ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศูนย์วิจัยฯ "ภูสิงห์" แหล่งวิจัย "เกษตรครบวงจร"

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11528 มติชนรายวัน


ศูนย์วิจัยฯ "ภูสิงห์" แหล่งวิจัย "เกษตรครบวงจร"


คอลัมน์ "การศึกษาสู่เศรษฐกิจ"




เป็น ที่ทราบกันว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะยึดการทำเกษตรแบบดั้งเดิม คือปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียว เกษตรกรไทยจึงมีปัญหาเรื่องหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนมาตลอด การทำเกษตรแบบครบวงจร หรือที่เรียกว่า ""เกษตรกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"" อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ปัญหานี้ได้

"ศูนย์วิจัยและฝึก อบรมภูสิงห์" ต.ภูดิน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ เป็นกองงานหนึ่งของ"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์" ที่สนับสนุนการทำเกษตรแบบครบวงจร

"อาจารย์นุกู ล แก่นจันทร์" รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯภูสิงห์ เล่าว่า เดิมภูสิงห์เป็นพื้นที่ป่ารกร้าง ทางนิคมสร้างตนเองเขื่อนลำปาว กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสรรให้ มทร.อีสาน เมื่อปี 2511 จำนวน 3,000 ไร่ เพื่อใช้ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชสำหรับฝึกภาคปฏิบัติของนักเรียนเกษตรกรรม ต่อมาได้คืนที่ดินแก่กรมประชาสงเคราะห์ 1,800 ไร่ จึงเหลือพื้นที่ 1,200 ไร่ ซึ่งแบ่งเป็น การผลิตงานฟาร์มพืช งานฟาร์มสัตว์ และงานฟาร์มประมง ทั้งนี้ ยังจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พร้อมกับจัดอบรมด้านวิชาการแก่เกษตรกร



"เป้า หมายหลักคือการสร้างและสนับสนุนงานวิจัยทางเกษตร เพื่อบริการวิชาการอาชีพเกษตรกรรม และพัฒนางานฟาร์มเชิงธุรกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรใน พื้นที่ เป็นแหล่งบ่มเพาะกล้างามสู่สังคม เพราะนักศึกษาของ มทร.อีสานทุกคนต้องฝึกปฏิบัติงานที่นี่"



"นายสมปอง มหาบัน" นักวิชาการของศูนย์วิจัยฯภูสิงห์ อีกหนึ่งคนที่ร่วมพลิกพื้นป่าให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และเป็นศิษย์เก่าของ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เล่าว่า การพลิกผืนป่าที่รกร้างมาทำการเกษตรไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อทำสำเร็จก็คุ้มค่า 41 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับความรู้ด้านวิชาการ สังเกตได้จากจำนวนผู้ขอเข้ารับการอบรมจากศูนย์วิจัยฯ และการทำเกษตรที่ต่างไปจากเดิม มีการปลูกพืชหลากชนิด และเลี้ยงสัตว์หลายประเภทมากขึ้น พืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ ยางพารา อ้อย ไผ่ เป็นต้น นอกจากนี้ ทางศูนย์ยังทำฟาร์มสัตว์ ขยายพันธุ์ เพาะเลี้ยงแพะเนื้อ นกกระจอกเทศ รวมถึง เลี้ยงกบ เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่ได้รับความสนใจ เพราะเลี้ยงง่าย และโตเร็ว

ศูนย์วิจัยฯภูสิงห์ ยังได้ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อน และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย

ผู้ ใดสนใจเยี่ยมชมแนวทางเกษตรกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรืออยากค้นหาแนวทางการสร้างรายได้ และสร้างอาชีพให้แก่บ้านเกิดตนเอง โทร.0-4381-1128


หน้า 23

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น