ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แม่ทัพภาค 4 คนใหม่ ดับไฟใต้...หรือ...ยิ่งเติมเชื้อ??

ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกรณีสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.)
view counter
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

แม่ทัพภาค 4 คนใหม่ ดับไฟใต้...หรือ...ยิ่งเติมเชื้อ??

ถึงตอนนี้ บัญชีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร ประจำปี 2553 ระดับหัวขบวนนั้นค่อนข้างนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งสำคัญๆ เช่นผบ.ทบก็เป็นไปตามคาดหมาย ‘พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา’และเพื่อน ตท.12 สาย‘บูรพาพยัคฆ์’ผงาดคุมกองทัพยกแผง

แต่ที่อุณหภูมิร้อนฉ่า และน่าจับตาเป็นพิเศษคือตำแหน่ง แม่ทัพภาค 4บุคคลที่จะมากุมบังเหียนกองทัพภาคที่มีภารกิจสำคัญในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ และดับไฟที่กำลังลุกโชนหนักอยู่ในขณะนี้!!
ก่อนหน้านี้ ตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่4’ คนใหม่ เป็นการขับเคี่ยวกันของตัวเต็งซึ่งเป็น ‘คนใน’ กองทัพภาค4 ระหว่างพล..กสิกรคีรีศรี’(ตท.11) ผู้บัญชาการกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจทหาร(ผบ.พตท.) ‘พล..อุดมชัยธรรมสาโรรัชต์’(ตท.13) รองแม่ทัพภาคที่4 คนที่หนึ่ง และ ‘พล..จำลองคุณสงค์’(ตท.14) รองแม่ทัพภาคที่4 คนที่สาม
ซึ่งไม่ว่าคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นแม่ทัพคนใหม่ สำหรับกำลังพลของกองทัพภาค 4 และคนทำงานในพื้นที่แล้ว ถือว่า ‘ยอมรับได้’  เพราะบุคคลจากรายชื่อดังกล่าวคือ คนใน’ เป็นนายทหารที่เข้าใจพื้นที่ และปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจริงๆ
แต่ล่าสุดอย่างไม่มีที่ไปที่มา ปรากฏชื่อพล..อกนิษฐ์หมื่นสวัสดิ์’(ตท.12) หัวหน้าประสานงานไทย-มาเลเซียเป็นแคนดิเดตคนสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีก1 คน!!
จึงมีคำถามว่า นอกจากการเป็นอดีตนักเรียนเตรียมทหาร ‘รุ่น12’ รุ่นเดียวกับพล..ประยุทธ์จันทร์โอชา’ ว่าที่ ผบ.ทบ.แล้ว จุดแข็งของพล..อกนิษฐ์ในการจะก้าวขึ้นเป็นแม่ทัพภาค4 คนใหม่คืออะไร??
เพราะต้องยอมรับว่า สถานการณ์เฉพาะหน้าของกองทัพภาค 4 ในวันนี้ไม่มีภารกิจใดที่สำคัญมากไปกว่าการดับ ‘ไฟใต้’ อีกแล้ว ขณะเดียวกันรากเหง้าความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ปลายด้ามขวานก็มี ‘บริบทเฉพาะ’ และ ‘พิเศษ’ เสียจนยากที่คนนอกพื้นที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ
ดังนั้น แม่ทัพภาค 4 คนใหม่จึงจำเป็นต้องเป็น ‘คนใน’ ที่เข้าใจปัญหา และมีคุณสมบัติรอบด้าน!!
ซึ่ง นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ เข้าใจบริบทปัญหา ชายแดนภาคใต้อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็ต้องเป็นนายทหารที่ได้รับการยอมรับจากกำลังพลในกองทัพภาค 4 อีกทั้งต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาในพื้นที่ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และภาคประชาสังคม
ประการสำคัญ แม่ทัพคนใหม่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจงานด้าน ‘มวลชน’ ซึ่ง ถือเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาความหวาดระแวงในพื้นที่ อันจะเป็นกุญแจถอดรหัสดับไฟใต้ เพราะการแก้ปัญหาความไม่สงบที่ปลายด้ามขวาน ไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยงานด้านการทหารเพียงด้านเดียว และหากกองทัพขาดความเข้าใจในการทำงานการเมืองในพื้นที่ ก็ยากที่จะชนะและได้ใจชาวบ้าน!!
กล่าวสำหรับ พล..อกนิษฐ์หมื่นสวัสดิ์’เคยรับราชการในกองทัพภาคที่4 มานานพอสมควรถือว่ามีบทบาทในพื้นที่ภาคใต้ไม่น้อยก่อนที่จะถูกโยกเข้าไปในส่วนกลาง ห่างหายจากพื้นที่ไปนานหลายปี สาเหตุเพราะเคยเป็นตัวแทนของกองทัพภาคที่ 4 ไปร่วมเจรจากับขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้ หรือ พูโล ในยุคที่ พูโล ยังเรืองอำนาจ ที่ ประเทศซีเรีย และอียิปต์ แต่การเจรจาในครั้งนั้นต้องล้มเหลว
ถ้าว่ากันตามหลักการ ก็ถือว่า ถูกย้ายออกจากพื้นที่เพราะมีความผิด!!
แน่ นอนว่า การห่างพื้นที่ไปนาน ย่อมส่งผลในการประสานงานกับดุลอำนาจต่างๆ ไม่ว่าสายสัมพันธ์กับเอ็นจีโอ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หรือแม้กระทั่งกำลังพลในกองทัพภาค 4 ก็ต้องมานับหนึ่งกันใหม่ หากได้ ‘คัมแบ็ก’ อีกครั้ง
อันที่จริง พล..อกนิษฐ์ ในอดีตเคยมีบทบาทโดดเด่นในฐานะนายทหารหนึ่งที่เคยเป็นผู้เจรจากับอดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายาก่อนที่จะมีการเจรจาสลายการจับอาวุธและเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กระนั้น เรื่องราวแต่เก่าก่อนถ้าจะให้ถึงขนาด ‘ฟันธง’ ว่า พล..อกนิษฐ์ เข้าใจปัญหาชายแดนในวันนี้อย่างลึกซึ้งจนเหมาะสมที่จะขึ้นแท่น ก็คงจะเป็นการมองอย่าง ‘ผิวเผิน’ และง่ายเกินไป!!
เพราะบริบท ของปัญหาในวันนั้นกับวันนี้กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การสู้รบเพื่อเอาชนะกองกำลังติดอาวุธของขบวนการฯ เป็นเพียงเรื่องปลายเหตุ ด้วยอุปสรรค ‘สำคัญ’ ที่ถึงตอนนี้ก็ยังดับไฟใต้ไม่ได้ ประเด็นหลักอยู่ที่เจ้าหน้าที่รัฐยังเข้าไม่ถึงจิตใจคนในพื้นที่ ยังเอาชนะ จิตใจชาวบ้านไม่ได้ต่างหาก
ว่าไปแล้ว เป็นเรื่อง ‘มวลชน’ ล้วนๆ!!
ขณะเดียวกัน แนวทางการทำงานของ พล..อกนิษฐ์ ที่ผ่านมา ค่อนข้างที่จะใช้บริการผู้มีอำนาจหรืออิทธิพลในพื้นที่เสียมากกว่า หากได้มานั่งแท่นแม่ทัพภาค4 จริงๆ จึง น่าวิตกว่า ผู้นำชุมชน โดยเฉพาะผู้นำศาสนา บาบอตามปอเนาะต่างๆ จะหมดโอกาสที่จะมีบทบาทร่วมในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมวลชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่รัฐ และยิ่งส่งผลต่อการแก้ปัญหาภาคใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกทั้งการที่ พล..อกนิษฐ์ ถือเป็นคนนอกกองทัพภาค 4 การข้ามห้วยมานั่งแท่นผู้บังคับบัญชา ก็จะเกิดปัญหาการยอมรับจากนายทหารและกำลังพลเพราะทหารในพื้นที่นั้นต้องการให้คนในกองทัพภาค 4 ขึ้นมาเป็นผู้นำ เนื่องจากการคลุกคลีอยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนานจะทำให้เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ อย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การแก้ไขอย่างถูกต้องและเป็นระบบ
และที่ถือเป็น ‘จุดด้อย’ สำคัญ ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคที่สุดของ พล..อกนิษฐ์ ในการขึ้นแท่นแม่ทัพภาค 4 ก็คือ นโยบายของกองทัพที่ระบุว่า บุคคลที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งแม่ทัพต้องผ่านตำแหน่งหลักเป็นผู้บังคับหน่วยหรือคุมกำลังในระดับผู้บังคับการกรมหรือผู้บัญชาการกองพล แต่ พล..อกนิษฐ์  ‘ไม่เคย’ ดำรงตำแหน่งหลักดังกล่าวมาก่อน
การดันทุรังหนุน พล..อกนิษฐ์เป็นแม่ทัพภาค 4 จึงเท่ากับว่าเป็นการทำลายระบบของกองทัพเสียเอง!!
ปัจจุบัน การทำงานที่เป็นอยู่ในพื้นที่ ขาดทั้งเอกภาพ และวิสัยทัศน์ ต่างคนต่างทำ ต่างกันต่างเดิน แล้วเมื่อการเมืองที่มาเล่นในกองทัพภาค 4 ทำให้นายทหารดีๆ ที่มีความสามารถไม่สามารถอยู่ทำงานอยู่ได้ ส่วนนายทหารที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ขาดทั้งความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ แต่มีเส้นสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจในกองทัพกลับได้รับการแต่งตั้งให้รับผิด ชอบงานในตำแหน่งที่สำคัญ ก็เสมือนยิ่งเติมเชื้อแห่งความขัดแย้งเข้าไปอีก
ที่สุดแล้ว หาก  ‘พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา’ และกองทัพ ต้องการดับไฟใต้อย่างจริงจังและมีความจริงใจในการแก้ปัญหาที่ปลายด้ามขวาน การเลือกบุคคลมาเป็นแม่ทัพภาค 4 ‘คนใหม่’ ก็จะต้องใคร่ครวญให้หลายตลบ เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมที่สุดมารับผิดชอบงานสำคัญ
แต่หากเพียงเพื่อผลักดันให้ ‘ตท.12’ และเพื่อน ‘บูรพาพยัคฆ์’ ยกแผงขึ้นกุมอำนาจกองทัพ โดยไม่ยี่หระว่าจะเป็นการเติมเชื้อไฟและเพิ่มปัญหาให้จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ ก็ไม่เป็นปัญหาที่จะลองส่ง พล..อกนิษฐ์หมื่นสวัสดิ์’ ลงไปเป็นแม่ทัพคุมภาคใต้
ส่วนจะเผาหลอกหรือเผาจริง ไม่นานเดี๋ยวก็รู้!!
http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30573
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น