ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

15 ปีเขื่อนปากมูล วิถีคนลุ่มน้ำย่อยยับ

วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7157 ข่าวสดรายวัน


15 ปีเขื่อนปากมูล วิถีคนลุ่มน้ำย่อยยับ


วิภาวี จุฬามณี




15 ปีแล้วที่ "เขื่อนปากมูล" ตระหง่านกั้นขวางแม่น้ำมูนที่บ้านหัวเหว่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำมูน โดยเฉพาะวิถีชีวิตของชาวบ้านบริเวณนั้นที่ต้องพึ่งพาน้ำมูนยังชีพ

ทั้ง เดินขบวนเรียกร้องก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เป็นธรรม หรือมาปักหลักที่หน้าทำเนียบก็ถูกรัฐบาลใช้กำลังสลาย จนบัดนี้ปัญหาของชาวบ้านปากมูน ก็ยังไม่ได้รับการปัดเป่า

เช้าตรู่ ปลายเดือนมิถุนายน ที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านลุ่มน้ำมูนพร้อมหน้ากัน ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่แกนนำและชาวบ้านที่เคยร่วมกันต่อสู�ขอความเป็น ธรรม ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น "มด"วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์, อาจารย์พิเชษฐ์ เพชรน้ำรอบ, "หัวหน้าปุ๋ย"นันทโชติ ชัยรัตน์, "หัวหน้าอ้วน"บุญหลาย เพ็งดี รวมทั้งแกนนำชาวบ้าน อย่าง "พ่อสุนทร หอมสิน" และคนอื่นๆ ที่เคยร่วมภารกิจปกป้องลำน้ำมูนด้วยกันมา

ช่วงบ่าย ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล ทั้ง 4 อำเภอ คือ โขงเจียม สิรินธร พิบูลมังสาหาร และตาลสุม ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ เรียกร้องให้เปิดประตูเขื่อน ตามมติครม.เมื่อปีพ.ศ.2547 ที่เห็นชอบให้เปิดเขื่อนเป็นเวลา 4 เดือน คือตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เพื่อให้ชาวบ้านสามารถจับปลาได้ แต่ปีนี้ ทั้งๆ ที่ย่างเข้าสู่ปลายเดือนมิถุนายนแล้ว ยังไม่มีวี่แววว่าเขื่อนจะเปิดแต่อย่างใด

15 ปี นับตั้งแต่มีเขื่อน เกิดอะไรขึ้นกับสายน้ำ และวิถีชีวิตของคนแถบนี้บ้าง แม่สมปอง เวียงจันทร์ ชาวบ้านวังสะแบงใต้ อ.โขงเจียม ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิต และชุมชนลุ่มน้ำมูน (ชชช.) เล่าว่า นอกจากพันธุ์ปลา และพันธุ์พืชชายน้ำที่ลดลง หรือหายไปแล้ว ในแง่ของสังคม หลังจากเขื่อนเกิดขึ้นความเป็นอยู่ของชาวบ้านก็เปลี่ยนไป คือต่างคนต่างทำมาหากิน แทบไม่พบหน้ากัน จากเดิมที่เคยเกี่ยวดองกัน เมื่อหาปลามาได้ก็จะแบ่งปันเพื่อนบ้านอยู่เสมอ



"หลัง สร้างเขื่อน พ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัด ทิ้งลูกหลานไว้เป็นภาระทางนี้ เพราะที่นี่ไม่มีที่ทำมาหากิน บางคนทำไม้กวาดขายบ้าง รับจ้างทั่วไปบ้าง เดี๋ยวนี้หาปลาไม่ได้ แทบไม่มีอะไรกิน ตื่นเช้าต้องอาศัยรถตลาด ถ้าวันไหนรถตลาดไม่เข้าบ้านก็ไม่ได้กิน จากที่เมื่อก่อนเราออกไปจับปลาหากินเองได้เลย หรือมีเหลือขายให้คนอื่นด้วยซ้ำ"

แม่สมปองเล่าว่า หลังการเรียกร้องของชาวบ้าน รัฐบาลเข้ามาเยียวยาโดยให้เงินชดเชยเป็นค่าบ้าน และที่ดินทำกินที่ถูกน้ำท่วม และให้ต้นไม้มาปลูกคนละ 200 กว่าต้น เพื่อเป็นรายได้เสริม แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางส่วนที่ยังตกค้างไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการนี้

"ช่วง นั้นมีกระแสข่าวว่า พื้นที่ตรงนี้ (วังสะแบงใต้) ไม่มีเอกสารสิทธิ พี่น้องจะไม่ได้อะไรเลย ก็เลยมีพี่น้องกลุ่มหนึ่งย้ายออกไปก่อนเรา ท้ายที่สุดเราร่วมต่อสู้กับสมัชชาคนจน จนได้ค่าชดเชย จนเขาออกเอกสารสิทธิให้ ในขณะที่พี่น้องกลุ่มนั้นซึ่งย้ายไปอยู่ที่ อ.บุณฑริก อ.น้ำยืน ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้ค่าชดเชย หรือเอกสารสิทธิ"

แม่ สมปองบอกว่า ในการจ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้าน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้รับผิดชอบโครงการ ยินยอมจ่ายค่าชดเชยจากการสูญเสียอาชีพระหว่างสร้างเขื่อนให้แก่ผู้ชุมนุม ครอบครัวละ 90,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าชดเชย 30,000 บาท และเป็นเงินเข้ากองทุนสหกรณ์ 60,000 บาท



แต่ ผลจากการที่ชาวบ้านไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการในระบบสหกรณ์มาก่อน ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือปล่อยกู้ให้สหกรณ์อื่นๆ ตามคำแนะนำของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผลปรากฏว่า เงินบางส่วนที่ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมไป จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้คืน เช่นเดียวกับเงินที่ให้ชาวบ้านกู้ เพราะชาวบ้านไม่มีฐานอาชีพ จึงไม่มีรายได้มาใช้หนี้

ด้าน พ่อศรีบูรณ์ อ่อนศรี ที่ยึดอาชีพหาปลามาตั้งแต่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ และเป็นชาวบ้านคนแรกๆ ที่ลุกขึ้นมาคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูล ตัดพ้อว่า เดือดร้อนถึงขนาดต้องหาซื้อปลากิน ไม่อยากลงไปหาปลากินเองเหมือนก่อน เพราะลงไปก็ไม่คุ้มทุน จากเดิมที่เคยหาปลา 2-3 เดือน ได้เงินก้อน 20,000-30,000 บาท แต่เดี๋ยวนี้แค่เงินซื้อเครื่องมือจับปลาราคา 500-600 บาท ก็ได้ปลาไม่คุ้มกับที่เสียเงินไปแล้ว

"ที่เขาบอกว่า เอาน้ำจากเขื่อนมาช่วยการเกษตร มันไม่ใช่เลย เพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นที่ราบสูง เราต้องซื้อน้ำเขาชั่วโมงละ 70 บาท เป็นน้ำจากเขื่อนก็จริง แต่เราต้องจ่ายเงินอีก เพราะต้องสูบน้ำขึ้นมาบนบ่อพักก่อน ถึงจะปล่อยมาที่ทำเกษตรได้ บริเวณนี้ไม่มีตรงไหนได้ใช้น้ำฟรีเลย คนละแวกนี้ไม่ได้อะไรเลยจากการสร้างเขื่อน มีแต่เสียกับเสีย" พ่อศรีบูรณ์ ระบายความเดือดร้อน

ปัญหาเขื่อนปากมูล ยืดเยื้อยาวนานมาหลายรัฐบาล มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายต่อหลายชุด แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม

สำหรับ รัฐบาลปัจจุบัน ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 2 ชุด คือ คณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลงานวิจัย และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล โดยมี รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้าง เขื่อนปากมูล มีนายภูเบศ จันทนิมิ ที่ปรึกษารมต.สำนักนายกฯ เป็นประธาน

โดย จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบไปแล้ว 2 ครั้ง ผลจากเวทีรับฟัง มีทั้งชาวบ้านที่ต้องการที่ดินชดเชย 15 ไร่ หรือเป็นเงิน 520,000 บาท เพื่อทดแทนรายได้ที่สูญหายไป 15 ปี ชาวบ้านที่อยากให้เปิดเขื่อนถาวร เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับคืนมาเหมือนเดิม

รวมถึงการจัดทำคลองชล ประทาน ปล่อยกุ้งปล่อยปลาปีละ 10 ล้านตัว และช่วยเหลือครอบครัวที่ตกสำรวจ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกนำเสนอต่อประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล เพื่อให้นายกรัฐมนตรีกำหนดมาตรการแก้ไขต่อไป

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการ มาของเขื่อนปากมูล เป็นที่ประจักษ์ชัดถึงความล้มเหลว รัฐต้องจ่ายค่าชดเชยไม่จบสิ้น แต่นั่นมิได้สำคัญไปกว่ามันได้ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำมูน

เป็นความอดสูที่ยังคงยืนตระหง่านประจานตัวเองอยู่ทุกวันนี้ที่ "ปากมูน"


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEEwTURjMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB3TkE9PQ==

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น