ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ซัดแหลก!! นำอาคารไปรษณีย์บางรัก'ยุค ร.7' ทำโรงแรมหาเงิน

ซัดแหลก!! นำอาคารไปรษณีย์บางรัก'ยุค ร.7' ทำโรงแรมหาเงิน

Pic_92960

โปรดอย่าหาเงินด้วยการ "ทำลาย" ประวัติศาสตร์ชาติไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนำทีมวอนระงับโครงการ ด้านนักวิชาการ สถาปนิก ซัดแหลกแนวความคิดนำอาคาร "ไปรษณีย์บางรัก" สมัย ร.7 ซึ่งมีสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่ามากมาย ไปแปลรูปทำ "โรงแรม" แค่ป้องกันการขาดทุน...

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิหลายฝ่ายแสดงความไม่เห็นด้วยต่อประเด็นที่คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ไปรษณีย์ไทยมีดำริว่า น่าจะนำ "อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก" ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 70 ปี เป็นสถาปัตยกรรมเก่าสมัยรัชกาลที่ 7 อันทรงคุณค่าไปจัดทำ "โรงแรมขนาดเล็ก" ไม่เกิน 100 ห้อง พร้อมทั้งมีโซนการค้าอยู่่ในนั้นด้วย โดยอ้างว่าเพื่อหารายได้ ป้องกันการขาดทุนนั้น ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้กันอย่างเผ็ดร้อน ...นนน



นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวผ่าน ไทยรัฐ ออนไลน์ ว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย และน่าตกใจมากๆ ซึ่งหากเป็นไปได้ ก็อยากจะขอความร่วมมือกับคนคิดโครงการนี้ว่า เนื่องจากอาคารไปรษณีย์กลางที่บางรัก เป็นตึกที่เก่าแก่ มีคุณค่า อีกทั้งยังมีความเป็นมาอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไทย ก็อยากให้ทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง

"จริงๆ แล้วอาคารเก่าแก่เหล่านี้ถึงแม้มันจะไม่สามารถทำเป็นธุรกิจ เพื่อประกอบการเป็นผลกำไรได้ แต่อย่าลืมว่ามันมีคุณค่าทางจิตใจมากๆ สามารถทำให้คนได้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นไปเป็นมาทำให้รู้ประวัติศาสตร์ของ ชาติไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ในระยะหลังๆ ผมสังเกตว่าทำไมเดี๋ยวนี้ในประเทศไทยไม่ค่อยเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์กัน เลย แต่กลับหันมาทำเป็นธุรกิจกันหมด อันนี้จะต้องสร้างความสำนึกของคนให้เห็นสิ่งเหล่านี้ เพราะว่าเมืองนอก อย่าว่าแต่เป็นอาคารเก่าเลย แม้แต่สะพานเก่าแก่ที่สร้างมาเป็นร้อยปี เมื่อเขาจะสร้างสะพานใหม่ แต่เขาก็ยังอนุรักษ์สะพานเก่าเอาไว้ ซึ่งอาคารเหล่านี้ อยู่ใจกลางเมืองผมก็อยากให้อนุรักษ์เอาไว้ ดังนั้นจึงอยากจะเรียกร้องให้ทบทวนแนวความคิดนี้ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันมีคุณค่าทางจิตใจ แบบที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้แน่นอน"

ด้าน อ.วศิน ธรรมานุบาล หัวหน้าสาขาวิชาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) กล่าว ว่า ตนไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ เพราะดูจากจุดมุ่งหมายแล้วทางบอร์ดไปรษณีย์ต้องการที่จะหารายได้มากกว่า ซึ่งขณะนี้ไปรษณีย์กำลังหลงประเด็นว่าหน้าที่ของเขาคืออะไร

"จริงๆ คุณมีหน้าที่ให้บริการการสื่อสารไม่ใช่หรือ การจะอ้างว่าเอาทรัพย์สินที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาหารายได้ มันคงไม่ใช่เพราะความสำคัญของสถานที่เหล่านี้มีมากกว่าการเอามาทำเป็นโรงแรม ควรหารายได้ด้วยวิธีอื่น อย่าคิดถึงผลตอบแทนเป็นตัวเงินอย่างเดียว ไปรษณีย์ควรตอบแทนด้านการให้ความรู้ดีกว่าไหม อย่างเช่น เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เพราะจะเอาโบราณสถานมาวัดกำไรขาดทุนผมว่าไม่ถูกต้องเอาผล กำไรในการพัฒนาคนในชาติแทนดีกว่า ตึกอาคารเก่าล้วนมีเรื่องราว มีความเป็นมา สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสถานที่นั้นๆ ได้ ซึ่งถ้าคนลงทุนเขาครอบครองอาคารนั้นถูกกฎหมาย ผมก็เฉยๆ นะ แต่ถ้าเป็นของราชการแล้วเอามาทำแบบนี้ไม่เหมาะสม ซึ่งการสร้างโรงแรม ไปรษณีย์ก็ทำเองไม่ได้อยู่แล้ว ก็ต้องจ้างบอร์ดบริหารมาอยู่ดี เรื่องนี้ต้นทุนกำไรเขาคิดเป็นหลักอยู่แล้ว และคนทั่วไปไม่มีสิทธิ์เข้าไปใช้บริการได้ ผมมองว่าตอนนี้ไปรษณีย์กำลังเอาความสำคัญของประวัติศาสตร์ที่สร้างมาทำ ประโยชน์ให้กับคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นไม่แฟร์และได้ไม่คุ้มเสีย"

หัว หน้าสาขาวิชาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เอแบค ยกตัวอย่างว่า เท่าที่ทราบทุกคนที่มีตึกเก่าเขาก็จะอนุรักษ์เอาไว้อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นบริษัทเอกชนแท้ๆ ยังอนุรักษ์ตึกเก่า เราก็ควรจะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกศูนย์การเรียนรู้ของประเทศดีกว่า ซึ่งมันก็จริงที่ค่าใช้จ่ายมันค่อนข้างสูง แต่ว่าคุณก็ต้องหาวิธีว่าเอาเงินตรงไหนมาสนับสนุน ไม่ใช่เห็นว่าขาดทุนหลายร้อยล้าน แล้วเอาไปทำอย่างอื่นดีกว่า ในขณะที่คุณภาพของคนในชาตินั้นลดลง ประเทศก็ไม่เจริญ คุณก็ต้องขายสมบัติกินแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ 

ด้าน นายจรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือ ซูโม่ตู้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสถาปัตยกรรม กล่าว ไม่เห็นด้วยกับการทำโรงแรมขึ้นมา เพื่อป้องกันการขาดทุนของไปรษณีย์ไทย

"ผม แนะนำวิธีแก้การขาดทุนง่ายๆ ก็คือหน่วยงานไหนไม่สามารถทำกำไร หรือเอาตัวไม่รอดต้องยุบไปตามธรรมชาติไม่ใช่ดื้ออยู่แล้วขายยาบ้าเอามาผ่อน ไม่ได้ ซึ่งความเก่าแก่ของอาคารแบบนี้ต้องควรอนุรักษ์เอาไว้ก่อน คำถามผมก็คือว่าวันนี้ประเทศไทยไม่ได้เหลือพื้นที่น้อยขนาดนั้นเชียวหรือ จำเป็นแค่ไหนที่ต้องไปทำลายของมีคุณค่าขนาดนั้น ซึ่งถ้าอยากจะทำโรงแรมจริงๆ แนะนำให้สร้างโรมแรมคล่อมอาคารเก่าแก่นี้เอาไว้เหมือนกับประเทศทางสแกนดิเน เวียนเขาทำคือต้องเดินเข้าไปถึงจะเห็นเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ถามว่าสนับสนุนแนวความคิดนี้ไหม ไม่สนันสนุนแน่นอน"

เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหน หากจะแปลงโฉมแค่ภายในของอาคารไปรษณีย์บางรักเป็นโรงแรม โดยปล่อยให้ภายนอกคงเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดังเดิม

"คำถาม ผมก็เกิดขึ้นอีกว่าการรีโนเวทแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต้องมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ชั้นสูงพอสมควร ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ ถึงแม้จะบอกว่าทำแค่ภายในก็ยังต้องรักษาสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าเอาไว้ เหมือนกัน ปูนปั้นต่างๆ ที่สมัยนี้เราหาไม่ได้แล้ว ที่สำคัญถ้าบอกว่าจะรีโนเวทภายในหมายถึงการที่ไม่ต้องทุบอะไรเลยจะทำอย่าง นั้นจะดี มากๆ ผมมองว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย ก็อยากจะฝากเอาไว้ให้ทุกๆ คนคิดว่าการทำความเจริญทางวัตถุอยู่กลางธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์เอาไว้มันจะ มีประโยชน์อะไร สิ่งนี้คือสิ่งที่ทุกคนต้องตอบตัวเอง"

ผู้สื่อข่าว รายงานด้วยว่า ประวัติโครงการสร้างตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลขแห่งใหม่นี้ ดำริขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม แต่ไม่บรรลุเป็นผลสำเร็จบังเอิญรัฐบาลต้องกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจจึงเป็น อันระงับไป จนถึงพุทธศักราช 2477 ในสมัยที่หลวงโกวิทอภัยวงศ์  รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ก็ได้รื้อฟื้นโครงการสร้างตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลขขึ้นพิจารณาอีกเป็น ครั้งที่ 3  และได้รายงานขออนุมัติให้กระทรวงเศรษฐการตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ให้มีหน้าที่เร่งรัดและพิจารณาโครงการสร้างตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ สำเร็จลงโดยรวดเร็วอย่างจริงจัง เมื่อคณะกรรมการได้ตกลงในเรื่องแบบแผนผังตลอดจนรายละเอียดต่างๆ เสร็จ

หลัง จากนั้นจึงได้เลือกพระสาโรชรัตนนิมมานก์ หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นสถาปนิก และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ เลือกนายหมิว อภัยวงศ์ เป็นผู้ช่วยสถาปนิก กับเลือกนายเอ็ช เฮอรมัน เป็นวิศวกร ทั้งนี้ ได้เริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2478 แล้วเสร็จส่งงานเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2481  รวมเป็นเวลาก่อสร้าง 3 ปี  5 เดือนเศษ

สำหรับการออกแบบ อาคารแห่งนี้เป็นรูปตัวที (หมายถึงตัวT)  สูง 4 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น  ส่วนหน้ากว้าง 103.80 เมตร  ลึก 38.52 เมตร  ส่วนหลัง  กว้าง 22 เมตร ลึก 96 เมตร ตัวอาคารด้านหน้ามีการแบ่งความยาวออกเป็น 5 ส่วน โดยเน้นความสำคัญของตำแหน่งศูนย์กลาง โดยให้มุขหน้าบริเวณกึ่งกลางของอาคารมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีการประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑ ที่บริเวณมุมหน้าทั้ง 2 ด้านของมุขหน้า ซึ่งเป็นเครื่องประดับอาคาร ที่ได้รับความนิยมในงานสถาปัตยกรรมในยุคนั้นก่อสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 ปัจจุบันมีอายุการใช้งานประมาณ 70 ปี

ทั้ง นี้ อาคารแห่งนี้ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมโมเดิร์น (Modern Architecture) ตามแนวทางของศิลปะใน ยุค Neo-Classicism ผสม Functionalism เน้นการออกแบบที่มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมาลดทอนการประดับประดา โดยใช้เส้นตรงและระนาบเข้ามาประกอบ ซึ่งผู้ออกแบบปูนปั้นประดับอาคาร ปณก. ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือ ศาสตราจารย์ ศิลป์  พีระศรี ศิลปินผู้บุกเบิกงานประติมากรรมแบบสากลในประเทศไทย  สมัยรัชกาลที่ 8   ซึ่งมีคติการออกแบบสถาปัตยกรรมยุคนั้นจะต้องมีรูปปูนปั้นประกอบเสมอ  เช่น  ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สนามกีฬาแห่งชาติ นอกจากนี้ภายในยังมีรูปปูนปั้นที่ยังคงความสวยงามอย่างมากมาย

นอกจาก นี้ ยังมีข้อมูลอีกว่าเมื่อ 6 ปีก่อน กรมศิลปากร ได้มีหนังสือที่ วธ.0407/1480  ลงวันที่ 9 เมษายน 2547  แจ้งว่าปัจจุบันอาคาร  ปณก. ถือเป็นโบราณสถาน  ตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  พ.ศ.2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535)  แต่กรมศิลปากร ยังมิได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีกด้วย.

http://www.thairath.co.th/content/life/92960


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น