ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

13 ชาติเอเชียระดม ถก"เสือโคร่ง"

วันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7010 ข่าวสดรายวัน


13 ชาติเอเชียระดม ถก"เสือโคร่ง"


จิรพงศ์ เกิดเรณู






"เสือโคร่ง"นอกจากจะเป็นความยิ่งใหญ่ น่าเกรงขาม และมีอำนาจแล้ว เสือโคร่งยังเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าด้วย

เนื่อง จากเสือโคร่งเป็นสัตว์ผู้ล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร นั่นหมายความว่าในพื้นที่ป่าไหนมีเสือโคร่ง ย่อมแสดงว่าสัตว์หรือพืชในห่วงโซ่ชั้นล่างลงไป ย่อมมีความสมบูรณ์ตามไปด้วย

แต่ในภาวะปัจจุบัน ด้วยสภาพป่าที่น้อยลง ส่งผลให้สัตว์ในห่วงโซ่อาหารของสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่อย่างเสือโคร่งน้อยลง ซึ่งจะทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการดำรงอยู่ และอาจถึงขั้นสูญพันธุ์

ใน การประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศเอเชีย ด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ครั้งที่ 1 ที่ประเทศไทยจัดขึ้นที่อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นครั้งแรกของชาติในเอเชียที่มองเห็นความสำคัญของเสือโคร่ง ซึ่งมีอยู่เพียงแค่ 13 ประเทศเท่านั้น ที่ยังมีเสือโคร่งในป่าธรรมชาติ

เวที หารือร่วมกันครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ และเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่แต่ละคนผ่านการทำงานด้านสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน มีทั้งสิ้นเกือบ 100 คน จากบังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล รัสเซีย เวียดนาม และไทย

เป็นการจัดประชุมด้านสัตว์ป่าระดับนานาชาติที่ใหญ่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย

แนวคิดหลักของการประชุมครั้งนี้ คือต้องการนำผลทางวิชาการในการประชุมเชิงปฏิบัติการเสือโลกที่ประเทศเนปาล ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ที่สำคัญคือทำให้คนทำงานอนุรักษ์เสือโคร่ง ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆ ระหว่างคนทำงานในแต่ละประเทศมากขึ้น



ในส่วนของไทยที่นำผลการศึกษาวิจัยเสือโคร่งมาร่วมเสนอและแลกเปลี่ยน นำโดย ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ ผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 นครสวรรค์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ทำงานวิจัยเสือโคร่งในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ป่าอนุรักษ์มรดกโลก มานานกว่า 10 ปี โดยนำเสนอผลงานวิจัยเสือโคร่งจากภาพถ่าย "คาเมร่า แท็ป" (camera trapped) หรือกล้องจับการเคลื่อนไหว

โดยเล่าถึงการเริ่มต้นศึกษาและวิจัยว่า สาเหตุที่ศึกษาเสือโคร่ง เนื่องจากเสือโคร่งเป็นตัวชี้วัดเรื่องต่างๆ ในป่า เพราะเสือโคร่งจะไวต่อการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีการบุกรุกพื้นที่ป่า และเปลี่ยนป่าเป็นเกษตรกรรม หรือการเข้าไปของคนจำนวนมาก เสือจะอยู่ไม่ได้

เริ่ม แรกของการทำงานยังไม่มีองค์ความรู้ การจะเดินตามหาเสือเพื่อจับมาศึกษา เป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่รู้ว่าเสือมีวิถีชีวิตอย่างไร อยู่ที่ไหน นอนที่ไหน เราจึงมาเริ่มศึกษาจากมูลของเสือโคร่ง หรือเศษซากอาหารที่กินเหลือ เพื่อดูว่ามันกินอะไรเข้าไป

ดร.ศักดิ์สิทธิ์ อธิบายว่า แต่เมื่อเห็นกองมูลแล้ว สิ่งที่จะบอกได้ว่าเป็นของเสือโคร่งหรือไม่ ต้องดูจากรอยเท้า และสัญลักษณ์ที่มันทำก่อนถ่ายประกอบกันด้วย คือคุ้ยตะกุยดินแล้วจึงถ่ายคล้ายแมว แต่เสือจะไม่กลบ ก่อนนำมูลไปวิจัย



"เมื่อ ศึกษามูลแล้วจึงรู้ว่าสาเหตุของการลดลงของเสือโคร่งคืออะไร เมื่อก่อนเราไม่รู้ก็คาดเดาไปต่างๆ นานา แต่เมื่อศึกษาจึงพบว่าสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากอาหารที่เสือโคร่งกิน คือสัตว์เท้ากีบขนาดใหญ่ เช่น วัวแดง กระทิง ควายป่า เก้ง กวาง และหมูป่า ลดลง เมื่อไม่มีอาหารเสือก็อยู่ไม่ได้ หลายพื้นที่เป็นแบบนี้ นี่คือสิ่งที่ได้จากการศึกษาครั้งแรก"

ต่อมาจึงศึกษาติดตามประชากร และศึกษาเชิงลึกทางชีววิทยา เพื่อดูความต้องการอาหารของมัน พบว่าเสือโคร่ง 1 ตัว ต้องการเหยื่อ 500 ตัวต่อปี แต่ไม่ได้กินทั้งหมด กินเพียง 50 ตัวเท่านั้น ลองคิดดูว่าป่าที่พวกมันจะอยู่ด้วยต้องมีความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหน

อีกประการหนึ่ง เสือโคร่งตัวผู้ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ป่า 250 ตารางกิโลเมตร แต่ถ้าพื้นที่ป่านั้นๆ มีความอุดมสมบูรณ์มาก พื้นที่ที่เสือโคร่งต้องการก็จะน้อยลง ดังในพื้นที่ป่าของไทยที่ขยายไม่ได้ แต่สามารถทำให้สมบูรณ์มากขึ้นได้

จากนั้นทีมวิจัย ของดร.ศักดิ์สิทธิ์ จึง ศึกษาลายของเสือโคร่งผ่านภาพถ่ายคาเมร่า แท็ป โดยพบว่าพวกมันมีลาย หรือที่เรียกกันว่า "ลายพาดกลอน" ที่เป็นเอก ลักษณ์ของตัวเอง เปรียบเหมือนลายนิ้วมือมนุษย์ที่แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

จากลายที่ต่างกัน เมื่อนำภาพมาเปรียบจึงทำให้รู้ว่าตัวนี้เคยเจอหรือยัง หรือถ้าพบตัวใหม่ก็แสดงว่ามีจำนวนเสือเพิ่มขึ้น ดร.ศักดิ์สิทธิ์ระบุว่า ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมีคาเมร่า แท็ป ทั้งหมด 30 ตัว 15 คู่ เพราะแต่ละจุดต้องตั้งกล้อง 2 ฝั่ง ใช้ระบบตรวจจับความร้อน เมื่อเสือเดินผ่านกล้องก็จะถ่ายได้ทันทีโดยอัตโนมัติ

"ปีแรกที่เริ่ม ทำ พ.ศ.2537 ถ่ายไม่ได้เลย เพราะไม่รู้ว่าเสือเดินไปทางไหน หรือไม่รู้ธรรมชาติจริงๆ ของเสือ แต่หลังจากนั้นจึงรู้ว่าเสือชอบเดินตามถนนโล่ง หากเห็นสิ่งแปลกปลอมมันจะไม่เข้าใกล้เลย จึงวางกล้องใหม่ ใช้เศษไม้ปิดไม่ให้ผิดสังเกต จึงได้ภาพเสืออย่างไม่ยาก โดยปีที่ผ่านมาสามารถถ่ายภาพเสือได้ถึง 35 ตัว ทำให้เรารู้ว่า เสือโคร่งที่มีอยู่เพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ ลูกเสือมีชีวิตรอดแค่ไหน" นักวิจัยเสือกล่าว

เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมและเสนอผลงานวิจัย ทุกประเทศมีมติร่วมกัน 6 ข้อ คือ


1.ต้องมีความสมดุลกันในด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งและการพัฒนาเศรษฐกิจ และต้องไม่สนับสนุนโครงการใดๆ ที่จะทำให้เสือลดลง

2.ต้องบังคับใช้ กฎหมายอย่างจริงจัง และต้องรณรงค์เพื่อลดการซื้อขายเสือ


3.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์มาจัดการในพื้นที่เพื่อการดำรงอยู่ของเสือ

4.ต้อง สามารถทำให้คนและเสืออยู่ร่วมกันได้


5.ต้องร่วมกันหาการสนับสนุนการเงินจากภาครัฐและเอกชน เพื่อการอนุรักษ์เสือ และ
6.จะต้องติดตามผลจากการประชุมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังการประชุมสุดยอดเสือโลกที่ประเทศรัสเซีย และความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีพรมแดนที่เสือใช้ร่วมกัน

ข้อสำคัญ ที่สุดนอกเหนือจากนั้น ในอีก 12 ปีข้างหน้า ตรงกับปี พ.ศ.2565 เสือโคร่งที่มีอยู่จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นี่คือสัญญาที่ 13 ชาติต้องทำ


หน้า 5

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEEzTURJMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB3Tnc9PQ==

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น