ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิจัยชาวบ้านต่อสู้คดีความโลกร้อน




วิจัยชาวบ้านต่อสู้คดีความโลกร้อน

วันเสาร์ที่ 17 กรกฏาคม 2010 เวลา 05:10 น. ผู้ดูแลระบบ
อีเมล พิมพ์ PDF

วิจัยชาวบ้านต่อสู้คดีความโลกร้อน

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

(รีคอฟ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน Oxfam GB (ประเทศ ไทย) และศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดเวทีประชุมเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการต่อสู้คดีโลกร้อน โดยมีชาวบ้านในเครือข่ายที่ประสบปัญหาด้านคดีความโลกร้อน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน นักกฎหมายและนักวิชาการ เข้าร่วมประมาณ 50 คน

วัตถุประสงค์หลักของการประชุมครั้งนี้เพื่อนำเสนอสถานการณ์คดีโลกร้อน ประเด็นการต่อสู้ และข้อมูลงานวิจัยชุมชนของเครือข่ายฯเพื่อหักล้างคดีความโลกร้อน รวมทั้งการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนแบบจำลองการคิดค่าเสียหายโลกร้อน การวิเคราะห์แนวทางทางกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของเกษตรกรราย ย่อยที่ถูกคดีความโลกร้อน

1. การนำเสนอประเด็นปัญหาเรื่องที่ดิน และคดีโลกร้อนในภาพรวม

สถานการณ์ภาพรวมคดีเรื่องที่ดิน ป่าไม้ และที่สถานประโยชน์ ข้อมูลสถิติจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย

ภูมิภาค

จำนวนคดี/กรณี

จำนวนผู้ถูกคดี/ รายคน

ภาคเหนือ

76

285

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

14

115

ภาคใต้

41

100

รวม

131

500

จำนวนคดีโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 38 คดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สถานการณ์เกษตรกรผู้ถูกดำเนินคดีแพ่ง (โลกร้อน) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 97

ลำดับ

สถานะของคดี

จำนวน (ราย)

มูลค่าความเสียหาย

เพศ

ขนาดพื้นที่ถูกฟ้อง (ไร่)

หญิง

ชาย

1.

มีหนังสือเรียกค่าเสียหาย

10

12,595,000

10

-

สูงสุด 21-8-83 ไร่

2.

กำลังอุทธรณ์คดีอาญาและถูกดำเนินคดีแพ่ง

16

426,876

6

10

9-0-46 ไร่

3.

กำลังฎีกาคดีอาญาและกำลังอุทธรณ์คดีแพ่ง

1

129,732

-

1

3-3-0 ไร่

4.

ศาลตัดสินคดีอาญาและกำลังดำเนินคดีแพ่ง

2

730,300

2

-


5.

ศาลตัดสินคดีอาญาและบังคับคดีแพ่ง

9

18,960,000

7

2



รวม

38

32,841,608

25

13


กรมอุทยาน ฯ มีการคำนวนความเสียหายในการฟ้องร้องชาวบ้านเกษตรกรรายย่อยในคดีโลกร้อนโดยใช้แบบจำลองซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทำให้ธาตุอาหารในดินสูญหายคิดเป็นมูลค่า 4,064 บาท ต่อไร่ต่อปี (เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยมไปโปรยทดแทน)

2. ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่ต่อปี

3. ทำให้สูญเสียน้ำออกไปจากพื้นที่โดยการแผดแผาของดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี

4. ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาทต่อไร่ต่อปี (คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรทุกดินขึ้นไปและปูทับไว้ที่เดิม)

5. ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาทต่อไร่ต่อปี (คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้เดินเครื่องปรับอากาศชั่วโมงละ 2.10 บาท ซึ่งต้องใช้เครื่องปรับอากาศทั้งหมดเท่ากับ 5.93 ตันต่อชัวโมงและกำหนดให้เครื่องปรับอากาศทำงานวันละ 10 ชั่วโมง (08.00-18.00 .)

6. ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 ไร่ต่อปี

7. มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่า 3 ชนิด

7.1 การทำลายป่าดงดิบค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท (ต่อไร่)

7.2 การทำลายป่าเบญจพรรณค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท (ต่อไร่)

7.3 การทำลายป่าเต็งรังค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท (ต่อไร่)

จาก สถานการณ์คดีโลกร้อนนี้เองทำให้เกิดการทำงานวิจัยชุมชนเพื่อช่วยสนับสนุนชาว บ้านในการต่อสู้คดีโลกร้อน โดยความร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นในภาคอีสานและภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานและภาคใต้ กลุ่มปฎิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน และศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนฯ(รีคอฟ)

โดยงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ ศึกษาหลัก 4 ชุมชน คือ

1. ชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

2. ชุมชนบ้านตระ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

3. ชุมชนบ้านห้วยกลฑา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

4. ชุมชนบ้านห้วยระหงส์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

เป้าหมายของการทำงานวิจัย

  • เพื่อนำข้อมูลผลการศึกษาไปใช้อธิบาย ต่อสู้ทางคดีความในชั้นศาลให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ถูกฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหาย
  • เพื่อทำความเข้าใจกับสังคมในเรื่องวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนที่สัมพันธ์กับประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อน

วัตถุประสงค์งานวิจัย

  • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนกับเรื่องภาวะโลกร้อน
  • เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อย การกักเก็บ และการดูดซับธาตุคาร์บอน และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบ ต่างๆของชุมชน
  • เพื่อ นำเสนอแนวทางนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนวิถีการผลิตและการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อ สร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและสร้างความสมดุลทางคาร์บอนอันเป็นการ บรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน

2. การนำเสนองานวิจัยที่ 1 พื้นที่บ้านห้วยกลทา อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ (ดูรายละเอียดเนื้อหาจากเอกสารแนบ)

3. การนำเสนองานวิจัยที่ 2 พื้นที่บ้านทับเขือ ปากหมู ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง (ดูรายละเอียดการนำเสนอจากเอกสารที่แนบ)

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมต่องานวิจัยทั้ง 2 ชิ้น

การ นำเสนอผลการวิจัยทั้งสองพื้นที่แสดงให้เห็นว่าวิจัยมุ่งเน้นที่การเก็บ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อโต้แย้งกับแบบจำลองของกรมอุทยาน ฯ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่า

1. งาน วิจัยยังไม่สามารถแก้หรือหักล้างคดีโลกร้อนได้ทั้งหมด แต่เป็นการชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร จากข้อมูลที่ได้จากพื้นที่เปรียบเทียบกับแบบจำลองเพื่อคิดค่าเสียหายที่กรม อุทยานนำมาฟ้อง

· กรณีการฟ้องเรื่องอุณหภูมิที่สูงขึ้น ใช้อุณหภูมิที่จังหวัด ซึ่งห่างไกลจากพื้นที่ โดยผลการศึกษาเรื่องอุณหภูมิในระดับพื้นที่(Micro Climate) พบว่า ความแตกต่างของอุณหภูมิเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา การวัดอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับความสูง และรอบวันด้วย

· ใน การคิดค่าเสียหายเรื่องธาตุอาหารในดินสูญหาย จากการคำนวณไนโตรเจน จะเห็นได้ว่าไนโตรเจนในดินมาจากหลายแห่ง เช่น ได้มาจากพืชตระกูลถั่ว ที่ขึ้นอยู่ปกคลุมดินในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ค่าไนโตรเจนในดินที่เปิดโล่งจะมีค่าเป็นศูนย์หรือติดลบ ดังสมการคณิตศาสตร์ที่ทางกรมอุทยานนำมาใช้

· ประเด็น การกัดเซาะหน้าดิน การซึมน้ำของดิน จะมีความแตกต่างกัน ตามลักษณะของพื้นที่ โดยพืชคลุมดินมีส่วนช่วยในการลดอัตราการกัดเซาะหน้าดินมากกว่าการปกคลุม เรือนยอดของต้นไม้

· การ ดูดซับก๊าซคาร์บอน การกักเก็บคาร์บอนอยู่ในรูปของเนื้อไม้ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ มีการผสมผสานต้นไม้กับพืชคลุมดิน มีวิถีปฏิบัติด้านเขตกรรม(Cultural Practice) มี พืชเสริม เช่น ผสมผสานถั่วแดงในไร่ข้าวโพด มีการตัดสางและกักเก็บซากพืชคลุมดินสะสมไว้ในดิน โดยสัดส่วนคาร์บอนที่สะสมในดินนี้มักจะมีอยู่มากที่สุด และกำลังรอผลการตรวจสอบดินจากห้องแล็ป

2. กิจกรรม ทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนปลดปล่อยคาร์บอน และการปลดปล่อยคาร์บอนเพื่อความมั่นคงทางอาหารหรือวิถีชุมชน เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความอยู่รอด ให้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้

3. ควร มีการสร้างแบบจำลองการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนเอง เพื่อต่อสู้ทางคดี และนำไปใช้ในอนาคต โดยให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย ทำข้อมูล และทีมวิชาการ ทีมคนทำงานช่วยเสริมให้เกิดกระบวนการ และควรมีการรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจในวิถีชุมชนต่อสาธารณชน และนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดินและทรัพยากรร่วมกันของเครือข่าย

4. การ เตรียมตัวเพื่อสู้คดี ควรสู้มากกว่าโมเดล เช่นทำอย่างไรถึงจะทำให้ศาลเชื่อว่าชาวบ้านอยู่ทำกินมาก่อน ประเด็นคือต้องรวมกันระหว่างแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ นิเวศวิทยา และแนวคิดทางสังคม วิถีชุมชน สิทธิชุมชน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็นพลังในการต่อสู้มากขึ้น

5. ข้อควรระมัดระวัง ถ้านำเสนอข้อมูลไม่รอบด้าน การใช้เรื่องแบบจำลองการคิดค่าเสียหาย 7 ข้อ มาสู้เพียงลำพัง จะทำให้เกิดความล่อแหลม จะทำให้ข้อมูลนี้กลับมาเป็นโทษแก่ชุมชนมากกว่าจะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้คดี (ตัวอย่าง เช่น ไร่ข้าวโพดทำให้ดินอุ้มน้ำน้อยกว่าพื้นที่ป่า หรืออุณหภูมิของไร่ข้าวโพดสูงกว่าพื้นที่ป่า และอุณหภูมิของไร่ข้าวโพดมีความแตกต่างกันมากในระหว่างกลางวันและกลางคืน ในขณะที่อุณหภูมิพื้นที่ป่ามีความแตกต่างกันน้อยกว่า เป็นต้น)

6. มี การนำเสนอว่าให้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องรอยเท้านิเวศน์ของทั้งสองพื้นที่ เพื่อพิสูจน์ว่าเกษตรกรเหล่านี้เป็นผู้ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า กลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม

7. งาน วิจัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคอีสานควรจะเพิ่มเนื้อหาในเรื่องภาพรวมของชุมชน มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของชุมชนไม่ได้ทำให้โลกร้อน โดยเน้นถึงวิถีการทำเกษตรของชุมชน และความพยายามของชุมชนในการดูแลรักษาป่า การพึ่งพาอาศัยป่าเพื่อความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของครัวเรือน อาจจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม หรือใช้ข้อมูลเดิมที่เคยศึกษามาแล้วในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารและราย ได้มาเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลงานวิจัยมีน้ำหนักมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ใน การต่อสู้คดี

4. การนำเสนองานวิจัยที่ 3 พื้นที่บ้านห้วยหินลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย (ดูรายละเอียดการนำเสนอจากเอกสารที่แนบ)

งานวิจัยชิ้นนี้มีความแตกต่างจาก 2 ชิ้น แรกไม่ได้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อโต้แย้งกับแบบจำลองของกรมอุทยาน ฯ จึงทำให้ขาดการเก็บข้อมูลในเชิงเทคนิควิทยาศาสตร์ทางด้านป่าไม้ ดิน และน้ำ แต่เป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าชุมชนบ้านห้วยหินลาดเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ และมีวิถีการผลิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่า และในทางกลับกันก็ดูแลรักษาป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และความอุดมสมบูรณ์ของป่าจะทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจครัวเรือน

ข้อเสนอแนะของที่ประชุมต่องานวิจัยชิ้นที่ 3

เป็นงานวิจัยที่ช่วยทำให้เห็นส่วนที่ขาดหายไปของงานวิจัยสองชิ้นแรก ถ้างานวิจัยทั้ง 3 ชิ้นนี้นำเอาเทคนิควิธีการวิจัยมารวมกันจะทำให้เกิดงานวิจัยชุมชนที่มีข้อมูลรอบด้านมากขึ้น

5. การวิเคราะห์แบบจำลองโดยอาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด

5.1 ประเด็นการปรับชาวบ้านในคดีโลกร้อนนั้นเมื่อเทียบกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมคือ "ผู้ ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นผู้จ่าย" จะต้องบังคับใช้กับผู้ก่อความเสียหายทุกคน หรือบังคับใช้กับผู้ที่เป็นต้นเหตุหลักในก่อความเสียหาย แต่ชาวบ้านไม่ได้เป็นผู้ก่อความเสียหายหลักในประเด็นเหล่านี้

5.2 ค่าความเสียหายคำนวณจากแนวปฏิบัติทั่วไปในการฟื้นฟู และ/หรือ ทดแทนความเสียหายของทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้แนวปฏิบัติที่มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยเน้นการปรับตัวของผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย ซึ่ง การเปิดแอร์เพื่อลดอุณหภูมิ หรือการนำน้ำไปฉีด หรือขนดินขึ้นไปเติมในพื้นที่ไม่ใช่เป็นมาตรการฟื้นฟูที่เหมาะสมและเป็นแนว การปฏิบัติทั่วไป

5.3 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะไม่มีการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของป่าในสภาพพื้นที่พิพาทจริง เพราะแบบจำลองมีแต่การจำแนกชนิดป่า 5 ชนิดเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดของความอุดมสมบูรณ์

5.4 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะเป็นการคำนวณค่าความเสียหายของเนื้อไม้ และการเพิ่มพูนของเนื้อไม้รายปี (ปริมาตรไม้) เท่านั้นไม่มีการคำนวณความเสียหายของเนื้อไม้ชนิดของไม้ที่ตัด

5.5 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณความเสียหายจากการสูญเสียธาตุอาหารหลักโดยการคำนวณ N-P-K จากข้อมูลพื้นที่หน้าตัดลำต้นของต้นไม้เท่านั้นไม่มีการสำรวจสภาพของธาตุอาหารในดินในพื้นที่จริงและในพื้นที่ป่าใกล้เคียง และไม่มีการสำรวจพืชคลุมดินในสภาพพื้นที่จริง

5.6 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณค่าความเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น ไม่มีการสำรวจสภาพอุณหภูมิในพื้นที่จริง (ในระดับต่างๆ และในช่วงเวลาต่างๆ) และไม่มีการสำรวจพืชคลุมดินในพื้นที่จริงเพื่อเปรียบเทียบกับสภาพป่าใกล้เคียง แบบ จำลองคำนวณค่าเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น โดยใช้ข้อมูลชนิดของป่า และพื้นที่หน้าตัดของต้นไม้ที่ถูกตัด มาคำนวณเป็นค่าคะแนนปัจจัยพืชคลุมดิน โดยไม่มีการสำรวจพื้นที่จริง

5.7 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการ คำนวณค่าความเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น โดยเปรียบเทียบกับการเปิดเครื่องปรับอากาศ มิใช่วิธีการปกติที่คนทั่วไปจะใช้ในการลดอุณหภูมิในสภาพพื้นที่จริง ทั้งยังเป็นวิธีการที่ยิ่งทำให้อุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น

5.8 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณปริมาณน้ำที่สูญหายมาจาก 3 ส่วน 1) ดินไม่ดูดซับน้ำ เนื่องจากการอัดแน่นของผิวดินจากแรงกระทบของเม็ดฝน 2)แสงแดดแผดเผา เนื่องจากไม่มีป่ามาปกคลุม 3) ฝนตกน้อยลง แต่ไม่มีการเก็บข้อมูลการดูดซับน้ำของดินในสภาพจริง ไม่มีข้อมูลการระเหยน้ำในสภาพจริง และไม่มีข้อมูลปริมาณน้ำฝนในสภาพจริง (แบบจำลองใช้ข้อมูลน้ำฝนรายจังหวัด แทนปริมาณน้ำฝนในพื้นที่จริง, แบบจำลองใช้การจำแนกชนิดป่าแทนสภาพของพืชในพื้นที่จริง และแบบจำลองใช้ความสูงของชั้นดิน แทนสภาพดินในพื้นที่จริง (เช่น ความชื้น)

5.9 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณค่าความเสียหายโดยเทียบกับการเช่ารถบรรทุกน้ำขึ้นไปฉีดพรมในพื้นที่ มิใช่วิธีปฏิบัติของคนทั่วไปในสภาพพื้นที่จริง

5.10 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณความเสียหายจากดินสูญหาย ไม่มีการคำนึงถึงสภาพของพืชคลุมดิน สภาพฝนที่ตกในพื้นที่ และการเพิ่มพูนดินจากเกษตรกรรมในสภาพจริง

5.11 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะ ปัญหาการนับซ้ำ (double counting) ค่าความเสียหาย 1)ระหว่างการคิดค่าดินสูญหายกับธาตุอาหารสูญหาย 2) ระหว่างการคิดค่าอากาศที่ร้อนขึ้นกับการสูญเสียน้ำ

สรุป

มี ความเป็นไปได้สูงมากที่จะโต้แย้งแบบจำลองการคิดค่าเสียหาย เพราะแบบจำลองดังกล่าวมีการใช้ข้อมูลในแต่ละสภาพพื้นที่จริงน้อยมาก กลายเป็นจุดอ่อนของแบบจำลองเอง

เพียงแต่จะต้องเน้นการทำเอกสารวิชาการที่จะใช้โต้แย้งให้ชัดเจนและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ดู จากตัวอย่างการพิจารณาคดีที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ตราบใดที่ศาลยังเห็นว่า การตัดต้นไม้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นชาวบ้านจะไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย

การต่อสู้คดีจึงต้องมุ่งนำเสนอภาพรวมทั้งหมดของวิถีชีวิตชุมชน (มิใช่แค่ตอไม้ 37 ตอ) ว่าช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร

โดยเฉพาะการคิดค่าเสียหายเรื่อง "โลกร้อน" จำเป็นต้องมองในภาพรวมเช่น ต้องพิจารณารอยเท้านิเวศน์ หรือรอยเท้าคาร์บอนของชุมชน

แต่เราจะโยง "ไร่ข้าวโพด" กับ "ป่าชุมชน" ในการพิจารณาคดีได้อย่างไร??

6. การ วิเคราะห์การสู้คดีในประเด็นกฏหมายสิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฏหมายสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย ทีมกฏหมาย นำโดยพี่แย้ พี่แสงชัย และฉี

  • การฟ้องศาลปกครอง
    • เกี่ยว กับแนวปฏิบัติเรื่องการเรียกค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมของกรมอุทยานฯ ทางทีมกฎหมาย ได้พิจารณากันว่า มีช่องทางในการฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนแนวปฏิบัติดัง กล่าวหรือไม่ (ฟ้องเพิกถอนแนวปฏิบัติฯ และกระบวนการที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม)
    • ในที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในแง่กฎหมาย และมีข้อสรุปว่าควรใช้ช่องทางนี้ด้วย โดยให้ทางทีมกฎหมาย (ฉีและพี่แสงชัย) ไปร่างคำฟ้องมาและส่งให้ทีมทนายทุกคนช่วยดูอีกครั้ง
  • วิเคราะห์แนวทางการพิพากษาของศาลเรื่องคดีโลกร้อน
    • ใน ที่ประชุมมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมจากความเห็นของอาจารย์เดชรัตน์ เรื่องคำพิพากษาของศาลหล่มสัก เกี่ยวกับโมเดลการคิดค่าเสียหาย ว่าถึงแม้ศาลจะไม่เชื่อว่าค่าเสียหายที่คิดไม่ตรงกับสภาพที่เกิดเหตุจริงก็ ตาม แต่ศาลก็ใช้ดุลยพินิจคิดค่าเสียหายอยู่ดี ในคดีนี้ศาลพิจารณาจากเนื้อไม้ที่มีการตัดในพื้นที่จำนวน 38 ต้น และคิดค่าเสียหายเป็นเงิน 45,000 บาท
    • ใน ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนกันในประเด็นนี้แล้วเห็นว่า การต่อสู้คดีหรือนำสืบพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีจะต้องนำสืบให้เห็นว่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินของชาวบ้านไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม แต่อย่างใด ในทางตรงข้ามยังช่วยรักษาหรือทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยต้องมีการลงไปทำข้อมูลในพื้นที่อย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัด อุณหภูมิ การตรวจวัดดิน อย่างที่ทีมวิจัยได้ไปทำในพื้นที่เพชรบูรณ์และพื้นที่ตรัง เพื่อนำข้อมูลไปประกอบในการนำเสนอต่อศาล เพื่อหักล้างความเสียหายที่ฝ่ายกรมอุทยานฯฟ้อง และเพื่อศาลจะได้ไม่ใช้ดุลยพินิจหรือใช้ดุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น