ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

The Code Book โดย Simon Singh โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4222  ประชาชาติธุรกิจ


The Code Book โดย Simon Singh


คอลัมน์ DOG EAR

โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org




หนังสือ แนวสารคดีประเภทหนึ่งที่ผู้เขียนชอบอ่านมากคือหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ที่เน้นประวัติชีวิตของนักคิด บริบททางประวัติศาสตร์ และผลพวงต่อสังคม ไม่ใช่ทำแต่ "ย่อย" ทฤษฎีหรือหลักวิชาเข้าใจยากให้คนทั่วไปเข้าใจเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ว่านักวิทยาศาสตร์หรือนักคณิตศาสตร์หัวกะทิจะเก่งกาจเหนือคนเดินดิน เพียงใด ชีวิตและงานของพวกเขาก็หาได้ลอยอยู่ในสุญญากาศเหมือนกับทฤษฎีในหัว หากได้รับอิทธิพลจากสังคมและส่งผลกระทบต่อสังคมตลอดมา

ในบรรดานัก เขียนภาษาอังกฤษจำนวนหยิบมือเดียวที่สามารถอธิบายวิทยาศาสตร์หรือวิทยาการ สาขาอื่นในบริบทของประวัติศาสตร์และสังคมได้อย่างมีชั้นเชิงไม่แพ้วรรณกรรม ชั้นดี ผู้เขียนเคยแนะนำ James Gleick, Bill Bryson และ Michael Lewis ในคอลัมน์นี้ไปแล้ว วันนี้ขอแนะนำ Simon Singh นักเขียนคนโปรดอีกคนหนึ่งที่มี

ผลงานไม่บ่อยนัก แต่ผลงานทุกชิ้นล้วนผสมผสานรายละเอียดทางเทคนิค เกร็ดประวัติศาสตร์ และเรื่องราวของตัวละครเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

Singh เล่าประวัติศาสตร์ของวงการรหัสลับ (cryptography) และความสำคัญต่อประวัติศาสตร์โลก ตั้งแต่อียิปต์โบราณถึงยุคอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีควอนตัม อย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยเกร็ดน่ารู้มากมายใน The Code Book หนังสือเล่มหนา (350 หน้าไม่นับภาคผนวก) ที่อ่านสนุกจนวางไม่ลง และในขณะที่อ่านก็จะซึมซับเรื่องที่ปกติเข้าใจยากเข้าไปโดยไม่รู้ตัว

Singh เปิดหนังสือเล่มนี้ด้วยแผนการของพระนางแมรีแห่งสกอตที่จะลอบสังหารพระนางอลิ ซาเบทที่หนึ่ง ราชินีอังกฤษในศตวรรษที่ 16 แต่แผนของพระนางแมรีล้มเหลวไม่เป็นท่าเมื่อเซอร์ Francis Walshingham ที่ปรึกษาของพระนางอลิซาเบทสามารถถอดรหัสแผนลับของพระนางแมรี ส่งผลให้พระองค์ถูกพิพากษาประหารชีวิตในข้อหากบฏ เมื่อเล่าเรื่องตื่นเต้นเรื่องนี้จบลง Singh ก็พาเราย้อนเวลากลับไปในอดีต ไปถึงหลักฐานการเข้ารหัสที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในอียิปต์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างทางเขาอธิบายวิธีการเข้ารหัสที่หลากหลายอย่างน่าทึ่งจากแทบทุกสมัย และแทบทุกทวีปทั่วโลก เช่น รหัสลับที่คู่รักสมัยวิกตอเรียนแอบซ่อนในโฆษณาย่อยเพื่อสื่อสารกันเพราะสมัย นั้นสังคมยังไม่ยอมรับการแสดงความรักอย่างเปิดเผย แผนที่ขุมทรัพย์ในถิ่นคาวบอยของอเมริกาที่ต้องแกะรหัสถึงจะอ่านรู้เรื่อง รหัสลับของอินเดียนแดงเผ่านาวาโฮที่ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงครามโลก ครั้งที่สอง แม้แต่รหัสลับที่ Arthur Conan Doyle คิดค้นสำหรับ The Adventures of the Dancing Men เรื่องสั้นนักสืบ Sherlock Holmes ชิ้นเอกของเขาก็ยังไม่วายถูก Singh นำมาถ่ายทอดอย่างสนุกสนานใน The Code Book

บทที่สนุกที่สุดในความเห็นของผู้เขียนคือบทที่ Singh ฉายภาพสงครามโลกครั้งที่สองจากมุมที่มันเป็น "สงครามระหว่างนักเข้ารหัส (codemakers) กับนักถอดรหัส (codebreakers)" ที่การถอดรหัสเป็นไปอย่างเร้าใจและมีบทบาทที่พลิกประวัติศาสตร์โลกมากที่สุด เขาอธิบายวิธีทำงานของ Enigma เครื่องถอดรหัสอันโด่งดังชื่อของกองทัพเยอรมนี อย่างมีชั้นเชิงจนแม้แต่คนอ่านที่เกลียดเลขยังเข้าใจ ถ้าวิชารหัสลับเป็นเด็กวัยกำลังโตสมัยที่พระนางแมรีถูกประหารชีวิต มันก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่สอง และมีส่วนสำคัญในการตัดสินความสำเร็จของทั้งสองฝ่าย Singh เล่าภารกิจที่หนักหนาสาหัสของนักวิเคราะห์รหัสฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องหาทาง ถอดรหัสของเยอรมนีให้ได้ ในสถานการณ์คับขันที่เยอรมนีกำลังจะมีชัย

เรื่องราวของรหัสลับในสงครามโลกครั้งที่สองและเรื่อง

สนุก ๆ อีกหลายเรื่องที่ Singh เล่าใน The Code Book ชี้ให้เห็นว่า ในภาวะสงคราม ความกลัวว่าจะพ่ายแพ้ต่อศัตรูเป็นแรงผลักสำคัญให้นักวิเคราะห์รหัสมุมานะหา ทางถอดรหัสจนสำเร็จ หลังสงครามจบลง ความรู้สึกอยาก "ลองดี" ของนักถอดรหัส กับความรู้สึก "ท้าดวล" ของนักออกแบบรหัส ก็ประกอบเป็นความเป็นปฏิปักษ์ฉันมิตรที่ผลักดันให้วงการนี้ก้าวหน้าอย่างต่อ เนื่อง ต่อมาเมื่อโลกเข้าสู่ยุคสังคมข้อมูลข่าวสารปลายศตวรรษที่ 20 แรงจูงใจหลักที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้าก็มีทั้งแรงจูงใจทางเศรษฐกิจและแรง จูงใจของผู้รักเสรีภาพที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัว ในยุคที่บริษัทแทบทุกแห่งพึ่งพาอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมและธุรกิจ พวกเขาต้องการรหัสลับที่มีความปลอดภัยสูงมากเพื่อรับประกันว่าความลับจะไม่ รั่วไหลไปอยู่ในมือของแฮกเกอร์ คู่แข่ง หรือหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ รัฐบาลต้องการรหัสลับที่มีความปลอดภัยสูงกว่านั้นอีกด้วยเหตุผลด้านความมั่น คง ส่วนคนธรรมดาก็อยากเข้ารหัสเหมือนกันเพื่อปกป้องการสื่อสารประจำวันให้เป็น ข้อมูลส่วนตัวจริง ๆ ในสังคมเสรี (ชาวเน็ตไทยจะยังไม่รับรู้เรื่องนี้กันเท่าที่ควร) สำหรับด้านถอดรหัส คนที่อยากหาวิธีถอดรหัสก็คือบริษัทที่อยากล้วงความลับคู่แข่ง รัฐบาลที่อยากทำลายเครือข่ายการก่อการร้าย และแฮกเกอร์ที่อยากแฮกข้อมูลไปขายหรือทำเพื่อความสะใจของตัวเอง จะได้ไปโม้ให้เพื่อนชาวแฮกเกอร์ฟังได้ว่า

ฉันแฮกเว็บนั้นเว็บนี้ได้นะ

ด้วย เหตุนี้ การต่อสู้ระหว่างนักเข้ารหัสกับนักถอดรหัสจึงดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง และการต่อสู้นี้เองที่กระตุ้นการประดิษฐ์คิดค้นรหัสลับใหม่ ๆ ที่แข็งแกร่งกว่าเดิม Singh อธิบายรหัสลับยุคอินเทอร์เน็ตอย่างสนุกสนานและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะหนึ่งบทในหนังสือที่ว่าด้วยกำเนิดและวิธีทำงานของ PGP (ย่อมาจาก Pretty Good Privacy) วิธีเข้ารหัสและยืนยันตัวตนที่คิดค้นในปี 1991 โดย Phil Zimmerman และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากผู้ใช้เน็ตสืบมาจนปัจจุบัน

ใน บทสุดท้ายของหนังสือ Singh อธิบายหลักฟิสิกส์ที่อยู่เบื้องหลังรหัสลับควอนตัม สาขารหัสใหม่เอี่ยม ได้ดีจนใครที่ไม่เคยเข้าใจควอนตัมฟิสิกส์จะถึงบางอ้อ บทเดียวใน The Code Book ที่ผู้เขียนรู้สึกว่ามีรายละเอียดเยอะเกินไปและน่าเบื่อไปหน่อย ถึงแม้ว่าประเด็นหลักจะน่าสนใจ คือบทที่ Singh ออกนอกเรื่องไปพูดถึงภาษา เริ่มจากการใช้ภาษาอินเดียนแดงเผ่านาวาโฮสร้างรหัสลับให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่สอง วกไปเข้าเรื่องภาษาโบราณต่าง ๆ อย่างละเอียด ทำให้รู้สึกอยากรีบอ่านให้จบ

ไว ๆ จะได้กลับไปฟัง Singh เล่าเรื่องรหัสลับต่อ

ถ้า คุณอยากเข้าใจว่าความปรารถนาของมนุษย์ที่จะพิทักษ์ความลับและความเป็นส่วน ตัวได้สะท้อนให้เห็นผ่านรหัสลับอย่างไรตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน The Code Book ก็เป็นหนังสือที่ดีที่สุดที่จะตอบคำถามนี้และคำถามอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน Singh เป็นนักเขียนที่มีพรสวรรค์อย่างยิ่งในการอธิบายกฎคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียาก ๆ ให้เข้าใจง่าย และอธิบายนิสัยและชีวิตของตัวละครสำคัญ ๆ ในประวัติ ศาสตร์รหัสลับได้อย่างมีชีวิตชีวา นอกจากจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับรหัสลับที่ดีอย่างที่ผู้เขียนไม่คิดว่าจะมีทาง เขียนได้ดีกว่านี้อีก The Code Book ยังจะทำให้คุณเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าอีเมล์ส่วนตัวนั้น "ส่วนตัว" แค่ไหน และหนังสือสารคดีที่สามารถบรรลุจุดสมดุลขั้นยากระหว่างคำอธิบายทางเทคนิคกับ การเล่าเรื่องราวน่าฟังนั้นทำแบบนี้ได้ดีเพียงใด :D

หมายเหตุ : The Code Book ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกมีรหัสลับ 10 ชิ้นท้ายเล่มให้คนอ่านลองถอดชิงรางวัล 10,000 ปอนด์ อ่านเรื่องราวของทีมมือสมัครเล่นจากสวีเดนที่ถอดรหัสสำเร็จได้ที่ http://www.codebook.org/ (หน้าพิเศษ D-Life)


หน้า 14
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02dlf12280653&sectionid=0225&day=2010-06-28
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น