ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

"ว.วชิรเมธี" ปะทะ "ก่อศักดิ์" ถก"สามก๊ก" ในมุม "ธรรมะ"สร้างผู้นำ

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4192  ประชาชาติธุรกิจ


"ว.วชิรเมธี" ปะทะ "ก่อศักดิ์" ถก"สามก๊ก" ในมุม "ธรรมะ"สร้างผู้นำ





ใน อดีตแม้จะมีการกล่าวกันว่า "อ่านสามก๊ก จบสามรอบ คบไม่ได้" แต่ในปัจจุบันก็มีคน ตั้งคำถามกันมากว่า อ่านสามก๊ก สามจบ คบไม่ได้ จริงหรือ ?

"ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ เป็นคนหนึ่งที่เห็นแย้งกับเรื่องนี้ โดยบอกว่า สามก๊กไม่ใช่หนังสือที่อ่านแล้วจะกลายเป็นคนมีเล่ห์เหลี่ยมและเต็มไปด้วย ความโหดเหี้ยม แต่ยังมีเรื่องของคุณความดีที่สามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้

ใน ฐานะที่ชอบอ่านเรื่องสามก๊กมาตั้งแต่เด็ก ซีอีโอซีพี ออลล์ ยืนยันว่า อ่านสามก๊กกี่จบก็คบได้ ถ้าหากใช้ความคิดที่เข้มข้น มองทะลุชีวิตจิตใจคน มองเห็นผลแห่งกรรมที่เป็นไป

หนังสือ "อ่านสามก๊ก...ถกบริหาร" เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ หยิบเรื่องราวการบริหารคนของผู้นำเก่ง ๆ ในยุคสามก๊กซึ่งถือเป็นยุคที่มีสีสันมากยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจีนมาให้ ผู้ที่สนใจได้ เรียนรู้แนวทางการบริหารของผู้นำทั้ง สามก๊กที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซีอีโอทางโลก"ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ก็ได้นัดพบซีอีโอทางธรรม "พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี" หรือที่สาธุชนคุ้นเคยกันดีในนาม "ว.วชิรเมธี" เปิดเวทีพูดคุยในหัวข้อ "อ่านสามก๊ก...ถกธรรมะ" ซึ่งเป็นงานเสวนานัดพิเศษในโครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ

บนชั้น 11 ของอาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม จึงเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่อยากร่วมค้นหาคำตอบ และฟังมุมมอง ของ 2 ซีอีโอในเรื่องนี้

และ ด้วยบทบาทหน้าที่ของซีอีโอทางโลกและซีอีโอทางธรรมที่อาจแตกต่างกันอย่างสิ้น เชิง มุมมองและวิธีคิดเรื่องธรรมะในสามก๊กที่ถูกหยิบมานำเสนอมีสีสันไม่แพ้ เวทีอื่น

ว.วชิรเมธี เปิดเวทีเสวนา ด้วยการย้อนอดีตให้ฟังว่า หลังจากที่เข้ามาเรียนรู้เรื่องธรรมะก็เห็นว่า การรู้เรื่องธรรมะอย่างเดียวไม่เพียงพอ เปรียบเสมือนคนที่มีตาข้างเดียว จึงต้องหาสะพานเชื่อมหาวิธีอธิบาย ในวัยเด็กชอบอ่านสามก๊ก เพราะรู้สึกว่าอ่านแล้วสนุก จึงคิดว่าเรื่องราวของสามก๊กน่าจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทางโลกกับทางธรรม ได้ เป็นวิธีการอธิบายธรรมะผ่านการเล่าเรื่อง

"ถ้าเรานำบุคลิกของตัวละครแต่ละคนมาอธิบายเป็นธรรมะง่าย ๆ จะพบว่า ชีวิตคนเรานั้นแบ่งเป็นสามก๊กจริง ๆ คือก๊กโลภ ก๊กโกรธ และก๊กหลง"

ตัวอย่าง ตัวละครที่เป็นตัวแทนของ "ก๊กโลภ" ในมุมของ "ว.วชิรเมธี" คือลิโป้ ผู้ที่ยอมฆ่าพ่อตัวเองเพียงเพราะความโลภอยากเป็นหัวหน้ากองทัพใหญ่

ตัว แทนของ "ก๊กโกรธ" คือเตียวหุย ซึ่งรบชนะมาร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ แต่ต้องมาตายด้วยน้ำมือลูกน้องตัวเอง เพราะใช้ความโกรธในการสั่งการ

ส่วน "ก๊กหลง" นั้น "ว.วชิรเมธี" มองว่า มีอยู่ในทุกตัวละคร เพราะทุกคนล้วนหลงอยู่ในวังวนของลาภ, ยศ, ทรัพย์สิน, อำนาจ และอิสตรี ตัวเอกในวรรณกรรมส่วนใหญ่จะหลงอยู่ในเกมแห่งอำนาจ

ซึ่งมองสอดคล้องกับ "ก่อศักดิ์" ที่ยกตำแหน่งตัวแทนแห่งความโลภให้กับลิโป้

ถึง แม้สามก๊กจะเป็นเรื่องราวของการทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ แต่ก็ให้ข้อคิดหลายเรื่องในการทำงาน ที่น่าสนใจคือเรื่องของอิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา และไตรสิกขา

ในเรื่องนี้ "ว.วชิรเมธี" พระนักเทศน์ชื่อดังได้ฉายภาพอิทธิบาท 4 ให้ฟังว่า เป็นคู่มือของการทำงานฉบับที่ใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย ตัวอย่างที่เห็นในเรื่องสามก๊ก คือตัวละครเอกของเรื่องอย่าง "เล่าปี่"

ฉาก ชีวิตของเล่าปี่สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า เล่าปี่นั้นเป็นผู้มี "ฉันทะ" หรือการมีใจรัก เพราะรักและมุ่งมั่นที่จะเป็นฮ่องเต้ ตั้งแต่เด็ก ประกอบกับเป็นคนที่มี "วิริยะ" จึงใช้ความพียรพยายามนานกว่า 30 ปี ก็สามารถก้าวจากชาวบ้านธรรมดาจนได้ขึ้นครองประเทศตอนอายุ 60 ปี

แต่ อย่างไรก็ตาม "เล่าปี่" ก็ยังมี "จิตตะ" คือความอุทิศตนอยู่ในตัวเอง ค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าจะได้เป็นใหญ่แล้ว แต่ก็ยังลดตัวลงคุกเข่าขอร้องขงเบ้ง ซึ่งเป็นเพียงคนหนุ่มไร้ผลงาน แต่มีแววความสามารถสูง ให้ยอมมาร่วมงานด้วย

สุดท้ายในเรื่อง "วิมังสา" คือการใช้ปัญญา เล่าปี่ได้แสดงให้เห็นว่า เขาสามารถใช้ปัญญาในการพัฒนาตัวเอง เริ่มต้นจากคนทอเสื่อขาย แล้วค่อย ๆ พัฒนาตนจนเติบใหญ่กลายเป็นผู้นำแผ่นดินได้

เล่าปี่จึงเป็นตัวอย่าง หนึ่งของผู้บริหารที่ใช้ธรรมะนำทาง จนได้รับการยกย่องจากผู้ที่อ่านสามก๊กและไม่เคยอ่านเรื่องนี้เลยว่าเป็นผู้ มีคุณธรรม โดยคำกล่าวของเล่าปี่ที่ตรึงใจผู้คนจนทุกวันนี้ คือ "อย่าเห็นความดีเพียงเล็กน้อยแล้วเพิกเฉยไม่ทำ อย่าเห็นความชั่วเพียงเล็กน้อยแล้วเผลอไปทำ..."

สำหรับเรื่องของ "ไตรสิกขา" อันประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา "ก่อศักดิ์" มองว่า ตัวละครที่น่านับถือ เป็นคนที่มีศีลในเรื่องสามก๊ก คือกวนอู ผู้ที่โจโฉต้องการตัวไปทำงานด้วยหลายครั้ง แต่เขากลับไม่ยอมไป เพราะมีสัจจะภักดี กับเล่าปี่ ส่วนขงเบ้งนั้น ถือว่าเป็นตัวแทนของนักบริหารที่เยี่ยมยอด นอกจากจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ยังควบตำแหน่ง ผบ.ทบ.ได้อีก เพราะขงเข้ง ได้ชื่อว่าเป็น ผู้มีสมาธิในการทำงานสูง สามารถใช้สมาธิในการบริหารงานกองทัพได้เป็นอย่างดี แม้จะมีเรื่องราวต่าง ๆ คอยกวนใจ

สำหรับตัวละครที่เป็นตัวแทนของเรื่อง "ปัญญา" นั้น "ก่อศักดิ์" ยกตำแหน่งให้ "อาเต๊า" ผู้ซึ่งรอบตัวเต็มไปด้วยคนที่ประจบสอพลอ แต่เพราะเขามีปัญญา จึงไม่หลงกลใครได้ง่าย ๆ

"จะว่าไปแล้ว สามก๊กก็เป็นเสมือนเงาสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คน สะท้อนให้เห็นภาวะผู้นำของแต่ละคน ชั่วโมงนี้ เราอยากได้ผู้นำแบบไหน ลองกลับไปคิดดู"

"ว.วชิรเมธี" ทิ้งท้ายอย่างน่าคิด


หน้า 31
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02hmc01150353&sectionid=0220&day=2010-03-15

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น