มีส่วนเป็นกำลังสำคัญในการทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2549

รวมทั้งยังถือเป็นขั้วอำนาจสำคัญทางฝ่ายทหาร ที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะด้วย

นอกจากเส้นทางการเติบโตมาจากสายบูรพาพยัคฆ์ พล.อ. อนุพงษ์และพล.อ.ประยุทธ์ยังเป็นกลุ่มนายทหารที่ผ่านเส้นทางของ "ทหารเสือราชินี"

คือเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์มาแล้วด้วย

บูรพาพยัคฆ์ผงาดคุมอำนาจกองทัพบกติดต่อกันมาหลายปี

และน่าจะต่อเนื่องไปอีกหลายปี


หน้า 6
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREExTURnMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdPQzB3TlE9PQ==


--
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

กมธ.วิทยาศาสตร์ วุฒิสภา เตรียมเดินทางศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐฝรั่งเศส






 

กมธ.วิทยาศาสตร์ วุฒิสภา เตรียมเดินทางศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐฝรั่งเศส

3.. 53 -             คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา เตรียมเดินทางศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในระหว่างวันจันทร์ที่ 9 ถึงวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม นี้

                นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ในระหว่างวันจันทร์ที่ 9 ถึงวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553 คณะกรรมาธิการมีกำหนดการเยือนและศึกษาดูงาน ณ ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐฝรั่งเศสและราชรัฐโมนาโก ทั้งนี้ในส่วนของราชอาณาจักรสเปนนั้นคณะกรรมาธิการจะได้มีโอกาสในการเยี่ยมชมการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีการขนส่ง ณ กรุงมาดริด ก่อนที่จะเดินทางเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์บาร์เซโลน่า (Cosmo Caixa Science Museum) ในส่วนของการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสนั้นคณะกรรมาธิการจะได้มีโอกาสในการเยี่ยมชมเทคโนโลยีการคมนาคมทางราง (Tramway) ณ เมืองนีช ก่อนที่คณะกรรมาธิการจะออกเดินทางไปยังเมืองเซนต์ปอล เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของเมืองเซนต์ปอล เมืองกราส และเมืองคานส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส  

 

 

 

 

 

 

เกรียงไกร  หอมจันทร์เทศ  ข่าว / เรียบเรียง

 


วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฝึกอบรมทำสวนเกษตรดาดฟ้า ทุกวันเสาร์ตลอดเดือนก.ย. ระหว่างเวลา 08.00-15.00 น. ณ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่

วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7179 ข่าวสดรายวัน


ฝึกอบรมทำสวนเกษตรดาดฟ้า




น.ส.อมรรัตน์ กฤตยานวัช ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ เปิดเผยว่า ทางสำหนังานเขตได้จัดอบรมการทำเกษตรดาดฟ้าและเกษตรอินทรีย์ แก่ผู้ว่างงานรวมถึงประชาชนทั่วไปจำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 30-40 คน โดยกำหนดอบรมรุ่นละ 1 วัน ทุกวันเสาร์ตลอดเดือนก.ย. ระหว่างเวลา 08.00-15.00 น. ณ สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่

น.ส.อมรรัตน์กล่าวต่อว่า เปิดรับสมัครด่วนรับจำนวนจำกัด จะเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนส.ค.เป็นต้นไปจนกว่าจะเต็ม สำหรับผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ สำนักงานเขตหลักสี่ หรือสอบถามรายละเอียด โทร. 0-2576-1393 ทุกวันเวลา 08.30-16.00 น.

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสวนเกษตรดาดฟ้า เทคนิคการทำเกษตรบนพื้นปูน การนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นแปลงปลูกผัก ความรู้เกี่ยวกับการทำจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) การทำฮอร์โมนเร่งใบ ดอก ผล การทำสมุนไพรไล่แมลง การทำไคโตซาน การเพาะถั่วงอกไร้สาร (แบบประหยัด) การทำน้ำยาอเนกประสงค์ (จากลูกมะกรูด)

วิธีการทำหัวเชื้อเห็ด การทำปุ๋ยจุลินทรีย์จากขยะสด (ผักและผลไม้) การทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหาร (ปุ๋ยทาคาคูระ) การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก เทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก การเตรียมแปลงปลูก (ภาคปฏิบัติ) รวมทั้งการถามตอบเกี่ยวกับปัญหาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และ เกษตรดาดฟ้าด้วย

หน้า 28
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3dNekkyTURjMU13PT0=&sectionid=TURNek1nPT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB5Tmc9PQ==
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

"กูเกิ้ล ดอค" เพิ่มลูกเล่นแปลภาษา

 
วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7183 ข่าวสดรายวัน


"กูเกิ้ล ดอค" เพิ่มลูกเล่นแปลภาษา


หมุนก่อนโลก

วิทยา ผาสุก wittayapasuk@hotmail.com



เวลามีธุระต้องไปต่างจังหวัด

แต่มีความจำเป็นต้องพิมพ์งาน หรือทำงานเอกสารแบบเร่งด่วนฉับพลันทันใด

เว็บไซต์ "กูเกิ้ล ดอค" ของค่ายกูเกิ้ลนั้นช่วยได้มากพอสมควร

เพราะ เป็นเว็บบริการทำงานด้านเอกสารออนไลน์ ซึ่งมีลูกเล่นครบสมบูรณ์แบบ แทบไม่ต่างอะไรจากโปรแกรมเวิร์ด (ในแง่การเขียนเอกสารทั่วๆ ไป)

ที่สำคัญ คือ เราไม่ต้องพกคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กไปไหนมาไหน

แค่กระโดดแว่บเข้าไปในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่

จากนั้นเปิดเข้าเว็บไซต์ https://docs.google.com/ ก็สามารถใช้งานได้ทันที

นอกจากนั้น ยังให้พื้นที่ "เซฟ" เก็บงานเอาไว้เสร็จสรรพ

พร้อมส่งออกผ่าน "อีเมล์" ในรูปแบบไฟล์หลายตระกูล ทั้ง PDF, WORD, RTF, Plain Text

อย่าง ไรก็ตาม ก่อนจะใช้งานกูเกิ้ล ดอค ผู้ใช้ก็ต้องไปลงทะเบียนสมัครเปิดใช้บริการอีเมล์ "จีเมล์" (Gmail) ให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย เหมือนกับการเปิดขอสมัครอีเมล์ทั่วๆ ไป

ที่นำเรื่อง กูเกิ้ล ดอค มาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังวันนี้ เพราะพบว่าล่าสุด กูเกิ้ล ดอค เพิ่งมีโปรแกรมเสริมตัวใหม่เปิดให้ใช้

นั่นคือ บริการ "แปลภาษา" ในเอกสารที่เราเขียนเอาไว้ หรือที่เรารับมาอ่าน ให้กลายเป็นภาษาอื่นถึง 53 ภาษา

เช่น ถ้าเราพิมพ์งานภาษาไทย และต้องการแปลส่งออกไปเป็นภาษาอังกฤษ

เวลาจะเซฟงาน ให้คลิกไปที่ "Tool" จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ใหม่ ตามด้วยการเลือกภาษาที่ต้องการ แล้วกด OK ก็จะได้งานแปลออกมาโดยอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่า ระบบการแปลภาษาไทย-อังกฤษ หรืออังกฤษ-ไทยนั้นไม่มีทางถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์

ฉะนั้น ระบบแปลภาษานี้จึงเหมาะกับงานเขียนที่ไม่ได้ต้องการความจริงจัง ซีเรียส หมายความว่า ใช้แปลเป็นแนวทางพอให้จับความได้

เทคนิค การเขียนภาษาให้ระบบแปลออกมาผิดพลาดน้อยที่สุด คือ ใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ ตามด้วยจุดฟุลสต๊อป อย่าเขียนประโยคซับซ้อน เช่น เขียนคำทดสอบลงไป "นี่คือจดหมายรัก. ส่งมาจากกรุงเทพ. ประเทศไทย. ฉันคิดถึงเธอ."

คำแปลออกมาว่า "This is a love letter. Sent from Bangkok. Thailand. I miss you." ถือว่าเนียนใช้ได้เลยทีเดียว


หน้า 29
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdOVE13TURjMU13PT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB6TUE9PQ==
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปรากฏการณ์วิกิลีกส์:จอมแฉแห่งยุคดิจิทัล

ปรากฏการณ์วิกิลีกส์:จอมแฉแห่งยุคดิจิทัล

คมชัดลึก : ขณะที่ชาวโลกกำลังพุ่งความสนใจไปยังเอกสารแฉด้านดำมืดของสงครามอัฟกานิสถานที่ "วิกิลีกส์" (Wikileaks.org) นำออกเผยแพร่จำนวน 9.2 หมื่นหน้าเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์แห่งนี้ก็มีอันล่มโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลาหลายชั่วโมงจนเป็นปมปริศนาปมหนึ่ง

สาเหตุอาจเป็นเพราะการจราจรคับคั่งเกินไป ด้วยมีผู้คนมหาศาลเกิดสนใจเว็บไซต์ที่แต่ก่อนไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันสักเท่าไหร่พร้อมๆ กัน หรือเพราะถูกโจมตีล้างแค้นจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ หรือจากชาติพันธมิตรที่แสดงความโกรธเกรี้ยวอย่างไม่ปิดบัง ต่อการรั่วไหลของความลับสุดยอดทางทหารอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนบนโลกใบนี้ 

 แต่ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม เว็บไซต์รวมพลคนต้องการแฉความลับแห่งนี้ โด่งดังเป็นพลุแตก ท่ามกลางเสียงถกเถียงที่อีกนานกว่าจะได้ข้อสรุปว่า การเผยแพร่เอกสารลับทางทหารจนเป็นระเบิดตูมใหญ่ใส่หน่วยสืบราชการลับของชาติมหาอำนาจโลกแบบนี้ ถือเป็นอาชญากรรมรูปแบบหนึ่ง หรือเป็นการรายงานเชิงสืบสวนแห่งอนาคตที่น่าชื่นชม

 วิกิลีกส์ เป็นองค์กรสื่อยุคใหม่ในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับ ยูทูบ เฟซบุ๊ก และสารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดีย น่าสนใจคือองค์กรสื่อแห่งนี้ บอกแบบคลุมเครือว่าร่วมกันตั้งเมื่อปลายปี 2549 โดยผู้มีความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลจีน ผู้สื่อข่าว นักคณิตศาสตร์ ผู้รู้ด้านเทคโนโลยีตั้งแต่สหรัฐ ไต้หวัน ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ใช้พนักงานหลักๆ แค่ 5 คน แต่มีเครือข่ายอาสาสมัครกว่า 1,000 คน ที่ร่วมด้วยช่วยกันคัดกรอง ตรวจสอบ แก้ไข ก่อนเผยแพร่จนกลายเป็นฐานข้อมูลเอกสารลับใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

 สำหรับงบประมาณอาศัยการบริจาคเป็นหลัก มีงบประมาณ 1.75 แสนปอนด์ต่อปี และได้รับการสนับสนุนด้านกฎหมายจากสำนักข่าวชื่อดังหลายแห่ง

 องค์กรแห่งนี้เรียกตัวเองว่า เป็นระบบปลอดเซ็นเซอร์สำหรับการแพร่งพรายเอกสารลับจำนวนมหาศาลแบบที่ไม่สามารถแกะรอยไปยังที่มาได้ เอกสารถูกเก็บอย่างดีในเซิร์ฟเวอร์หลักที่สวีเดน และอีกหลายประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองความลับสื่อ ข้อมูลถูกเข้ารหัสป้องกันระดับเดียวกับกองทัพ เพื่อปกป้องแหล่งข่าว และต่อต้านความพยายามบุกรุกของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนบริษัท และเหล่าแฮ็กเกอร์ที่อยากลองดี

 เป้าหมายของ วิกิลีกส์ คือการสร้างสำนักข่าวกรองของประชาชน ขณะที่สื่อหลายแห่งพยายามให้คำจำกัดความหลากหลายแก่ วิกิลีกส์ เช่น นิตยสารนิวยอร์กเกอร์ ตั้งฉายาว่า การลุกฮือแข็งข้อของสื่อ ยึดมั่นกับสิ่งที่เรียกว่า ความโปร่งใสสุดขั้ว ด้วยความเชื่อว่ายิ่งลับน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น ส่วนบล็อกแห่งหนึ่งระบุว่า วิกิลีกส์เป็นองค์กรสื่อไร้รัฐแห่งแรกของโลก 

 ภายในปีเดียวนับจากเปิดตัวเว็บไซต์ วิกิลีกส์คุยว่าฐานข้อมูลของตนเก็บเอกสารแนวเปิดโปง 1.2 ล้านชิ้น และมีผู้ส่งเอกสารเข้าไปนับหมื่นในแต่ละวัน  

 อาจกล่าวได้ว่าหากขาดซึ่งมันสมองและพลังความคิดผิดแผกจากคนทั่วไปของชายชื่อ จูเลียน พอล อาซานจ์ วันนี้แล้ว คงไม่ทำให้วิกิลีกส์มาถึงได้ และอาจกล่าวได้อีกว่าความลับหนึ่งที่วิกิลีกส์ ยังไม่ยอมแพร่งพรายออกมาก็คือปูมหลังอันชัดเจนของชายที่กำลังเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลก   

 เท่าที่พอจะรวบรวมได้จากคำให้สัมภาษณ์และแหล่งต่างๆ อาซานจ์เกิดเมื่อปี 2514 ที่เมืองทาวน์สวิลล์ รัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย เคยพูดถึงตัวเองว่าเป็นกบฏโดยพันธุกรรม พ่อแม่พบกันระหว่างร่วมประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนาม บิดาพร่ำสอนให้เขาเป็นลูกผู้ชายที่มีน้ำใจ คุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อ และไม่เป็นผู้สร้างเหยื่อ ส่วนมารดานั้น สมัยเป็นวัยรุ่น ก็เคยขี่ม้าเข้าไปยังศาลาว่าการเมือง เพื่อประท้วงต่อต้านการปิดถนนสำหรับม้า เธอยังเป็นช่างทาสี นักแสดงและนางแบบให้แก่จิตรกรหาเลี้ยงชีพในซิดนีย์ด้วย 

 อาซานจ์เคยแต่งงานกับแฟนสาวตอนอายุเพียง 18 มีบุตรชาย 1 คน แต่แล้วเธอหอบลูกหนีไปขณะที่เขากำลังถูกตำรวจออสเตรเลียสอบสวนในข้อหาแฮ็กเกอร์ อาซานจ์แฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย บริษัทนอร์เทล ยักษ์ใหญ่สื่อสารโทรคมนาคมของแคนาดา และองค์กรอีกหลายแห่ง เพื่อทดสอบระบบความปลอดภัยโดยไม่ได้ทำอันตรายใดๆ ต่อระบบ อาซานจ์รับสารภาพผิดในข้อหาแฮ็กเกอร์ 24 กระทง แต่ได้รับการปล่อยตัวโดยสัญญาว่าจะประพฤติดี หลังพ้นคดี อาซานจ์ใช้ชีวิตในเมลเบิร์นในฐานะโปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เปล่า

 ด้านการศึกษา อาซานจ์เรียนด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กระทั่งปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มสนใจเรื่องการเปิดเว็บ วิกิลีกส์ ว่ากันว่า อาซานจ์เรียนด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ อ่านตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากมาย ทั้งยังได้ศึกษาปรัชญาและประสาทวิทยาอีกด้วย

 แต่ความคิดที่จะยึดอาชีพอาจารย์ฟิสิกส์ต้องมีอันพับไป เมื่อได้พบว่านักวิชาการหลายต่อหลายคน ขายศักดิ์ศรีตัวเองให้แก่หน่วยข่าวกรองและกองทัพ อาซานจ์เคยประณามเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง และนั่นจุดประกายของการตั้งเว็บไซต์แบบไม่มีการประนีประนอม ซึ่งส่งผลให้อาซานจ์ได้รับรางวัลจากองค์การนิรโทษกรรมสากล จากการเปิดโปงกระบวนการอุ้มและวิสามัญมาตกรรมในเคนยา เมื่อปีที่แล้ว 

 ชายวัย 39 ปีผู้นี้ไม่มีบ้านเป็นหลักแหล่ง ใช้ชีวิตราวคนเผ่าเร่ร่อน หิ้วแล็ปท็อปกับเป้เสื้อผ้าอีกหนึ่งใบ ย้ายไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่าจะต้องไปไหนเพื่ออะไรบางอย่าง ยิ่งเวลานี้ว่ากันว่า อาซานจ์จะไม่อยู่ที่ไหนเกินสองวัน เพราะศัตรูเริ่มยาวเป็นหางว่าวตามการขยายตัวของฐานข้อมูลในวิกิลีกส์ 

 แม้ต้องใช้ชีวิตแบบนี้ก็ไม่ได้สร้างความลำบาก เพราะตอนเด็ก ต้องย้ายหลักแหล่งไปเรื่อยๆเพราะมารดาทำธุรกิจใหม่เป็นบริษัทจัดการแสดงเคลื่อนที่ จนทำให้เด็กชายอาซานจ์เข้าออกโรงเรียนถึง 37 แห่ง

 อาซานจ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องจริงที่ว่าทุกวันนี้อาศัยอยู่ที่สนามบิน เขาเคยอยู่เป็นช่วงๆ ที่ออสเตรเลีย เคนยา และแทนซาเนีย และเคยไปเยือนเวียดนาม สวีเดน ไอซ์แลนด์ ไซบีเรีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา แต่ล่าสุด อาซานจ์เริ่มเช่าบ้านหลังหนึ่งในไอซ์แลนด์เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ และที่บ้านหลังนั้นเอง อาซานจ์กับนักเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกันทำงานจนเป็นที่มาของการเผยแพร่คลิปวิดีโอสงครามอัฟกานิสถาน    

 อาซานจ์เป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 คนของวิกิลีกส์ และทำหน้าที่โฆษกด้วย แม้ว่าสื่อต่างๆ จะระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้ก่อตั้ง หรือผู้อำนวยการ แต่เจ้าตัวไม่อยากเรียกตัวเองแบบนั้น แต่ถือว่าเป็นบรรณาธิการบริหาร ของวิกิลีกส์ อาซานจ์เป็นคนตัดสินใจขั้นสุดท้ายในกระบวนการตรวจสอบเอกสารก่อนเผยแพร่ ซึ่งจุดยืนอันน่ากลัวของอาซานจ์คือ การแพร่งพรายที่ดีก็คือการไม่เซ็นเซอร์อะไรเลยที่เป็นเรื่องอ่อนไหวทางทหาร

อุไรวรรณ นอร์มา

http://www.komchadluek.net/detail/20100801/68362/ปรากฏการณ์วิกิลีกส์:จอมแฉแห่งยุคดิจิทัล.html


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

Wikileaks.org เว็บไซต์ของนักเปิดโปง

Wikileaks.org เว็บไซต์ของนักเปิดโปง

ถ้าคุณมีความลับอยากจะบอก แต่ไม่รู้จะไปบอกใครดี ที่นี่เป็นที่สำหรับคุณ!!!

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ 4/7/51: นี่ไม่ใช่เว็บไซต์ธรรมดาๆ ทั่วไป ทั้งในแง่รูปแบบและเนื้อหา โดยรูปแบบของเว็บเป็นการนำระบบของ Wikipedia หรือสารานุกรมออนไลน์ชื่อดังมาใช้ ทำให้ใครก็ตามสามารถเข้าไปแก้ไขบทความหรือเนื้อหาได้ตลอดเวลา

ส่วนความไม่ธรรมดาในแง่ของเนื้อหานั้นก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความลับต่างๆ ปัญหาความไม่ชอบธรรม เรื่องราวการคอร์รัปชั่น หรือเรื่องที่สาธารณชนควรรับรู้ โดยอาจเป็นข้อมูลของรัฐบาล ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ความลับทางการทหาร ไม่เว้นแม้กระทั่งความลับขององค์กรทางศาสนา

เว็บไซต์ที่ว่านี้มีชื่อว่า Wikileaks.org ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2007 หรือเป็นเวลา 18 เดือนแล้วที่สมาชิกใน Wikileaks ได้เข้ามาเผยแพร่บทความเปิดโปงความลับและเรื่องอื้อฉาวต่างๆ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลในหลายประเทศแล้วเช่นกัน เพราะเว็บไซต์นี้เปิดรับข้อมูลจากทั่วโลก โดยเน้นประเทศในเอเชีย ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกา และกลุ่มประเทศที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียต

เรื่องแรกที่นำมาเปิดโปงตั้งแต่ก่อนเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการก็คือ การปล้นชาติในประเทศเคนยา ด้วยอำนาจการบริหารของอดีตประธานาธิบดี Daniel Arap Moi ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ได้สร้างความวุ่นวายในระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะเกิดขึ้นพอสมควร

ถัดมาเป็นการเปิดโปงปฏิบัติการควบคุมตัวนักโทษในคุกของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวกวนตานาโม โดย Wikileaks ระบุว่าสหรัฐมีนโยบายซ่อนตัวนักโทษบางคน จากการช่วยเหลือขององค์การกาชาดสากล รวมทั้งยังมีการใช้สุนัขในการข่มขู่นักโทษอีกด้วย

บทความต่างๆ เหล่านี้สร้างความไม่พอใจแก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการนำความลับสุดยอดทางทหารมาเปิดเผย ขณะที่ Julian Assange หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Wikileaks บอกว่านี่เป็นเรื่องที่ทุกคนมีสิทธิ์รับรู้ถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกิดในประเทศของตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลความลับและความไม่ชอบธรรมในประเทศต่างๆ อีกนับร้อยประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

Julian เป็นชาวออสเตรเลียโดยกำเนิด แต่ขณะนี้อาศัยอยู่ในแอฟริกา นอกจากเขาจะเป็นผู้ก่อตั้ง Wikileaks แล้ว Julian ยังเป็นนักเขียนและแฮคเกอร์อีกด้วย ซึ่งเหตุนี้เองที่อาจจะทำให้เว็บไซต์แห่งนี้อยู่รอดปลอดภัยจากการปิดกั้นเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลมาจนถึงทุกวันนี้

เจ้าของชื่อ Wikileaks ที่แท้จริงนั้นอาศัยอยู่ในเคนยา แต่เจ้าตัวกลับไม่รู้เรื่องเว็บไซต์แห่งนี้มากนัก ส่วนเซิร์ฟเวอร์ก็ดูเหมือนจะตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน แต่จริงๆ ยังมีเซิร์ฟเวอร์สำรอง (mirror) ตั้งอยู่มากมายทั่วโลก แม้กระทั่ง Ben Laurie ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยของ Wikileaks และยังเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาของเว็บ ก็ยังไม่รู้ว่าเซิร์ฟเวอร์ที่แท้จริงตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่ และใครเป็นผู้ดูแลเว็บนอกเหนือจากผู้ก่อตั้งอย่าง Julian

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่สมาชิกทั่วโลกต่างยอมรับในการรักษาความลับได้เป็นอย่างดีของ Wikileaks จึงนำเรื่องราวต่างๆ มาเผยแพร่กันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทีมงานพบว่าหลายครั้งมีบทความที่ไม่น่าเชื่อถือปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Julian ก็กำลังพิจารณาว่าจะเลิกใช้ระบบ Wiki ดีหรือไม่ และจะเปลี่ยนมาเผยแพร่บทความก็ต่อเมื่อเรื่องที่สมาชิกส่งเข้ามาได้รับการพิสูจน์ความจริงแล้วเท่านั้น

“เวลานี้เป็นยุคของนักสื่อสารมวลชนและนักเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะได้เผยแพร่ข้อมูลได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ หรือไม่ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองอีกต่อไป คุณลองนึกถึงโลกที่รัฐบาลหรือบริษัทคอยดูแลประชาชนและพนักงานบริษัทให้อยู่กันอย่างมีความสุขสิ นั่นคือโลกที่เรากำลังสร้างให้มันเป็นจริงขึ้นมา”

แม้วันนี้ Julian จะวาดฝันไว้อย่างสวยหรู แต่ยังไม่มีใครรับประกันได้ว่า Wikileaks จะอยู่รอดปลอดภัยไปได้นานเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีแนวคิดและอุดมการณ์อันสร้างสรรค์และน่ายกย่องไม่น้อย ในสภาวะมีความไม่ชอบธรรมและทุจริตเกิดขึ้นไปทั่วทุกหัวระแหง

http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=31&post_id=29893&tltle=Wikileaks.org-%E0%C7%E7%BA%E4%AB%B5%EC%A2%CD%A7%B9%D1%A1%E0%BB%D4%B4%E2%BB%A7


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

กทช.เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ทีวีดาวเทียม 16 ส.ค.นี้

กทช.เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ทีวีดาวเทียม 16  ส.ค.นี้

กทช.เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ทีวีดาวเทียม 16 ส.ค. พร้อมขึ้นประกาศเว็บไซด์ หากไม่ต้องแก้ไขเนื้อหามาก เร่งร่างหลักเกณฑ์ทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต

นายพนา ทองมีอาคม กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า กทช.จะจัดรับฟังความคิดเห็นร่างหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาต ประกอบการกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่ไม่มีการบอกรับสมาชิก หรือ ทีวี ดาวเทียม) ในวันที่ 16 ส.ค. นี้

เบื้องต้นให้อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดรับฟังความคิดเห็น อาทิ ในประเด็นโฆษณา โดยเสนอว่า ทีวีดาวเทียมจะโฆษณาได้ 12 นาทีต่อชั่วโมง ส่วนช่องรายการทีวีต่างประเทศ จะขายรายการให้กับผู้ประกอบการในไทย จะต้องลงทะเบียน เพื่อให้อยู่ในการกำกับดูแล โดยร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะออกมาจะเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ชั่วคราว

ถ้าหากไม่มีการแก้ไขเนื้อหามาก ก็จะนำรายละเอียดหลักเกณฑ์ประกาศบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม อยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยปัจจุบันในไทยมีทีวีดาวเทียมประมาณ 80-90 ช่อง มีผู้ประกอบการ 20-30 ราย

ทั้งนี้ ทีวีดาวเทียมเป็นอีกหนึ่งภารกิจหนึ่งที่ กทช. ต้องเร่งดำเนินการกำกับดูแล เนื่องจากยังมีบางช่อง ใช้สื่อมายั่วยุปลุกระดม หรือ การโฆษณาขายสินค้าขายตรง โดยไม่มีการควบคุม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแผนเดินหน้าออกร่างหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตบริการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต ในเร็วๆ นี้ ด้วย เพื่อควบคุมดูแลไม่ให้มีปัญหา

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิจัยชาวบ้านต่อสู้คดีความโลกร้อน




วิจัยชาวบ้านต่อสู้คดีความโลกร้อน

วันเสาร์ที่ 17 กรกฏาคม 2010 เวลา 05:10 น. ผู้ดูแลระบบ
อีเมล พิมพ์ PDF

วิจัยชาวบ้านต่อสู้คดีความโลกร้อน

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

(รีคอฟ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน Oxfam GB (ประเทศ ไทย) และศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดเวทีประชุมเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการต่อสู้คดีโลกร้อน โดยมีชาวบ้านในเครือข่ายที่ประสบปัญหาด้านคดีความโลกร้อน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน นักกฎหมายและนักวิชาการ เข้าร่วมประมาณ 50 คน

วัตถุประสงค์หลักของการประชุมครั้งนี้เพื่อนำเสนอสถานการณ์คดีโลกร้อน ประเด็นการต่อสู้ และข้อมูลงานวิจัยชุมชนของเครือข่ายฯเพื่อหักล้างคดีความโลกร้อน รวมทั้งการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนแบบจำลองการคิดค่าเสียหายโลกร้อน การวิเคราะห์แนวทางทางกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของเกษตรกรราย ย่อยที่ถูกคดีความโลกร้อน

1. การนำเสนอประเด็นปัญหาเรื่องที่ดิน และคดีโลกร้อนในภาพรวม

สถานการณ์ภาพรวมคดีเรื่องที่ดิน ป่าไม้ และที่สถานประโยชน์ ข้อมูลสถิติจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย

ภูมิภาค

จำนวนคดี/กรณี

จำนวนผู้ถูกคดี/ รายคน

ภาคเหนือ

76

285

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

14

115

ภาคใต้

41

100

รวม

131

500

จำนวนคดีโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 38 คดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สถานการณ์เกษตรกรผู้ถูกดำเนินคดีแพ่ง (โลกร้อน) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 97

ลำดับ

สถานะของคดี

จำนวน (ราย)

มูลค่าความเสียหาย

เพศ

ขนาดพื้นที่ถูกฟ้อง (ไร่)

หญิง

ชาย

1.

มีหนังสือเรียกค่าเสียหาย

10

12,595,000

10

-

สูงสุด 21-8-83 ไร่

2.

กำลังอุทธรณ์คดีอาญาและถูกดำเนินคดีแพ่ง

16

426,876

6

10

9-0-46 ไร่

3.

กำลังฎีกาคดีอาญาและกำลังอุทธรณ์คดีแพ่ง

1

129,732

-

1

3-3-0 ไร่

4.

ศาลตัดสินคดีอาญาและกำลังดำเนินคดีแพ่ง

2

730,300

2

-


5.

ศาลตัดสินคดีอาญาและบังคับคดีแพ่ง

9

18,960,000

7

2



รวม

38

32,841,608

25

13


กรมอุทยาน ฯ มีการคำนวนความเสียหายในการฟ้องร้องชาวบ้านเกษตรกรรายย่อยในคดีโลกร้อนโดยใช้แบบจำลองซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทำให้ธาตุอาหารในดินสูญหายคิดเป็นมูลค่า 4,064 บาท ต่อไร่ต่อปี (เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยมไปโปรยทดแทน)

2. ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่ต่อปี

3. ทำให้สูญเสียน้ำออกไปจากพื้นที่โดยการแผดแผาของดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี

4. ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาทต่อไร่ต่อปี (คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรทุกดินขึ้นไปและปูทับไว้ที่เดิม)

5. ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาทต่อไร่ต่อปี (คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้เดินเครื่องปรับอากาศชั่วโมงละ 2.10 บาท ซึ่งต้องใช้เครื่องปรับอากาศทั้งหมดเท่ากับ 5.93 ตันต่อชัวโมงและกำหนดให้เครื่องปรับอากาศทำงานวันละ 10 ชั่วโมง (08.00-18.00 .)

6. ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 ไร่ต่อปี

7. มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่า 3 ชนิด

7.1 การทำลายป่าดงดิบค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท (ต่อไร่)

7.2 การทำลายป่าเบญจพรรณค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท (ต่อไร่)

7.3 การทำลายป่าเต็งรังค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท (ต่อไร่)

จาก สถานการณ์คดีโลกร้อนนี้เองทำให้เกิดการทำงานวิจัยชุมชนเพื่อช่วยสนับสนุนชาว บ้านในการต่อสู้คดีโลกร้อน โดยความร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นในภาคอีสานและภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานและภาคใต้ กลุ่มปฎิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน และศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนฯ(รีคอฟ)

โดยงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ ศึกษาหลัก 4 ชุมชน คือ

1. ชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

2. ชุมชนบ้านตระ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

3. ชุมชนบ้านห้วยกลฑา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

4. ชุมชนบ้านห้วยระหงส์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

เป้าหมายของการทำงานวิจัย

  • เพื่อนำข้อมูลผลการศึกษาไปใช้อธิบาย ต่อสู้ทางคดีความในชั้นศาลให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ถูกฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหาย
  • เพื่อทำความเข้าใจกับสังคมในเรื่องวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนที่สัมพันธ์กับประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อน

วัตถุประสงค์งานวิจัย

  • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนกับเรื่องภาวะโลกร้อน
  • เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อย การกักเก็บ และการดูดซับธาตุคาร์บอน และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบ ต่างๆของชุมชน
  • เพื่อ นำเสนอแนวทางนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนวิถีการผลิตและการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อ สร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและสร้างความสมดุลทางคาร์บอนอันเป็นการ บรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน

2. การนำเสนองานวิจัยที่ 1 พื้นที่บ้านห้วยกลทา อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ (ดูรายละเอียดเนื้อหาจากเอกสารแนบ)

3. การนำเสนองานวิจัยที่ 2 พื้นที่บ้านทับเขือ ปากหมู ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง (ดูรายละเอียดการนำเสนอจากเอกสารที่แนบ)

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมต่องานวิจัยทั้ง 2 ชิ้น

การ นำเสนอผลการวิจัยทั้งสองพื้นที่แสดงให้เห็นว่าวิจัยมุ่งเน้นที่การเก็บ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อโต้แย้งกับแบบจำลองของกรมอุทยาน ฯ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่า

1. งาน วิจัยยังไม่สามารถแก้หรือหักล้างคดีโลกร้อนได้ทั้งหมด แต่เป็นการชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร จากข้อมูลที่ได้จากพื้นที่เปรียบเทียบกับแบบจำลองเพื่อคิดค่าเสียหายที่กรม อุทยานนำมาฟ้อง

· กรณีการฟ้องเรื่องอุณหภูมิที่สูงขึ้น ใช้อุณหภูมิที่จังหวัด ซึ่งห่างไกลจากพื้นที่ โดยผลการศึกษาเรื่องอุณหภูมิในระดับพื้นที่(Micro Climate) พบว่า ความแตกต่างของอุณหภูมิเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา การวัดอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับความสูง และรอบวันด้วย

· ใน การคิดค่าเสียหายเรื่องธาตุอาหารในดินสูญหาย จากการคำนวณไนโตรเจน จะเห็นได้ว่าไนโตรเจนในดินมาจากหลายแห่ง เช่น ได้มาจากพืชตระกูลถั่ว ที่ขึ้นอยู่ปกคลุมดินในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ค่าไนโตรเจนในดินที่เปิดโล่งจะมีค่าเป็นศูนย์หรือติดลบ ดังสมการคณิตศาสตร์ที่ทางกรมอุทยานนำมาใช้

· ประเด็น การกัดเซาะหน้าดิน การซึมน้ำของดิน จะมีความแตกต่างกัน ตามลักษณะของพื้นที่ โดยพืชคลุมดินมีส่วนช่วยในการลดอัตราการกัดเซาะหน้าดินมากกว่าการปกคลุม เรือนยอดของต้นไม้

· การ ดูดซับก๊าซคาร์บอน การกักเก็บคาร์บอนอยู่ในรูปของเนื้อไม้ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ มีการผสมผสานต้นไม้กับพืชคลุมดิน มีวิถีปฏิบัติด้านเขตกรรม(Cultural Practice) มี พืชเสริม เช่น ผสมผสานถั่วแดงในไร่ข้าวโพด มีการตัดสางและกักเก็บซากพืชคลุมดินสะสมไว้ในดิน โดยสัดส่วนคาร์บอนที่สะสมในดินนี้มักจะมีอยู่มากที่สุด และกำลังรอผลการตรวจสอบดินจากห้องแล็ป

2. กิจกรรม ทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนปลดปล่อยคาร์บอน และการปลดปล่อยคาร์บอนเพื่อความมั่นคงทางอาหารหรือวิถีชุมชน เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความอยู่รอด ให้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้

3. ควร มีการสร้างแบบจำลองการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนเอง เพื่อต่อสู้ทางคดี และนำไปใช้ในอนาคต โดยให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย ทำข้อมูล และทีมวิชาการ ทีมคนทำงานช่วยเสริมให้เกิดกระบวนการ และควรมีการรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจในวิถีชุมชนต่อสาธารณชน และนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดินและทรัพยากรร่วมกันของเครือข่าย

4. การ เตรียมตัวเพื่อสู้คดี ควรสู้มากกว่าโมเดล เช่นทำอย่างไรถึงจะทำให้ศาลเชื่อว่าชาวบ้านอยู่ทำกินมาก่อน ประเด็นคือต้องรวมกันระหว่างแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ นิเวศวิทยา และแนวคิดทางสังคม วิถีชุมชน สิทธิชุมชน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็นพลังในการต่อสู้มากขึ้น

5. ข้อควรระมัดระวัง ถ้านำเสนอข้อมูลไม่รอบด้าน การใช้เรื่องแบบจำลองการคิดค่าเสียหาย 7 ข้อ มาสู้เพียงลำพัง จะทำให้เกิดความล่อแหลม จะทำให้ข้อมูลนี้กลับมาเป็นโทษแก่ชุมชนมากกว่าจะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้คดี (ตัวอย่าง เช่น ไร่ข้าวโพดทำให้ดินอุ้มน้ำน้อยกว่าพื้นที่ป่า หรืออุณหภูมิของไร่ข้าวโพดสูงกว่าพื้นที่ป่า และอุณหภูมิของไร่ข้าวโพดมีความแตกต่างกันมากในระหว่างกลางวันและกลางคืน ในขณะที่อุณหภูมิพื้นที่ป่ามีความแตกต่างกันน้อยกว่า เป็นต้น)

6. มี การนำเสนอว่าให้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องรอยเท้านิเวศน์ของทั้งสองพื้นที่ เพื่อพิสูจน์ว่าเกษตรกรเหล่านี้เป็นผู้ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า กลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม

7. งาน วิจัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคอีสานควรจะเพิ่มเนื้อหาในเรื่องภาพรวมของชุมชน มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของชุมชนไม่ได้ทำให้โลกร้อน โดยเน้นถึงวิถีการทำเกษตรของชุมชน และความพยายามของชุมชนในการดูแลรักษาป่า การพึ่งพาอาศัยป่าเพื่อความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของครัวเรือน อาจจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม หรือใช้ข้อมูลเดิมที่เคยศึกษามาแล้วในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารและราย ได้มาเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลงานวิจัยมีน้ำหนักมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ใน การต่อสู้คดี

4. การนำเสนองานวิจัยที่ 3 พื้นที่บ้านห้วยหินลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย (ดูรายละเอียดการนำเสนอจากเอกสารที่แนบ)

งานวิจัยชิ้นนี้มีความแตกต่างจาก 2 ชิ้น แรกไม่ได้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อโต้แย้งกับแบบจำลองของกรมอุทยาน ฯ จึงทำให้ขาดการเก็บข้อมูลในเชิงเทคนิควิทยาศาสตร์ทางด้านป่าไม้ ดิน และน้ำ แต่เป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าชุมชนบ้านห้วยหินลาดเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ และมีวิถีการผลิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่า และในทางกลับกันก็ดูแลรักษาป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และความอุดมสมบูรณ์ของป่าจะทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจครัวเรือน

ข้อเสนอแนะของที่ประชุมต่องานวิจัยชิ้นที่ 3

เป็นงานวิจัยที่ช่วยทำให้เห็นส่วนที่ขาดหายไปของงานวิจัยสองชิ้นแรก ถ้างานวิจัยทั้ง 3 ชิ้นนี้นำเอาเทคนิควิธีการวิจัยมารวมกันจะทำให้เกิดงานวิจัยชุมชนที่มีข้อมูลรอบด้านมากขึ้น

5. การวิเคราะห์แบบจำลองโดยอาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด

5.1 ประเด็นการปรับชาวบ้านในคดีโลกร้อนนั้นเมื่อเทียบกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมคือ "ผู้ ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นผู้จ่าย" จะต้องบังคับใช้กับผู้ก่อความเสียหายทุกคน หรือบังคับใช้กับผู้ที่เป็นต้นเหตุหลักในก่อความเสียหาย แต่ชาวบ้านไม่ได้เป็นผู้ก่อความเสียหายหลักในประเด็นเหล่านี้

5.2 ค่าความเสียหายคำนวณจากแนวปฏิบัติทั่วไปในการฟื้นฟู และ/หรือ ทดแทนความเสียหายของทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้แนวปฏิบัติที่มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยเน้นการปรับตัวของผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย ซึ่ง การเปิดแอร์เพื่อลดอุณหภูมิ หรือการนำน้ำไปฉีด หรือขนดินขึ้นไปเติมในพื้นที่ไม่ใช่เป็นมาตรการฟื้นฟูที่เหมาะสมและเป็นแนว การปฏิบัติทั่วไป

5.3 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะไม่มีการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของป่าในสภาพพื้นที่พิพาทจริง เพราะแบบจำลองมีแต่การจำแนกชนิดป่า 5 ชนิดเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดของความอุดมสมบูรณ์

5.4 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะเป็นการคำนวณค่าความเสียหายของเนื้อไม้ และการเพิ่มพูนของเนื้อไม้รายปี (ปริมาตรไม้) เท่านั้นไม่มีการคำนวณความเสียหายของเนื้อไม้ชนิดของไม้ที่ตัด

5.5 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณความเสียหายจากการสูญเสียธาตุอาหารหลักโดยการคำนวณ N-P-K จากข้อมูลพื้นที่หน้าตัดลำต้นของต้นไม้เท่านั้นไม่มีการสำรวจสภาพของธาตุอาหารในดินในพื้นที่จริงและในพื้นที่ป่าใกล้เคียง และไม่มีการสำรวจพืชคลุมดินในสภาพพื้นที่จริง

5.6 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณค่าความเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น ไม่มีการสำรวจสภาพอุณหภูมิในพื้นที่จริง (ในระดับต่างๆ และในช่วงเวลาต่างๆ) และไม่มีการสำรวจพืชคลุมดินในพื้นที่จริงเพื่อเปรียบเทียบกับสภาพป่าใกล้เคียง แบบ จำลองคำนวณค่าเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น โดยใช้ข้อมูลชนิดของป่า และพื้นที่หน้าตัดของต้นไม้ที่ถูกตัด มาคำนวณเป็นค่าคะแนนปัจจัยพืชคลุมดิน โดยไม่มีการสำรวจพื้นที่จริง

5.7 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการ คำนวณค่าความเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น โดยเปรียบเทียบกับการเปิดเครื่องปรับอากาศ มิใช่วิธีการปกติที่คนทั่วไปจะใช้ในการลดอุณหภูมิในสภาพพื้นที่จริง ทั้งยังเป็นวิธีการที่ยิ่งทำให้อุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น

5.8 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณปริมาณน้ำที่สูญหายมาจาก 3 ส่วน 1) ดินไม่ดูดซับน้ำ เนื่องจากการอัดแน่นของผิวดินจากแรงกระทบของเม็ดฝน 2)แสงแดดแผดเผา เนื่องจากไม่มีป่ามาปกคลุม 3) ฝนตกน้อยลง แต่ไม่มีการเก็บข้อมูลการดูดซับน้ำของดินในสภาพจริง ไม่มีข้อมูลการระเหยน้ำในสภาพจริง และไม่มีข้อมูลปริมาณน้ำฝนในสภาพจริง (แบบจำลองใช้ข้อมูลน้ำฝนรายจังหวัด แทนปริมาณน้ำฝนในพื้นที่จริง, แบบจำลองใช้การจำแนกชนิดป่าแทนสภาพของพืชในพื้นที่จริง และแบบจำลองใช้ความสูงของชั้นดิน แทนสภาพดินในพื้นที่จริง (เช่น ความชื้น)

5.9 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณค่าความเสียหายโดยเทียบกับการเช่ารถบรรทุกน้ำขึ้นไปฉีดพรมในพื้นที่ มิใช่วิธีปฏิบัติของคนทั่วไปในสภาพพื้นที่จริง

5.10 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณความเสียหายจากดินสูญหาย ไม่มีการคำนึงถึงสภาพของพืชคลุมดิน สภาพฝนที่ตกในพื้นที่ และการเพิ่มพูนดินจากเกษตรกรรมในสภาพจริง

5.11 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะ ปัญหาการนับซ้ำ (double counting) ค่าความเสียหาย 1)ระหว่างการคิดค่าดินสูญหายกับธาตุอาหารสูญหาย 2) ระหว่างการคิดค่าอากาศที่ร้อนขึ้นกับการสูญเสียน้ำ

สรุป

มี ความเป็นไปได้สูงมากที่จะโต้แย้งแบบจำลองการคิดค่าเสียหาย เพราะแบบจำลองดังกล่าวมีการใช้ข้อมูลในแต่ละสภาพพื้นที่จริงน้อยมาก กลายเป็นจุดอ่อนของแบบจำลองเอง

เพียงแต่จะต้องเน้นการทำเอกสารวิชาการที่จะใช้โต้แย้งให้ชัดเจนและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ดู จากตัวอย่างการพิจารณาคดีที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ตราบใดที่ศาลยังเห็นว่า การตัดต้นไม้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นชาวบ้านจะไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย

การต่อสู้คดีจึงต้องมุ่งนำเสนอภาพรวมทั้งหมดของวิถีชีวิตชุมชน (มิใช่แค่ตอไม้ 37 ตอ) ว่าช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร

โดยเฉพาะการคิดค่าเสียหายเรื่อง "โลกร้อน" จำเป็นต้องมองในภาพรวมเช่น ต้องพิจารณารอยเท้านิเวศน์ หรือรอยเท้าคาร์บอนของชุมชน

แต่เราจะโยง "ไร่ข้าวโพด" กับ "ป่าชุมชน" ในการพิจารณาคดีได้อย่างไร??

6. การ วิเคราะห์การสู้คดีในประเด็นกฏหมายสิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฏหมายสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย ทีมกฏหมาย นำโดยพี่แย้ พี่แสงชัย และฉี

  • การฟ้องศาลปกครอง
    • เกี่ยว กับแนวปฏิบัติเรื่องการเรียกค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมของกรมอุทยานฯ ทางทีมกฎหมาย ได้พิจารณากันว่า มีช่องทางในการฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนแนวปฏิบัติดัง กล่าวหรือไม่ (ฟ้องเพิกถอนแนวปฏิบัติฯ และกระบวนการที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม)
    • ในที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในแง่กฎหมาย และมีข้อสรุปว่าควรใช้ช่องทางนี้ด้วย โดยให้ทางทีมกฎหมาย (ฉีและพี่แสงชัย) ไปร่างคำฟ้องมาและส่งให้ทีมทนายทุกคนช่วยดูอีกครั้ง
  • วิเคราะห์แนวทางการพิพากษาของศาลเรื่องคดีโลกร้อน
    • ใน ที่ประชุมมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมจากความเห็นของอาจารย์เดชรัตน์ เรื่องคำพิพากษาของศาลหล่มสัก เกี่ยวกับโมเดลการคิดค่าเสียหาย ว่าถึงแม้ศาลจะไม่เชื่อว่าค่าเสียหายที่คิดไม่ตรงกับสภาพที่เกิดเหตุจริงก็ ตาม แต่ศาลก็ใช้ดุลยพินิจคิดค่าเสียหายอยู่ดี ในคดีนี้ศาลพิจารณาจากเนื้อไม้ที่มีการตัดในพื้นที่จำนวน 38 ต้น และคิดค่าเสียหายเป็นเงิน 45,000 บาท
    • ใน ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนกันในประเด็นนี้แล้วเห็นว่า การต่อสู้คดีหรือนำสืบพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีจะต้องนำสืบให้เห็นว่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินของชาวบ้านไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม แต่อย่างใด ในทางตรงข้ามยังช่วยรักษาหรือทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยต้องมีการลงไปทำข้อมูลในพื้นที่อย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัด อุณหภูมิ การตรวจวัดดิน อย่างที่ทีมวิจัยได้ไปทำในพื้นที่เพชรบูรณ์และพื้นที่ตรัง เพื่อนำข้อมูลไปประกอบในการนำเสนอต่อศาล เพื่อหักล้างความเสียหายที่ฝ่ายกรมอุทยานฯฟ้อง และเพื่อศาลจะได้ไม่ใช้ดุลยพินิจหรือใช้ดุล