ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บิ๊ก สตง.รวมตัวต้าน"จารุวรรณ"กลับมานั่งเก้าอี้ต่อ ซัดกันนัวกับลูกน้องคนสนิท ลั่นกลับมาเป็น ปธ.คตง.

วันที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 10:20:59 น.  มติชนออนไลน์

บิ๊ก สตง.รวมตัวต้าน"จารุวรรณ"กลับมานั่งเก้าอี้ต่อ ซัดกันนัวกับลูกน้องคนสนิท ลั่นกลับมาเป็น ปธ.คตง.

ฝุ่น ตลบ "จารุวรรณ โต้ พิศิษฐ์" กลางที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง สตง. ยืนยันกลับเข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการฯต่อ เจอที่ประชุมรุมต้าน ซัดกันนัวกับรองผู้ว่าฯ อดีตลูกน้องคนสนิท อ้างผิดหวัง เปลี่ยนไป ลั่นตั้งใจเข้ามาเป็นประธาน คตง. อีก

นายกฯไม่รู้เรื่อง"จารุวรรณ"ขอนั่งเก้าอี้ต่อ

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การเตรียมขอกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาทั้งที่อายุครบ 65 ปีบริบูรณ์โดยอ้างความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภาระบุ ว่า ประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.)ฉบับที่ 29  ที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการสรรหาผู้ว่าการฯคนใหม่ว่า   เป็นเรื่องของข้อกฎหมาย


เมื่อถามว่าขณะนี้เรื่องดังกล่าวขั้นตอนไปถึงไหนแล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะเรื่องไม่ได้ผ่านมาทางตน 

"บิ๊ก"สตง.รุมต้าน"จารุวรรณ" ไม่ให้นั่งเก้าอี้ต่อ

 

เมื่อเช้าวันที่ 2 สิงหาคม นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รอง ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการ ฯได้เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงระดับ 10 จำนวน 11 คน เพื่อหารือถึงความชัดเจนจากกรณีที่คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้ทำหนังสือเวียนถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ว่าจะกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่า การ สตง. โดยอ้างความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาว่าสามารถดำรงตำแหน่ง นี้ต่อไปได้ ทั้งที่คุณหญิงจารุวรรณ มีอายุครบ 65 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งต้องพ้นตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรม นูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542


รายงานข่าวแจ้งว่า มติที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่จำนวน 7 คน เห็นว่าคำสั่งของคุณหญิงจารุวรรณไม่ชอบด้วยกฎหมายและควรรอให้คณะกรรมการ กฤษฎีกาตีความให้ชัดเจนก่อน โดยให้นายพิศิษฐ์รักษาการผู้ว่าการ สตง. แต่อีก 4 คน ไม่มีความเห็นชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ จากนั้นที่ประชุมได้รวมตัวกันเดินทางเข้าพบคุณหญิงจารุวรรณที่ห้องทำงาน เพื่อแจ้งมติที่ประชุมข้างต้น แต่คุณหญิงจารุวรรณยืนยันว่าจะกลับเข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการ สตง.อย่างแน่นอน และจะรับเงินประจำตำแหน่งเหมือนเดิมด้วย

 

  
“ ตอนแรกก็ว่าจะไปแล้ว หลังจากที่อายุครบเกณฑ์ และยิ่งตอนนี้มาเกิดเรื่องแบบนี้ด้วยก็ไม่อยากจะอยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่จากการที่ไปสอบถามข้อมูลด้านกฎหมายหลายแห่ง เนื่องจากพี่เป็นคนใฝ่รู้ในข้อกฎหมาย ก็ได้รับการยืนยันจากนักกฎหมายหลายคน ที่เข้าใจกฎหมายดีกว่าพวกเรา สตง.มากว่า ยังอยู่ในตำแหน่งได้ และควรอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ สตง.เกิดปัญหาสุญญากาศในการบริหารงาน และผู้ใหญ่บางคน ซึ่งไม่ขอเอ่ยชื่อบอกว่า ยังไปไม่ได้ ก็เลยตัดสินใจกลับเข้ามาทำหน้าที่ต่อไปเหมือนเดิม โดยจะใช้ตำแหน่งว่า ผู้ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าการฯ สตง. ” แหล่งข่าวกล่าวอ้างคำพูดของคุณหญิงจารุวรรณในที่ประชุม

  
ข่าวแจ้งว่า  ในระหว่างการประชุม ครั้งนี้ มีข้าราชการระดับสูงหลายคน ได้พยายามทักท้วงว่า ควรจะมีการรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมาก่อนหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติ แต่คุณหญิงจารุวรรณกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเพียงแค่คำแนะนำเท่านั้น จะปฎิบัติตามหรือไม่ปฎิบัติตามก็ได้ ส่วนเหตุผลที่ต้องส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี แจ้งไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็เพราะเห็นว่า นายกฯ มีอำนาจดูแลรับผิดชอบหน่วยงานนี้อยู่ และที่ผ่านมา ก็มีหลายเรื่องที่นายกฯ ไม่ได้ดำเนินการตามกฤษฎีกา


“ พี่ว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอะไรหรอก เราน่าจะใช้วิธีส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เกิดความชัดเจนไปเลยดี กว่า ผลออกมาเป็นอย่างไร พี่ก็พร้อมจะปฏิบัติตามนั้น ส่วนกรณีที่กรรมการ ป.ป.ช.(คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)บางคน ที่เมื่อพ้นกำหนดแล้ว ต้องลาออกไป เรื่องนี้ คงไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกับพี่ได้ เพราะกรณีของ ป.ป.ช. เขามีคณะกรรมการหลายคน ออกไปคนหนึ่งเข้าก็ยังมีคนเหลือทำงานได้ แต่ตำแหน่งผู้ว่าฯ มีตำแหน่งเดียว  ถ้าไม่อยู่ต่อมันจะเกิดปัญหาสุญญากาศในการบริหารงานได้ และตำแหน่งรักษาการ ก็ทำงานบางเรื่องไม่ได้ การจะตีความข้อกฎหมายอะไรมันจะต้องดูเรื่องเจตนารมณ์ด้วย” คุณหญิงจารุวรรณกล่าวต่อที่ประชุม

   
ในระหว่างการหารือครั้งนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ยังมีการโต้เถียงหลายเรื่อง กับนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าฯรักษาราชการแทนผู้ว่าฯซึ่งเคยเป็นลูกน้องคนสนิทไม่ว่า จะเป็นกรณีที่แต่ละฝ่าย พูดจาไม่ดีกับลูกน้องคนสนิทของแต่ละฝ่าย  โดยคุณหญิงจารุวรรณอ้างว่า  นายพิศิษฐ์ ขู่ว่าจะสั่งย้าย คุณ ป. ให้ไปนั่งในตำแหน่งที่รับผิดชอบงานน้อยๆ  หลังจากที่นายพิศิษฐ์ ท้วงถามเอกสารราชการบางฉบับ แต่ไม่รับ โดยมีการอ้างว่า มีงานที่ต้องทำมาก  ขณะที่นายพิศิษฐ์ ก็อ้างว่า คุณหญิงจารุวรรณ ก็เคยทำหนังสือประจานลูกน้องตนเอง ว่า ทำงานไม่ดี โดยมีสาเหตุเพียงแค่ว่า โทรศัพท์ มาที่ห้องทำงาน แล้วไม่ยอมรับ ทำให้ติดต่อไม่ได้


“การโต้เถียงดังกล่าว ยังลุกลามไปถึงปัญหาสำคัญอีกหลายเรื่องไม่ว่า จะเป็นเรื่องที่นายพิศิษฐ์ ออกคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งน้องของคุณหญิงจารุวรรณ ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา สตง. เพื่อช่วยเรื่องภาษาต่างประเทศ ซึ่งคุณหญิงยืนยันว่า น้องของตน ทำประโยชน์ให้กับสตง. อย่างมาก หรือกรณีการประกาศราคาก่อสร้างอาคาร สตง.แห่งใหม่  ที่คุณหญิงระบุกลางที่ประชุม ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ได้มอบหมายให้นายพิศิษฐ์ เป็นผู้รับผิดชอบ และทำทุกอย่างตามคำแนะนำของนายพิศิษฐ์ ตลอด และยอมรับว่า มีความตั้งใจที่จะให้พล.อ.ต. อาวุธ เงินชูกลิ่น เข้ามารับออกแบบให้ เพราะต้องการให้อาคารสตง.แห่งใหม่ มีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นไทยมากที่สุด  ขณะที่นายพิศิษฐ์ ยืนยันว่า สิ่งที่ตนทำไป และเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีเจตนาอย่างเดียวก็คือ ทำทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสี่ยงของ สตง. และปกป้องน้องๆ ข้าราชการที่รับผิดชอบงานนี้ ไม่ให้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น หลังจากที่ตรวจพบว่า  การดำเนินงานในเรื่องนี้มีปัญหาความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นหลายอย่าง" แหล่งข่าวกล่าวถึงบรรยากาศที่ประชุม


อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ยังได้ยอมรับกับข้าราชการทุกคนว่า มีความตั้งใจว่า หลังจากพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ ไปแล้ว จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน( คตง. )และต้องการที่จะให้นายพิศิษฐ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฯ  จึงได้วางตัวให้นายพิศิษฐ์ เข้ามาเป็นรักษาการผู้ว่าฯ แต่ขณะนี้รู้สึกผิดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท่าทีของนายพิศิษฐ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป พยายามขับไล่ตนให้ออกไปจาก สตง.  และไม่คิดว่า เหตุการณ์การต่อต้านตนไม่ให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ  จะย้อนรอยกลับมาเกิดขึ้นกับตัวเองอีกครั้งแบบนี้  ขณะที่นายพิศิษฐ์ กล่าวยืนยันว่า การจะทำอะไรก็แล้ว แต่จะต้องดูเรื่องความถูกต้องของกฎหมายเป็นสำคัญ และก็ควรจะนำความจริงมาพูดกัน เพื่อจะได้ให้เพื่อนข้าราชการ สตง.ทุกคนรับทราบว่าอะไรเป็นอะไร


แหล่งข่าวจากสตง. กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ แม้ว่าคุณหญิงจารุวรรณ จะยืนยันว่า จะกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง. อีกครั้ง แต่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สตง.ก็ยังมีความสับสนว่า ในทางปฎิบัติทำได้หรือไม่ เพราะขณะนี้คำวินิจของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังไม่ออกมา และจะสามารถเชื่อถือคำวินิจฉัยของคณะที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภา ได้มากน้อยเพียงใด  เพราะถ้าตีความแบบนี้ได้ ก็จะส่งผลทำให้อำนาจของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ด้วยว่าการตรวจเงินฯ ที่กำหนดอายุของผู้ว่าฯ ว่าจะต้องไม่เกิน 65 ปี หมดความศักดิ์สิทธิ์ลงทันที


“ แม้คุณหญิงจารุวรรณ จะยืนยันเสียงแข็ง ว่า กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ได้  แต่ดูเหมือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่หลายคน ก็ยังไม่มั่นใจว่าทำได้จริง และมองว่า คุณหญิงจารุวรรณ มีความสัมพันธ์อะไรพิเศษกับส.ว.บางกลุ่มหรือเปล่า  ขณะที่นายพิศิษฐ์ ในฐานะรักษาการก็ยืนยันว่า จะทำหนังสือเวียนแจ้งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สตง. ได้รับทราบว่าหากใครปฎิบัติตามคำสั่งหนังสือเวียนของคุณหญิงจารุวรรณ ถือเป็นความผิด และจะต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวด้วย ก็ยิ่งส่งผลทำให้การดำเนินงานภายในของ สตง. เกิดปัญหาขึ้นอย่างมากในขณะนี้”  แหล่งข่าวระบุ

 

เมื่อเดียวกันมีการประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ นัดแรก มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน ในวาระเรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมให้รับทราบ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถิ์ ลุกขึ้นสอบถามกรณีปรากฏข่าวในสื่อ ว่า คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภาได้เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา ว่า ควรที่จะให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่าการ สตง.) เนื่องจากอายุครบ 65 ปีตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542  ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดินต่อเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบ จึงมีข้อสงสัยว่า กระแสข่าวดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ และคณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจดำเนินการตามที่เป็นข่าวหรือไม่


นายประสพสุข ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าว สตง.ส่งเรื่องมาให้ตนพิจารณา จึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาพิจารณาเพื่อเสนอ ความเป็นประกอบการพิจารณาของประธาน เมื่อที่คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เสนอความเห็นมาแล้วตนได้รับทราบเท่านั้น ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างไร และไม่เกี่ยวกับการพิจารณาของใคร เพราะความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เป็นเพียงความเห็น ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีมีผู้มาสอบถาม  ซึ่งตนได้ชี้แจงว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


จากนั้นนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา สอบถามว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เริ่มข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์อ้างบันทึกของ สตง.ระบุถึงความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาในเรื่องนี้ ทำให้รู้สึกแปลกใจว่าคณะกรรมการที่ปรึกษาฯดังกล่าว ทำงานเพื่อวุฒิสภา แต่เหตุใดจึงมีบันทึกออกไปเปิดเผยอยู่ภายนอกได้

 

นายเรืองไกรกล่าวว่า ต่อมาตนไปขอตรวจสอบกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาว่า มีบันทึกออกไปจริงหรือไม่แต่กลับดูไม่ได้ ต่อมาจึงทราบอย่างไม่เป็นทางการจากเจ้าหน้าที่ว่า ประธานวุฒิสภาไม่ได้ส่งเอกสารนี้ออกไปข้างนอก ปัญหาจึงอยู่ที่เหตุใดจึงมีความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธาน วุฒิสภาไปปรากฏอยู่ในบันทึกขององค์กรอิสระ ทำให้สื่อมวลชนนำไปอ้าง ทำให้เกิดความเสียหาย และมีปัญหาตามมาอีกว่า บันทึกการประชุมของคณะที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 53 ได้สรุปความเห็นให้ทำรายงานความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เสนอประธานวุฒิสภานำความเห็นของคณะที่ปรึกษาฯ ไปใช้ประกอบการพิจารณา ทั้งนี้เพื่อให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการ สรรหาผู้ว่าการสตง.ใช้พิจารณาแก้ไขปัญหาต่อไป


"เรื่องนี้ในสตง.ก็เป็นข่าว สื่อมวลชนก็สนใจ แล้วคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาใช้สถานะอะไร เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 หรือไม่ ไปก้าวก่ายอะไรเขาหรือเปล่า" นายเรืองไกร กล่าว


จากนั้นนายประสพสุข ชี้แจงอีกครั้งว่า เรื่องนี้สตง.มีหนังสือมาถึงตน จึงให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาให้ความเห็นประกอบการพิจารณา ของตน เมื่อรับทราบความเห็นแล้วก็รับทราบเฉยๆ ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ต่อ เป็นการรับทราบเรื่องนี้ประกอบการพิจารณาเท่านั้น


ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ชี้แจงว่า หลังจากคณะกรรมการฯ พิจารณาเรื่องนี้แล้ว ก็ทำความเห็นเสนอประธานวุฒิสภา ส่วนคุณหญิงจารุวรรณ ได้ทำหนังสือเสนอมายังคณะกรรมการฯ ในช่วงที่ประธานวุฒิสภาไปราชการในต่างประเทศ โดยหนังสือระบุว่า มีความต้องการที่จะได้บันทึกความเห็นดังกล่าวเพื่อนำไปประกอบดุลยพินิจของ คุณหญิงจารุวรรณเอง ซึ่งในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ เห็นว่า บันทึกดังกล่าวไม่ได้เป็นความลับอะไรจึงนำส่งไปให้อย่างถูกต้องตามระบบ สารบรรณ


"เรื่องที่ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯมีความ ถูกต้องหรือไม่ ผมยืนยันว่า ถูกต้องทุกประการ รองรับด้วยข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา และอำนาจของประธานวุฒิสภา การพิจารณาได้ทำอย่างถูกต้องทุกประการ ส่วนที่มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ สตง.อาจเกิดจากคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ ผมขอชี้แจงว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากผู้ว่าการ ฯ แต่อาจเกิดจากผู้ผิดหวังบางคน ที่ผิดหวัง หรือเสียประโยชน์ ไม่ได้ตำแหน่ง หรือบางคนที่ชักใยอยู่ข้างหลังที่ต้องการสิ่งที่ไม่ถูกต้องในกระบวนการที่ ไม่ถูกต้อง หนังสือของเราเป็นแค่ความเห็นทางกฎหมาย ผลจะมีหรือไม่อยู่ที่ผู้อ่านว่า จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ทั้งหมดไม่ใช่ความเห็นชี้ขาด สิ่งที่จะชี้ขาดได้มีเพียงคำสั่งศาล ขอย้ำว่า เรื่องนี้ไม่เคยมีการวินิจฉัยว่าคุณหญิงจารุวรรณ ต้องพ้นจากตำแหน่ง เป็นแต่เพียงความสงสัยของคุณหญิงจารุวรรณเองเท่านั้น" นายไพบูลย์ กล่าว


นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปโดยโปร่งใส ส่วนถ้าเพื่อนสมาชิกเห็นว่าพวกตนโดยเฉพาะตนทำหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 266 ก็ขอให้ไปฟ้องให้ตรวจสอบ หากไม่ดำเนินการจะถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่


ด้านนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องใดต้องเข้าใจถึงสาระสำคัญ หากไม่เข้าใจจะเสียหาย คณะกรรมการฯเป็นนักกฎหมาย การอ่านกฎหมายต้องทำอย่างรอบด้าน การทำหน้าที่ของคณะกรรมการฯได้ทำหน้าที่ตามที่ร้องขอ จึงขอถามกลับไปยังผู้สงสัยว่า ความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ คือ ความคิดเห็นของนักกฎหมายธรรมดาไม่ได้เป็นความเห็นชี้ขาด เช่นนี้แล้วจะมาต่อว่าเพื่อนสมาชิกได้อย่างไร การตัดสินมีกลไกของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ การวิพากษ์วิจารณ์ใครต้องคิดให้ดีและให้ความเคารพต่อเพื่อสมาชิกด้วย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นบรรยากาศการประชุมเคร่งเครียดมากขึ้น โดยนายเรืองไกร กล่าวว่า ขอสำเนาหนังสือความเห็นเรื่องนี้ทั้งหมด ทั้งบันทึกการปะชุม หนังสือที่ออก และหนังสือความเห็นที่ส่งไปยัง สตง. โดยอยากทราบว่า ผู้ที่ส่งหนังสือคือใคร ใครเป็นผู้ลงนาม  ลงนามในสถานะใด โดยขอหนังสือทั้งหมดให้ตนภายในวันนี้ ทำให้นายไพบูลย์ ลุกขึ้นตอบโต้ว่า เรื่องการขอเอกสารขอให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุรายละเอียดว่าต้องการหนังสืออะไร หากไม่มีลายลักษณ์อักษรจะไม่สามารถส่งเอกสารให้ได้ ในฐานะประธานยินดีที่จะส่งหนังสือให้ทั้งหมดตามที่ต้องการ


นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา กล่าวว่า กรอบอำนาจหน้าที่ของกรรมการฯคือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามที่ประธานขอมา เรื่องที่เข้าสู่การพิจารณาของกรรมการฯ จะต้องทำเป็นระเบียบวาระขึ้นมา และคณะกรรมการฯไม่เคยหยิบยกเรื่องใดขึ้นมาพิจารณาเอง จึงขอให้ทราบว่า คณะกรรมการฯ ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย สำหรับความเห็นที่ออกไปจะตรงกับความเห็นที่เพื่อนสมาชิกต้องการหรือไม่ไม่ สามารถผูกมัดได้ มติของคณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจผูกพันให้ฝ่ายใดปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามได้ ขอยืนยันว่าคณะกรรมการฯ ทำงานโดยอิสระโปร่งใส และยึดหลักกฎหมายโดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝงหรือแอบอิงทั้งสิ้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280748023&grpid=&catid=01



--
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น