ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แม่น้ำโขง รอวันหายนะ

วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7157 ข่าวสดรายวัน


แม่น้ำโขง รอวันหายนะ


นุเทพ สารภิรมย์






"แม่ น้ำโขง" เป็นสายน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทางด้านพันธุ์ปลามากกว่า 1,200 ชนิด โดยเฉพาะช่วงที่สายน้ำที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยและลาว พบพันธุ์ปลามากกว่า 300 ชนิด และช่วงกัมพูชากับเวียดนาม อีกหลายร้อยกว่าชนิด

น้ำโขง จึงเป็นมรดกโลก สายนทีแห่งชีวิต อุษาคเนย์ ทั้งยังประโยชน์ต่อผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 100 ล้านคน ที่ล้วนแต่ต้องอาศัยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติจากแหล่งน้ำโขงทั้งสิ้น

แต่ขณะนี้แม่น้ำโขงกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก โดยเฉพาะจากเขื่อน และยังจะมีอีกหลายเขื่อนในอนาคต

ใน เวทีสัมมนาทางวิชาการแบ่งปันความรู้ จัดขึ้นโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเลย เขต 2 และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ จ.เลย ได้เชิญ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญปลาน้ำจืด มาบรรยายให้ข้อมูลถึงความสำคัญของสายนทีนี้

ดร.ชวลิตบรรยายว่าแม่ น้ำโขงมีความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศอย่างมาก โดยบางช่วงของแม่น้ำโขง มีความลึกประมาณ 100-200 เมตร ทำให้ระดับน้ำมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทั้งปี จึงมีความหลายหลายของพันธุ์ปลามากมาย มีทั้งปลาที่อาศัยอยู่ในช่วงน้ำลึก น้ำตื้นชายฝั่ง และอาศัยตามเกาะแก่งอีกหลายร้อยชนิด ในแต่ละปีจะค้นพบปลาพันธุ์ใหม่ประมาณ 3-10 ชนิด โดยในปีพ.ศ.2552 พบพันธุ์ปลาเพิ่ม 4 ชนิด คือ ปลาค้างคาวดอยตุง ปลากดขาว ปลาหลดงวงช้าง และปลาอีดแคระ



การ ขยายพันธุ์ปลาที่สำคัญอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงหน้าน้ำหลาก ปลาในแม่น้ำโขงจำนวนมากจะเริ่มอพยพว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์ วางไข่ และขยายพันธุ์ยังบริเวณต้นแม่น้ำสายรองต่างๆ เช่น แม่น้ำมูน หลังจากนั้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม ปลาทั้งหมดจะเริ่มอพยพกลับสู่ลำน้ำโขง ทั้งหมดถือเป็นวัฏจักรของวงจรชีวิตปลาอพยพในลำน้ำโขง

โดยเฉพาะปลาที่ สำคัญอันดับ 1 ของแม่น้ำโขงคือ "ปลาบึก" ปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศไทยสามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาบึกได้เป็นผลสำเร็จ แต่ยังคงมีข้อจำกัด เพราะในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อนำไปปล่อยลงแม่น้ำสายต่างๆ ในประเทศไทย แต่ปลาบึกไม่สามารถขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติในแม่น้ำสายอื่น นอกเหนือจากแม่น้ำโขงเท่านั้น ซึ่งยังคงเป็นปริศนาที่ต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป

อาจารย์ชวลิต อธิบายว่าลักษณะปลาบึก มีขนาดลำตัวยาว ด้านข้างแบน สีเทาปนดำบริเวณหลัง ด้านท้องใต้แนวเส้นข้างลำตัวลงเป็นสีเหลือง ส่วนล่างสุดจะเป็นสีขาวเงิน หัวใหญ่ จะงอยปากสั้นทู่ ตาเล็กอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก ปลาวัยอ่อนมีฟันอยู่บนขากรรไกร กินไรน้ำ ตัวอ่อนแมลง และลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร



เมื่อ เจริญวัยฟันจะหลุดหาย และหันกลับมากินพืชเป็นอาหาร พืชที่ปลาบึกชอบ คือ "ไก" สาหร่ายแม่น้ำโขง ปลาบึกอาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่าสิบเมตร ตัวใหญ่สุดน้ำหนักถึง 300 กว่ากิโลกรัม ยาว 2-3 เมตร สถานภาพขณะนี้ใกล้สูญพันธุ์

จากการศึกษาวงจรชีวิตของปลาบึกพบว่า โตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์ได้ต้องมีอายุเฉลี่ย 17 ปี เริ่มว่ายทวนน้ำขึ้นมาอาศัย และผสมพันธุ์ อยู่ที่บริเวณทางตอนเหนือของน้ำโขง ช่วง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อผสมพันธุ์เสร็จจะวางไข่จำนวน 100,000-300,000 ฟอง

ไข่ปลาบึก มีระยะเวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน ก่อนลอยตามลำน้ำ และไปหลบอาศัยที่โตนเลสาบที่กัมพูชา และปากอ่าวแม่น้ำโขง ที่ประเทศเวียดนาม เมื่อโตเต็มที่จะว่ายทวนน้ำโขงขึ้นไปดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ จากข้อมูลสถิติ จะมีปลาบึกเหลือรอดชีวิตว่ายทวนน้ำโขงขึ้นมาเจริญพันธุ์ได้ประมาณ 20 ตัวเท่านั้น

อาจารย์ชวลิตบอกว่า ดังนั้น หากมีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จะได้รับผลกระทบอย่างแรก ที่สำคัญพันธุ์ปลาจำนวนมากจะสูญพันธุ์ ล่าสุดสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงที่ประเทศจีน พบว่า ปลาตะเพียนกะพงน้ำจืดจีน สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว

ยิ่งหากมีการสร้างเขื่อนในตอนกลางของแม่ น้ำโขง ดังโครงการเขื่อนบ้านกุ่ม-ทาล้ง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี หรือบริเวณเหนือโตนเลสาบ เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับหายนะของแม่น้ำโขงแล้ว

"ปลา ชนิดแรกที่จะสูญพันธุ์คือ ปลายี่สก เทพา หว้า สะนากปากปิด ซวยเสาะ อีกทั้งในระยะ 20 ปีจากนั้น ปลาบึกจะสาบสูญไปจากน้ำโขง ส่วนโลมาหัวบาตร หรือโลมาอิรวดี ประมาณ 30 ตัว ที่เหลือยู่จะทยอยสูญพันธุ์แน่นอน" ดร.ชวลิต ระบุ

หลังจากนั้นปลาในแหล่งน้ำไหลในแม่น้ำโขงจะค่อยๆ สูญพันธุ์ จะเหลือแต่เพียงปลาที่อยู่ได้ในน้ำนิ่ง และสิ่งที่จะตามมาคือปลาจะเริ่มมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ส่วนสัตว์น้ำขนาดเล็ก อย่างแมงกะพรุน กุ้ง หอย ปู กบ อึ่ง สัตว์เลื้อยคลาน แมลงน้ำ ฟองน้ำ พืชน้ำ จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ

"ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเขื่อนกั้นสาย น้ำโขง จะมากทวีกว่าเขื่อนปากมูลหลายพันเท่า ดังนั้น เราควรต้องเร่งศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนอย่างจริงจัง เพื่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศยังคงอยู่กับสายน้ำโขง และเป็นมรดกทางธรรมชาติอยู่คู่มนุษย์ต่อไป" อาจารย์ชวลิต ทิ้งท้าย


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREEwTURjMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB3TkE9PQ==
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น