ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แด่ "มด วนิดา" นักต่อสู้ของประชาชน

แด่ "มด วนิดา" นักต่อสู้ของประชาชน

by : สมพร จันทรชัย
IP : (124.120.147.191) - เมื่อ : 3/09/2007 03:48 PM

มด- วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ เป็นสตรีนักต่อสู้ฝ่ายประชาชนที่สำคัญคนหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่า เป็นผู้ที่มีจิตใจที่กล้าต่อสู้ กล้าเสียสละอย่างแท้จริง มดเป็นคนที่ต่อสู้เพื่อคนยากคนจนมาโดยตลอด โดยไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว มดไม่เคยมุ่งสร้างความร่ำรวย หรือสะสมทรัพย์สมบัติของตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างอุทิศเพื่อคนยากจน และต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ แม้ว่าจะถูกใส่ร้ายป้ายสีสารพัด ชีวิตของมด 52 ปีจึงเป็นแบบอย่างของนักต่อสู้ที่จะอยู่ในใจของประชาชนตลอดไป

มดเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในครอบครัวคนจีน เป็นชาวจังหวัดพระนคร ครอบครัวตันติวิทยาพิทักษ์ มีพี่น้อง 7 คน เป็นชาย 4 คน และหญิง 3 ลูก ลูกชายคนโตชื่อ สุรชัย มด -วนิด าเป็นลูกคนที่สอง ต่อมาคือ ลัดดาวัลย์ มณี สมชาย วันชัย และพรชัย มดเกิดที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน อาศัยอยู่บนถนนสีลมตั้งแต่เด็ก และเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 และเข้าเรียนชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม แม้ว่าพ่อของมดจะเป็นเจ้าของโรงงานยากันยุงขนาดเล็ก แต่กิจการในช่วงหลังไม่ค่อยดี และยังต้องส่งเสียลูกๆ ให้เรียนหนังสือ 7 คน มดในฐานะลูกสาวคนโตจึงต้องคอยเลี้ยงดูน้องๆ ที่ยังเล็กอีก 5 คน ขณะที่เรียนหนังสือไปด้วย มดเริ่มสนใจทำกิจกรรมตั้งแต่เมื่ออยู่โรงเรียน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นสุดท้ายก่อนจนการศึกษา มดเข้ารับตำแหน่งเลขานุการของกรรมการนักเรียน โดยมี รสนา โตสิตระกูล เป็นประธานนักเรียน ในระหว่างที่เรียนโรงเรียนมัธยม มดก็มีความคิดประชาธิปไตยและเกลียดชังเผด็จการเช่นเดียวกับเยาวชนร่วมสมัย จำนวนมาก จึงได้ไปเข้าร่วมกับการเดินขบวนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ 2516 ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่ทำให้เผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส จารุเสถียร ต้องสิ้นสุดลง

ผลสะเทือนจากกรณี 14 ตุลา ทำให้มดตัดสินใจที่จะสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2517 โดยเลือกเข้า มธ.3 ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ภาคค่ำ ด้วยเป้าหมายที่ว่าจะได้มีเวลาว่างเวลากลางวันที่จะทำงานหาเงินเพื่อช่วยทาง บ้าน อย่างไรก็ตาม มดได้เริ่มชีวิตในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยการทำกิจกรรมตั้งแต่แรก โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้หญิง ซึ่งจะมีเพื่อนร่วมรุ่นหลายคนที่จะมีบทบาทสำคัญต่อมา เช่น เจนจิรา เผ่าตระกูล ศรีลาวัณย์ เชื้อชาญวงศ์ ยุวดี สกุลคุณสวัสดิ์ ไพรินทร์ พลายแก้ว อุษา แซ่เฮ้ง กาญจนา พิศาลรัศมี (หนุ่ย) วิมล หวังกิตติพร อรทัย วิทูรธีรศานต์ (แอ๊ด) สุนีย์ ก่อตระกูล วัชรี เผ่าเหลืองทอง (ปุ้ม) เป็นต้น ในขณะนั้น รุ่นพี่ที่มีบทบาทสำคัญในกลุ่มผู้หญิง ก็คือ สุภาภรณ์ ลิ้มสัมพันธ์ และ สุชีลา ตันชัยนันท์

มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 นั้น ต้องถือว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการต่อสู้ภาคประชาชน เพราะในขณะนั้น เป็นสม้ยที่ชนชั้นกรรมกรและผู้ใช้แรงงานกลุ่มต่างๆ ต่อสู้เพื่อสิทธิของตนด้วยการนัดหยุดงานจำนวนมาก เพราะในระยะก่อนกรณี 14 ตุลา การกดขี่กรรมกรเป็นไปอย่างรุนแรง กรรมกรจะได้ค่าจ้างแรงงานต่ำ ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น เมื่อเกิดกรณี 14 ตุลาแล้ว การนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นเสมอ และกรรมกรที่ประท้วงเหล่านี้ ก็จะมาขอความข่วยเหลือจากขบวนการนักศึกษา โดยเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อขอให้นักศึกษาช่วยคำปรึกษาในด้านกฎหมายและกลวิธีในการต่อสู้ นอกจากกรรมกร คือ การชุมนุมใหญ่ของชาวนาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517 ชาวนาเหล่านี้ ก็ได้อาศัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่พักอาศัย ทำให้นักศึกษารุ่นใหม่ในขณะนั้น ได้มีโอกาสโดยตรงในการสัมผัสพูดคุยกับชาวนา นักศึกษาจากพรรคพลังธรรม ได้เข้าไปช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกแก่ชาวนา ส่วนนักศึกษาหญิงได้เข้าไปช่วยเหลือในด้านการครัวให้กับชาวนา และนี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่มดได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวนาโดยตรง และทำให้ได้ทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยากของชาวนา

ต่อมา หนังสือพิมพ์อธิปัตย์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของขบวนการนักศึกษา ต้องการรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมงานเพื่อหาสปอนเซอร์มาค้ำจุนการผลิตหนังสือ พิมพ์ให้ดำเนินต่อไปได้ มดได้เป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าสมัครไปทำงานเพื่อเป็นฝ่ายหาสปอนเซอร์ให้กับ หนังสือพิมพ์ ทำให้มดมีโอกาสสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มนักศึกษาก้าวหน้าที่ทำงานอธิปัตย์ ทำให้ได้รับอิทธิพลความคิดทางการเมืองแบบก้าวหน้า และกลายเป็นนักต่อสู้สังคมนิยม และเมื่อเข้าทำงานที่อธิปัตย์แล้ว มดได้เปลี่ยนจากฝ่ายสปอนเซอร์เป็นผู้สื่อข่าว จึงทำให้มดมีโอกาสเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาชนผู้ทุกข์ยาก ในฐานะผู้สื่อข่าวอธิปัตย์ ระหว่างนี้ วงดนตรีกรรมาชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งส่วนมากมีแต่ผู้ชาย ต้องการนักร้องหญิงไปช่วยร้องเพลง มดพร้อมด้วยนักศึกษาหญิงคนอื่น เช่น นิตยา ไหม วา และ แอ็ด (อรทัย) ก็ได้เข้าเป็นนักร้องหญิงของกรรมาชน โดยขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกันครั้งแรก ในวันกรรมกร 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2518

ดังนั้น เมื่อขึ้นปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมากของมด เพราะมดกลายเป็นผู้ปฏิบัติงานของขบวนการนักศึกษาเต็มตัว ในขณะนั้น ได้มีการแบ่งงานของขบวนการนักศึกษาส่วนหนึ่ง เป็นฝ่ายกรรมกร และ ฝ่ายชาวนา มดได้เข้าสังกัดฝ่ายกรรมกร โดยไปประจำศูนย์ประสานงานกรรมกร และได้กลายเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ทุ่มเทออกไปทำงานด้านกรรมกรอย่างเต็มตัว กลุ่มนักศึกษาที่เข้าไปทำงานประสานกับกรรมกรมีหลายคน เช่น สุภาพ พัฒอ๋อง พรชัย วีระณรงค์ สงวน พิศาลรัศมี เทียนชัย วงษ์ชัยสุวรรณ นิภาพรรณ พัฒนไพบูลย์ สงวนศรี เบญจางจารุ เป็นต้น และส่วนของธรรมศาสตร์ ก็จะมี พี่ตุ๊ก (สุพร) มด-วนิดา ปุ้ม-วัชรี เผ่าเหลืองทอง อุษา หวังภัทรพงศ์ และ นักศึกษาชาย เช่น ป้อมเพ็ชร ศิริวรรณ เป็นต้น

หลังจากนี้ จะได้พบกับมดในการนัดหยุดงานประท้วงของกรรมกรตามโรงงานต่างๆ ที่สำคัญเช่น การประท้วงของกรรมกรโรงงานสแตนดาร์ดการ์เมนต์ ที่ถนนพระรามสี่ การนัดหยุดงานของพนักงานโรงแรมดุสิตธานี ที่ศาลาแดง การนัดหยุดงานของโรงงานทอผ้ากรุงเทพฯ ที่บาง=ซ่อน และที่สำคัญก็คือ การนัดหยุดงานที่โรงงานฮารา ย่านตรอกจันทร์ และการนัดหยุดงานของโรงงานฮารานี้เองได้สร้างประวัติศาสตร์ของชนชั้นกรรมกร จากการที่กรรมกรนัดหยุดงานและยึดโรงงานอยู่นานถึง 5 เดือน แปรเปลี่ยนเป็นโรงงานของนายทุนเป็นโรงงานสามัคคีกรรมกร และผลิตกางเกงยีนส์ออกมาขายราคาถูก เพื่อประทังชีวิตของกรรมกรหญิงระหว่างการต่อสู้ ในระหว่างการต่อสู้นี้ มดกับพี่ตุ๊ก (สุพร) จะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในฝ่ายนักศึกษา ในฝ่ายของกรรมกร ก็จะมีพี่ชอเกียง แซ่ฉั่ว เป็นประธาน และ นิยม ขันโท เป็นผู้ช่วย มดกับกลุ่มกรรมกรฮาราได้ขายหุ้นโรงงานสามัคคีกรรมกร ให้ประชาชนทั่วไปซื้อ หุ้นละ 30 บาท ในที่สุด กรรมกรฮารากลายเป็นตัวอย่างของโรงงานจัดตั้งที่กรรมกรมีความตื่นตัวสูงมาก จนฝ่ายอำนาจรัฐก็ต้องปราบปราม โดยการใช้กำลังเข้าจับกุมกรรมกร และยึดโรงงานคืนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2519 ในกรณีการต่อสู้โรงงานฮารานี้เอง ที่มดถูกจับกุมและโคนคดีเป็นครั้งแรก

ราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2519 มดได้เข้าร่วมการต่อสู้ในการประท้วงที่โรงงานทอผ้าไทยเกรียงย่านพระประแดง ซึ่งเป็นการประท้วงใหญ่ของกรรมกรหญิงจำนวนนับพันคน ในขณะนั้น สถานการณ์ที่เริ่มแหลมคมมากขึ้น เพราะกลุ่มอันธพาลการเมืองเริ่มที่จะคุกคามการต่อสู้ของฝ่ายประชาชย กรรมกรหญิงจะต้องตั้งหน่วยรักษาความปลอดภัย และมีการจัดเวรยาม แต่มดและกลุ่มนักศึกษาที่ได้เข้าไปทุ่มเทช่วยเหลือกรรมกร ก็ไม่ท้อถอย สิ่งที่เห็นได้เสมอสำหรับมด ก็คือ ความทุ่มเทในการทำงาน การคิดที่เป็นระบบ การประสานตัวเข้ากับมวลชนได้ดี และความสามารถในการเป็นผู้นำการต่อสู้ การต่อสู้ร่วมกับชนชั้นกรรมกร ทำให้มดดูจะเป็นหญิงแกร่งที่เป็นแบบอย่างที่ดีคนหนึ่ง จึงน่าจะสรุปได้ว่า ท่วงทำนองแบบชนชั้นกรรมาชีพ ก็คือท่วงทำนองแบบมด-วนิดา นี้เอง

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกล้อมปราบ มดกับเพื่อนกลุ่มผู้หญิงจำนวนหนึ่ง ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนเช้าตรู่ แต่นับว่าโชคดีที่หนีออกมาได้ก่อน จึงรอดพ้นจากการถูกจับกุม และหลังจากที่เกิดการรัฐประหาร 6 ตุลาอันนำมาซึ่งการฟื้นฟูเผด็จการ มด กับสมาชิกกลุ่มผู้หญิงจำนานมาก และ กรรมกรฮาราจำนวนหนึ่ง ก็เดินทางเข้าสู่เขตป่าเขาเพื่อเข้าร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พี่ตุ๊ก มด อุษา กับกรรมกรฮาราจำนวนหนึ่งเดินทางไปยังสงขลาเขต 2 ป้อมเพ็ชร ซึ่งเป็นเพืื่อนชายเป็นคนรักของมด เดินทางขึ้นเขตป่าเขาที่เขตสามจังหวัด (พิษณุโลก-เพ็ชรบูรณ์-เลย) ปรากฏว่าป้อมเพ็ชร (สหายสวัสดิ์) เสียชีวิตในการต่อสู้ที่เขตป่าเขาที่เขตพิษณุโลก-อุตรดิษถ์ เมื่อราว พ.ศ. 2522

มดได้ใช้ชีวิตต่อสู้อยู่ในป่านานกว่า 3 ปี จนเมื่อขบวนการปฏิวัติเริ่มเสื่อมสลาย มดออกจากป่า กลับมาเรียนหนังสือต่อ และย้ายมาเรียนจนจบคณะรัฐศาสตร์ แต่เป็นช่วงเวลาที่พ่อถูกจับ ถูกฟ้องล้มละลาย เพราะไปเซ็นเช็คค้ำประกันให้กับเพื่อน มดและพี่น้องคนอื่นต้องช่วยทำงานหาเงินมาใช้หนี้ มดทำงานทุกอย่างตั้งแต่เป็นแม่ค้าหาบเร่ เป็นไก๊ด์บริษัททัวร์ ขายประกันชีวิต เพื่อหาเงินให้กับครอบครัว พอมรสุมในครอบครัวผ่านไป มดในวัยสามสิบต้นๆ ผู้มีแววจะประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ ได้ตัดสินใจละทิ้งความสุขสบายส่วนตัว กลับไปทำงานกับคนยากคนจนตามความเชื่อ ตามอุดมคติอีกครั้งหนึ่ง

มดกลับมาทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยทำงานด้านชาวนาและร่วมเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างเขื่อน โดยเข้าร่วมกับสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอิสาน (สกยอ.อิสาน) ร่วมต่อสู้กับชาวบ้านในกรณีคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ขณะที่ขบวนการประชาชนในกรุงเทพฯกำลังเริ่มประท้วงกรณี พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี มดก็นำชาวบ้านปากมูนมาประท้วงเช่นกัน แต่เมื่อกระแสการประท้วงรุนแรงมากขึ้น ชาวบ้านปากมูลจึงเดินทางกลับไปก่อน สำหรับ มดและเพื่อน เช่น ไพรินทร์ วัชรี กาญจนา สุนีย์ ได้เข้าร่วมการประท้วงสุจินดา และเหตุการณ์นี้ได้ขยายเป็นการต่อสู้พฤษภาประชาธรรม ที่ทำให้ พล.อ.สุจินดา สิ้นอำนาจในที่สุด

ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 มด ก็ยังคงร่วมกับชาวบ้านปากมูนประท้วงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอย่างรุนแรง ในที่สุด มด ถูกรัฐบาลชวน หลีกภัย จับกุมดำเนินคดี ต้องเดินทางขึ้นลงกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เพื่อขึ้นศาลอยู่หลายปี ในระหว่างนี้ มดได้ร่วมกับ บำรุง คะโยธา และผู้ปฏิบัติงานฝ่ายชาวนาอีกหลายคน แยกตัวจากสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอิสาน แล้วตั้งสมัชชาคนจนขึ้น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งในระยะนี้ มดได้มีส่วนเข้าไปให้คำปรึกษาชาวบ้านที่ต่อสู้กับความไม่ชอบธรรม ในอีกหลายกรณี เช่น กรณีท่อก๊าซ ปตท.ที่กาญจนบุรี กรณีท่อก็าซ ไทย-มาเลย์ ที่อำเภอจะนะ สงขลา กรณีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ่อนอกและบ้านกรูด กรณีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนสาละวิน เขื่อนสิรินธร ไปจนถึงบรรดาผู้ป่วยจากมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ

แต่ กระนั้น การต่อสู้ที่เป็นแกนกลางของสมัชชาคนจน ก็คือ การต่อสู้ในกรณีเขื่อนปากมูล มดกับชาวบ้านได้ร่วมกันตั้งหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนที่สันเขื่อน และต่อมาได้มาตั้งสาขาของหมู่บ้านที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ในที่สุด รัฐบาลชวน หลีกภัย ก็ตัดสินใจกวาดล้างหมู่บ้านแม่มูน ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งชาวบ้านจำนวนมากถูกจับกุม วันนั้นเป็นวันอาสาฬหบูชา จำได้ว่าหนังสือพิมพ์ข่าวสดพาดหัวว่า "ชวนทมิฬ กวาดจับคนจนวันพระ"

ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร การต่อสู้ของชาวบ้านก็บรรลุผลในขั้นประนีประนอม โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ให้ปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลเป็นเวลา 8 เดือน เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และกำหนดให้เปิดประตูระบายน้ำเป็นเวลา 4 เดือน ในระหว่างพฤษภาคมถึงสิงหาคมในช่วงที่ปลาจากลำน้ำโขงอพยพเข้าสู่ลำน้ำมูล เพื่อเกื้อกูลให้แก่วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านของประชาชนริมฝั่งน้ำมูล ในขณะนั้น มดเริ่มล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งที่เต้านม และอาการป่วยลุกลามมากขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นตันมา จนทำให้เธอไม่สามารถที่จะทำงานเคลื่อนไหวได้เช่นเคย ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านน้องชาย ในที่สุด มดจากไปในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550

หลังการสูญเสีย วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ หญิงนักสู้ สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา แห่งวงคาราวาน ก็ได้จรดปากกาเขียนกวีนิพนธ์ แด่ วนิดา ขึ้นมา เพื่อเป็นการไว้อาลัย มีใจความดังนี้ http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=368


สมพร จันทรชัย

http://www.firelamtung.com

http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=492


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น