ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ย้อนรอยอดีตของ อาคารไปรษณีย์กลาง

ย้อนรอยอดีตของ อาคารไปรษณีย์กลาง

Pic_93138

ได้ รับเสียงวิจารณ์กัน "ขรม" ไปทั่วเมือง แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเดินหน้าต่อหรือถอยหลังกับการนำอาคารไปรษณีย์ กลางบางรัก ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ "รัชกาลที่ 7" มาดัดแปลงเป็นโรงแรมเพื่อหารายได้ให้กับไปรษณีย์ไทย วันนี้ ไทยรัฐออนไลน์ ขอพาไปซึมซับความเก่าแก่และเสน่ห์ด้วยการย้อนรอยอดีตของอาคารไปรษณีย์กลาง กันแบบเต็มอิ่ม...

ตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข  ตำบลบางรัก

ตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข ตำบลบางรัก

การ ไปรษณีย์ในประเทศไทยได้เริ่มจัดให้มีขึ้นโดยกงสุลอังกฤษ ที่ทำการแห่งแรกได้ตั้งขึ้น ณ สถานกงสุลอังกฤษ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร จนกระทั่งพ.ศ. 2424 รัฐบาลไทยเห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องเข้าควบคุม จึงเริ่มดำริเป็นขั้นเตรียมการตั้งแต่ปีนั้น จนถึงวันที่ 4 ส.ค. 2426 จึงได้เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขในพระนคร  อันเป็นของรัฐบาลไทยขึ้นเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้อาคาร ซึ่งตั้งอยู่ริมลำน้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เป็นสถานที่บัญชาการ

ตราไปรษณียากร  ประดับภายในห้องโถงใหญ่ ชั้นล่าง  ทั้ง 4 ด้านด้านละ 2 รูป  รวม 8 รูป

ตราไปรษณียากร ประดับภายในห้องโถงใหญ่ ชั้นล่าง ทั้ง 4 ด้านด้านละ 2 รูป รวม 8 รูป


ต่อมา พ.ศ. 2428 จึงได้ขยายกิจการไปรษณีย์โทรเลขไปถึงตามหัวเมือง จนกล่าวได้ว่าการสื่อสารภายในประเทศดำเนินไปด้วยดี จนถึง พ.ศ. 2430  รัฐบาลไทยได้มีโอกาสเข้าสัญญาสากลไปรษณีย์โทรเลขขยายการติดต่อกับนานาประเทศ ทั่วไป 

การไปรษณีย์โทรเลข มีความมั่นคงและเจริญขึ้นโดยลำดับ จนถึง พ.ศ. 2470 ซึ่งคิดเวลาตั้งแต่เริ่มงานไปรษณีย์โทรเลขมาได้ 44 ปี  รู้สึกว่าสถานที่ทำงานที่ปากคลองโอ่งอ่างไม่เหมาะสม จึงได้หาทางเจรจาเพื่อทำสถานที่ทำการใหม่ ในที่สุดก็ตกลงได้สถานที่ที่สถานทูตอังกฤษเดิมคือที่บางรัก  โดยสถานทูตอังกฤษย้ายไปอยู่ที่เพลินจิต  เป็นอันว่ากรมไปรษณีย์โทรเลขได้ย้ายมาอยู่ ณ แหล่งกำเนิดเดิมนั่นเอง ในเวลาต่อมา รัฐบาลเล็งเห็นว่า สถานทูตอังกฤษเดิม ไม่ได้สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่ทำการ จึงไม่เหมาะสม ทั้งทางอนามัยและความสะดวกในการปฏิบัติงานอันเป็นสาธารณูปโภค

ตราไปรฯ พระบรมรูปทรงม้า  พิมพ์ในปี 2451

ตราไปรฯ พระบรมรูปทรงม้า พิมพ์ในปี 2451


เมื่อ เป็นเช่นนี้  โครงการสร้างตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลขใหม่จึงได้เริ่มดำริขึ้นเป็นครั้ง แรก โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2471 แต่ไม่บรรลุเป็นผลสำเร็จบังเอิญรัฐบาลต้องกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจจึงเป็น อันระงับไป จนถึง พ.ศ. 2477 ในสมัยที่หลวงโกวิทอภัยวงศ์  รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ก็ได้รื้อฟื้นโครงการสร้างตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลขขึ้นพิจารณาอีกเป็น คำรบที่สาม และได้รายงานขออนุมัติให้กระทรวงเศรษฐการตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ให้มีหน้าที่เร่งรัดและพิจารณาโครงการสร้างตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ สำเร็จลงโดยรวดเร็วอย่างจริงจัง 

เมื่อคณะกรรมการได้ตกลงในเรื่อง แบบแผนผังตลอดจนรายละเอียดต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้เลือกพระสาโรชรัตนนิมมานก์  หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม  กรมศิลปากร เป็นสถาปนิก และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ เลือกนายหมิว อภัยวงศ์ เป็นผู้ช่วยสถาปนิก  กับเลือกนายเอ็ช เฮอรมัน เป็นวิศวกร เริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2478 แล้วเสร็จส่งงานเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2481  รวมเป็นเวลาก่อสร้าง 3 ปี  5 เดือนเศษ

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ในชุดเวียนนา พิมพ์ในปี 2455

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ในชุดเวียนนา พิมพ์ในปี 2455


กรม ศิลปากร ได้มีหนังสือที่ วธ.0407/1480  ลงวันที่ 9 เม.ย. 2547  แจ้งว่าปัจจุบันอาคาร  ปณก. ถือเป็นโบราณสถาน ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535) แต่กรมศิลปากรยังมิได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

ตัว อาคารเป็นรูปตัว ที (T)  สูง 4 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น  ส่วนหน้ากว้าง 103.80 เมตร  ลึก 38.52 เมตร ส่วนหลัง กว้าง 22 เมตร ลึก 96 เมตร ตัวอาคารด้านหน้ามีการแบ่งความยาวออกเป็น 5 ส่วน โดยเน้นความสำคัญของตำแหน่งศูนย์กลาง โดยให้มุขหน้าบริเวณกึ่งกลางของอาคารมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีการประดับด้วยปูน ปั้นรูปครุฑ ที่บริเวณมุมหน้าทั้ง 2 ด้านของมุขหน้า ซึ่งเป็นเครื่องประดับอาคาร ที่ได้รับความนิยมในงานสถาปัตยกรรมในยุคนั้นก่อสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2483 ปัจจุบันมีอายุการใช้งานประมาณ 70 ปี

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ในชุดโสฬศ พิมพ์ในปี 2426

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ในชุดโสฬศ พิมพ์ในปี 2426


เป็น อาคารแบบสากลสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น (Modern Architecture)  ตามแนวทางของศิลปะในยุค Neo-Classicism ผสม Functionalism  เน้นการออกแบบที่มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ลดทอนการประดับประดา โดยใช้เส้นตรงและระนาบเข้ามาประกอบ

ตราไปรฯ  พระบรมรูปรัชกาลที่ 1  ในแสตมป์ชุดที่ระลึกงานสมโภชน์พระนคร 150 ปี พิมพ์ในปี 2475

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 ในแสตมป์ชุดที่ระลึกงานสมโภชน์พระนคร 150 ปี พิมพ์ในปี 2475


ประติ มากร ผู้ออกแบบปูนปั้นประดับอาคาร ปณก. คือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินผู้บุกเบิกงานประติมากรรมแบบสากลในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 8 ซึ่งมีคติการออกแบบสถาปัตยกรรมยุคนั้นจะต้องมีรูปปูนปั้นประกอบเสมอ เช่น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สนามกีฬาแห่งชาติ

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชการที่ 5  ชุดประชาธิปก  พิมพ์ในปี 2471

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชการที่ 5 ชุดประชาธิปก พิมพ์ในปี 2471


รูป ปูนปั้น ที่อาคารไปรษณีย์กลาง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือ ครุฑ ประดับที่มุมอาคารด้านหน้าทั้งสองข้าง ขนาดสูงกว่า  2 เท่าของคนจริง

ตราไปรฯ รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม  ในชุดวันชาติ  พิมพ์ในปี 2482

ตราไปรฯ รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม ในชุดวันชาติ พิมพ์ในปี 2482

 

ตราไปรฯ  พระบรมรูปรัชการที่ 5  ในชุดวันแจ้ง  พิมพ์ในปี 2448

ตราไปรฯ พระบรมรูปรัชการที่ 5 ในชุดวันแจ้ง พิมพ์ในปี 2448

ตราไปรฯ รูปครุฑพาห์ ในชุดอากาศไปรษณีย์  พิมพ์ในปี 2467

ตราไปรฯ รูปครุฑพาห์ ในชุดอากาศไปรษณีย์ พิมพ์ในปี 2467


การใช้อาคาร
ในยุคแรก ชั้นล่างส่วนหน้า เป็นที่รับฝากไปรษณีย์และโทรเลข ส่วนหลังเป็นที่ทำการคัดแยก ปิดถุงไปรษณีย์ส่งต่อแลกเปลี่ยนทั้งในและต่างประเทศชั้น 2 ด้านหลังเป็นห้องปฏิบัติการโทรเลข ชั้นอื่นๆ ใช้เป็นหน่วยงานของกรมไปรษณีย์โทรเลข

ห้องโถงประชาชน นอกจากจะใช้ในการรับฝากไปรษณียภัณฑ์ในสมัยก่อน จะมีการใช้ห้องโถง ปณก. สำหรับจัดงานสัปดาห์การเขียนจดหมาย โดยจัดนิทรรศการต่างๆ เกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์ให้ประชาชนเข้าชม แต่ในภายหลังได้ย้ายไปจัดสถานที่อื่นๆ แทนเนื่องจากสถานที่ไม่เพียงพอ

รูปแบบเคาน์เตอร์ที่ไปรษณีย์กลาง  ที่ใช้งานในอดีต

รูปแบบเคาน์เตอร์ที่ไปรษณีย์กลาง ที่ใช้งานในอดีต


จอม พลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงมีคุณูปการกับการไปรษณีย์ไทยอย่างล้นเหลือ จึงได้มีการสร้างพระอนุสาวรีย์เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ ณ บริเวณหน้าที่ทำการไปรษณีย์กลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมไปรษณีย์โทรเลขเดิม โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เคยสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข คือ ธนาคารออมสิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ขอให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบพระอนุสาวรีย์


พระอนุสาวรีย์ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

การ ออกแบบเป็นท่าประทับนั่งใกล้โต๊ะกลมมีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ เนื่องจากทรงโปรดหนังสือและตำราต่างๆ โดยออกแบบให้พระรูปจำลองอยู่บนเนินสูงเพื่อความสง่างาม สอดคล้องกับจารีตธรรมเนียมของคนไทย ที่มักจะเทิดทูนสิ่งที่เคารพไว้ในที่สูง รอบเนินมีต้นไม้เป็นส่วนประกอบ ขนาดพระรูปใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย

งบประมาณค่าก่อสร้าง กำหนดไว้ 600,000 บาท  เป็นค่าจัดทำองค์พระอนุสาวรีย์ 360,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 24 เดือน โดยมีคำจารึกพระนามที่แท่นฐานพระอนุสาวรีย์  "สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์  กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช" อธิบดีผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขพระองค์แรก พ.ศ.2426 – 2433"


พิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ มีขึ้นในวันที่ 4 ส.ค. 2526 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 100 ปีการไปรษณีย์ไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นผู้แทนพระองค์ ทรงเปิดพระอนุสาวรีย์

เกร็ดไปรษณีย์กลางบางรัก

"มี ผู้ถามนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ในการแสดงปาฐกถา เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2506 ว่า ในสมัยที่มีการ "คอรัปชัน"  การก่อสร้าง ที่เรียกกันล้อๆ ว่า "กินหินกินปูน" คือ ขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏว่ากรุงเทพฯ โดนทิ้งระเบิดสถานที่สำคัญหลายแห่ง แต่กรมไปรษณีย์โทรเลข ที่เรียกกันว่า ไปรษณีย์กลาง ซึ่งเป็นตึกใหญ่โตสูงตระหง่านที่สุดในย่านสุรวงศ์สี่พระยานั้นฝ่ายสัมพันธ มิตรจงใจทิ้งระเบิดลงมาหลายครั้ง แต่ไม่ถูกเลย พลาดไปบ้าง ระเบิดด้านบ้าง ลูกหนึ่งตกลงไปฝังด้านหน้าก็ปรากฏว่าด้านไม่ระเบิด ถึงบางคนเล่าลือว่ามีคนเห็นครุฑ 2 ตัวหน้าตึกบินขึ้นไปปัดระเบิด จึงมีผู้ไปถามนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น (สมัยเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ปี 2478–2484) ว่าลงของดีอะไรไว้หรือไม่อย่างไร นายควงฯ ก็ตอบ (ลงในหนังสือพิมพ์) ว่า มีซีคุณของดี เมื่อเวลาสร้างตึกนี้ ไม่มีใครไปกินกำไรสักสตางค์ แล้วนั่นไม่ใช่ของดีหรือ” 

(ที่มา:  สกุลไทยรายสัปดาห์, เวียงวัง  จุลลดา  ภักดีภูมินทร์)

เรียบเรียงข้อมูลจาก ไปรษณีย์ไทย
http://www.thairath.co.th/content/life/93138
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น