ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักสูตรข้าว ห้องเรียนชีวิต

วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7157 ข่าวสดรายวัน


หลักสูตรข้าว ห้องเรียนชีวิต





"ปัญหา ใหญ่ของเด็กที่นี่ คือไม่เคยเรียนรู้วิถีชีวิตของตัวเอง ไม่รู้จักการทำนา ทำไร่ ทำเกษตร แต่จะให้ไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ก็เป็นไปได้ยาก เพราะขาดเงินสนับสนุน เมื่อจบออกมาก็เป็นเพียงชนชั้นแรงงานที่ไปทำงานต่างถิ่น เราก็มาคิดว่า หากเด็กจบออกมาน่าจะมีวิชาความรู้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการทำงานได้ จึงเป็นที่มาของการทำหลักสูตรข้าว"

ชนินทร์ญา คำดี หัวหน้าโครงการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอย่างมีความสุขโดยการบูรณาการ วัฒนธรรมและวิถีชุมชน กล่าวถึงที่มาในการนำ "หลักสูตรข้าว" มาใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลศูนย์พลาญข่อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งได้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้ให้งบประมาณสนับสนุน

ชนินทร์ญา เล่าว่า ก่อนหน้านี้ โรงเรียนพลาญข่อยมีหลักสูตรข้าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเกษตรเพื่อชีวิตอยู่ แล้ว แต่ยังไม่เป็นระบบมากนัก จึงนำโครงการมาออกแบบเพิ่มเติม โดยอาศัยองค์ความรู้จากท้องถิ่น มาประยุกต์ให้เป็นหลักสูตรข้าวที่ใช้ได้จริง

หลักการคือ การบรรจุคำว่า "ข้าว" ในมิติต่างๆ ลงในการเรียนการสอนของโรงเรียน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ บางครั้งเด็กอาจได้เรียนจากผู้รู้ เช่น ผู้อาวุโสในชุมชน วิชาศิลปะ อาจมีศิลปะจากเมล็ดข้าว หรือวิชาภาษาอังกฤษ เด็กๆ จะได้เรียนรู้คำศัพท์จากข้าวในมุมต่างๆ โดยมีแปลงนาเป็นห้องเรียน และเป็นการเรียนจากวัตถุดิบจริง



ด้าน อาจารย์สมบัติ เหสกุล นักวิชาการอิสระ ในฐานะผู้ติดตามโครงการวิจัยและนวัตกรรมของ สสส. ให้ทรรศนะว่า จุดเด่นของโครงการนี้ คือความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน และสามารถนำไปต่อยอดได้ โดยให้บุคลากรจากชุมชน เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน มาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร

คำว่าหลักสูตรข้าว ได้ผ่านการคิด 2 ระดับ ระดับแรก คือกระบวนการเตรียมการปลูก จนถึงระดับที่ 2 คือการเก็บเกี่ยวและการค้า หลักสูตรจะแจกแจงว่า นักเรียนชั้นนี้จะได้เรียนอะไรเกี่ยวกับข้าว เช่น ภาษาไทย จะมีวรรณคดีอะไรเกี่ยวกับข้าว หรือวิชาวิทยาศาสตร์ก็อาจจะเรียนว่า ควรให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างไร ข้าวถึงจะเจริญเติบโตตามหลักวิทยาศาสตร์

"สิ่ง สำคัญคือ หลักสูตรท้องถิ่น ต้องถูกพัฒนามาจากฐานความรู้ของท้องถิ่น ไม่ใช่คำสั่งมาจากส่วนกลางที่มาคอยกำหนดว่า วิชาท้องถิ่นต้องมีวิชาแกนกลาง แล้วต้องมีวิชานั้นวิชานี้เสริม อย่างหลักสูตรข้าว เราสามารถเอาวิทยาศาสตร์ไปอยู่ในนาข้าวได้ เกษตรอยู่ในนาข้าว คหกรรม อยู่ในโรงครัว แต่เอาผลผลิตไปอยู่ในนั้นด้วย"

อาจารย์สมบัติอธิบาย พร้อมเสนอความเห็นว่า หลักสูตรท้องถิ่นอาจจะต้องเรียนตามฤดูกาล เช่น หน้าแล้งเรียนเกี่ยวกับการเตรียมตัวปลูก หรือในภาคเรียนปกติ ซึ่งตรงกับหน้าฝน การเรียนต้องเป็นการเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ในผลผลิต



ขณะ ที่ ครูแววมณี อ่อนน้อม ครูผู้ช่วยประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศูนย์พลาญข่อย มองหลักสูตรข้าวว่า เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับครูรุ่นใหม่ เพราะได้ลงมือทำร่วมกับเด็ก ทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ได้ลงมือทำด้วยตัวเอง เกิดการเรียนรู้เรื่องการแบ่งกันทำหน้าที่

"จริงๆ แล้ว กิจกรรมเกี่ยวกับข้าว ทางโรงเรียนทำเป็นกิจกรรมพิเศษอยู่แล้ว ด้วยการพาไปเด็กทำนา เกี่ยวข้าว คัดแยกพันธุ์ข้าว ต่อไปหากนำหลักสูตรข้าวมาทำหลักสูตรเต็มรูปแบบ จะทำให้เกิดการเรียนที่เป็นระบบมากขึ้น เช่น ในภาษาอังกฤษก็จะมีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับข้าวให้เด็กได้เรียนรู้ อีกทั้งนำมาสู่การเรียนนอกห้องเรียนด้วย"

ครูแววมณียังเห็นว่า ปัจจุบัน แม้แต่เด็กชนบทก็ยังห่างไกลการเกษตร เพราะค่านิยมการเรียนในระดับสูง ทำให้เด็กห่างจากองค์ความรู้ดั้งเดิม จึงเป็นโอกาสดีที่เด็กได้หันกลับมาเรียนรู้สิ่งใกล้ตัว นอกเหนือจากหลักสูตรข้าวแล้ว ยังนำเด็กไปเรียนรู้จากธรรมชาติในรูปแบบอื่นๆ ด้วย อาทิ เรียนรู้เรื่องพันธุ์พืชในป่า ที่พวกเขาสามารถนำมากินได้

เช่น เดียวกับ พ่อใหญ่คำดี สายแวว เกษตรกรอาวุโส ที่แสดงความเห็นว่า หลักสูตรข้าวควรมีมานานแล้ว เนื่องจากปัจจุบันเยาวชนห่างไกลจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ทั้งที่ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้หาเลี้ยงชีวิตต่อไปได้

"หลัก สูตรข้าวน่าจะทำให้เด็กหันมาสำนึกในบุญคุณของข้าวว่า ชีวิตคนไทยขาดข้าวไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดต่อให้เราไม่ได้เรียนต่อในระดับสูงขึ้น แต่ความรู้เรื่องการปลูกข้าว ทำให้เรามีกิน มีเงินใช้พอประมาณ โดยไม่ต้องดิ้นรนไปอยู่ที่อื่น เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตัวเองให้เป็น" พ่อใหญ่คำดี กล่าว

ในส่วนของนักเรียนตัวน้อย ด.ญ.วาสนา น้อยอำคา นักเรียนชั้นป.5 บอกว่า หลักสูตรข้าวทำให้เรียนรู้พันธุ์ข้าวที่อยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ที่ทุกคนต้องกินในแต่ละวัน

"ได้ รู้ว่า กว่าจะมาเป็นข้าวให้เรากินมันลำบากแค่ไหน พ่อแม่เรา ปู่ย่าเราช่วยกันปลูกข้าวมาให้เรากินในวันนี้ พวกเราน่าจะช่วยกันรักษาพันธุ์ข้าวไว้ เพราะข้าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำข้าวต้มมัด ทำขนม ใส่บาตร หรือเอาไปแลกอาหารกับบ้านอื่นๆ ก็ได้" ด.ญ.วาสนา เล่าอย่างภูมิใจ

นี่ คือตัวอย่างของการนำเอาองค์ความรู้ใกล้ตัวมาประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอน และยังเป็นการสานต่อภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อคงวิถีชุมชนไม่ให้สลายไปตามกาลเวลา

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakEwTURjMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB3TkE9PQ==
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น