ชมพุทธประวัติ ฉบับการ์ตูน

Art of Asia: Buddhism - The Art of Enlightenment

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

การแนะแนว"อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ"จัดโดยมูลนิธิไทยคม 10-11 ต.ค.52

Bookmark and Share

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ฉันฆ่าสามี!!! ตราบาป...ไม่ยุติธรรม

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11513 มติชนรายวัน


ฉันฆ่าสามี!!! ตราบาป...ไม่ยุติธรรม





"นังผู้หญิงใจบาป ขนาดผัวมันยังฆ่าได้ลงคอ!!"

คำ ด่าทอจากสังคมยังคงดังก้องอยู่ในความรู้สึกของ "มะลิ" และ "เอื้องจันทน์" 2 ผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดี "ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา" ซึ่งผู้เสียชีวิตก็หาใช่คนอื่นคนไกล แต่เป็น "สามี" ที่ร�วมเรียงเคียงหมอนมาด้วยกัน

สังคมรุมประณามหยามเหยียด โดยหารู้ไม่ว่า ก่อนที่ทั้งคู่จะกลายเป็น "จำเลย" พวกเธอต้องตกอยู่ในสภาพ....ผู้ถูกสามี "กระทำความรุนแรง" จนบอบช้ำรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ!!

"สมกับคำด่าของเขาแล้ว"

"มะลิ " หญิงชาวชัยภูมิ วัย 30 ปี อาชีพก่อสร้าง พูดด้วยน้ำเสียงขมขื่น "เพราะฉันเป็นคนฆ่าเขาเองกับมือ" เธอรับสารภาพ ทั้งที่ตลอด 6 ปีที่อยู่กินกับสามีอาชีพช่างก่อสร้างเหมือนกัน จนมีลูกชายด้วยกัน 1 คนนั้น เขาไม่เคยเป็นสามีและพ่อที่ดีเลย วันๆ เอาแต่กินเหล้า เสพยาบ้า ซึ่งนี่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ทั้งสองทะเลาะกันบ่อยๆ และทุกครั้งที่ทะเลาะกัน เขาจะกระทำกับเธอประดุจกระสอบทราย

"เวลาเขาโกรธเขาจะชอบบีบคอ ด่าหยาบๆ ทำร้ายตบตี มีหลายครั้งเจ็บปางตายต้องนอนหยอดน้ำข้าวต้ม"

แต่มะลิก็อดทน แม้เขาจะทำร้ายอย่างไร เธอก็ยังให้อภัย...

กระทั่ง ...เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ทั้งคู่ทะเลาะกันด้วยเรื่องเดิมๆ ที่เขาเอาแต่กินเหล้าไม่สนใจลูกเมีย เขาลงมือตบตีจนมะลิทนไม่ได้ บอกเลิก และจะกลับไปอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่ชัยภูมิ

"ก่อนจะไป ขอตีให้น่วมก่อน" สามีพูดก่อนเดินถือค้อนเข้ามาหวังจะตีมะลิ ระหว่างนั้นมะลิหันไปเห็นมีดอยู่ข้างๆ เธอจึงยกมีดขึ้นมาเพื่อใช้ป้องกันตัว เหตุการณ์ชุลมุนอยู่พักหนึ่ง แล้วมีดก็ปักเข้าไปที่ท้องของผู้เป็นสามี!! เขาล้มลง พร้อมกับทิ้งตราบาปให้มะลิต้อง "มือเปื้อนเลือด" ไปตลอดชีวิต

ขณะนี้ คดีของมะลิอยู่ในชั้นการพิจารณาสอบสวนของอัยการ โดยได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อนหญิง

เช่น เดียวกับ "เอื้องจันทน์" อายุ 52 ปี ชาว จ.พะเยา อาชีพค้าขาย ซึ่งมีชะตาชีวิตไม่ต่างจากมะลิ แม้สามีของเอื้องจันทน์จะไม่ติดเหล้า ติดยา แต่ "ความเจ้าชู้" ของเขานั้น หาตัวจับยากจริงๆ

"อยู่กับเขามา 17 ปี เจ็บช้ำน้ำใจเรื่องความเจ้าชู้มาตลอด" ซึ่งนี่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ทั้งคู่มีปากเสียงกันตลอด 17 ปีที่ใช้ชีวิตร่วมกัน

"ครั้งล่าสุด อายุตั้ง 77 แล้วยังไม่เลิกเจ้าชู้ แถมยังโทรศัพท์พูดเสียงอ่อนเสียงหวานกับผู้หญิงคนนั้นต่อหน้าเรา แต่พอคุยกับเราตะคอกใส่ทุกคำ" เอื้องจันทน์ระบายความอัดอั้น "พอเราจับได้ ก็ไม่ยอมรับ แถมยังจุดธูปต่อหน้าพระสาบานว่า หากมีจริง ขอให้ตายภายใน 3 วัน 7 วัน"

2 เดือนต่อมาหลังจากวันที่สาบาน เขาก็เสียชีวิตลง! จากเหตุการณ์ที่ทั้งคู่มีปากเสียงกันอย่างรุนแรงเรื่องที่ฝ่ายชายไปมีหญิง อื่น ไม่ยอมให้เงินใช้จ่ายเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ เอื้องจันทน์ถูกสามีทำร้ายด้วยการเตะ ตีเข่า ชกบริเวณหน้าอก และตีด�วยท่อนเหล็ก เธอจึงหยิบมีดขึ้นมาเพื่อป้องกันตัว เป็นจังหวะเดียวกับที่สามีโถมตัวเข้ามาพอดี ปลายมีดแทงเข้าไปบริเวณซี่โครงซ้าย 1 ครั้ง

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เอื้องจันทน์ถูกควบคุมตัวเข้าฝากขังที่ทัณฑสถานหญิงเป็นเวลา 18 วัน ข้อหาฆ่าคนตาย ก่อนที่บุตรสาวจะประกันตัวออกมา เธอยอมรับกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อแก้ตัว ซึ่งถ้าไม่ห่วงลูกสาวและหลานๆ ให้เธออยู่ในนั้นตลอดไปก็ได้

"ยอมรับ ตัวเองว่าเป็นคนบาป เครียดมาก มีแต่คนประณามว่าดิฉันเลว แต่ไม่มีใครรู้เลยว่า ตลอดเวลามันเจ็บช้ำแค่ไหน ด้วยความสัตย์จริงว่า ฉันไม่ได้อยากฆ่าเขา เพราะถ้าอยากให้เขาตายจริง คงไม่อยู่กับเขามาถึง 17 ปีหรอก" แล้วเธอก็ร้องไห้

ขณะนี้ คดีของเอื้องจันทน์อยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าผลการดำเนินคดีจะออกมาอย่างไร เอื้องจันทน์ก็น้อมรับชะตากรรม

"ชีวิตนี้เพิ่งได้มาเจอ ขอแค่ครั้งเดียวพอแล้ว ชาติไหนๆ ก็ขออย่าได้เจออีกเลย" พูดด้วยน้ำเสียงสะอื้น

เรื่อง ราวชีวิตของเธอทั้งคู่ เปรียบเสมือน "กระจกส่อง" ครอบครัวไทยหลายๆ ครอบครัว ที่ผู้หญิงถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คน จริงอยู่ แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางกฎหมาย มันเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ และควรได้รับโทษทัณฑ์ แต่หากมองย้อนกลับไปถึงสาเหตุโศกนาฏกรรม

"ตราบาป" ที่ได้รับวันนี้ มันไม่ยุติธรรมเลย!!!



สถิติน่าห่วง ชนวน "โศกนาฏกรรม"


- นางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า สำหรับกรณีภรรยาฆ่าสามีนั้น เมื่อก่อนนานๆ 4-5 ปี มี 1-2 คน แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็น 2-3 คนต่อปี

- นางสาวปานจิตต์ แก้วสว่าง นักสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิผู้หญิง ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 มูลนิธิได้ช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 110 คน โดยเกือบทั้งหมดเป็นความรุนแรงที่กระทำโดยสามี นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือผู้หญิงในคดีเจตนาฆ่าสามีจำนวน 4 คน

- นายจีราวัฒน์ จันทร์หอม หัวหน้าฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์ประชาบดี 1300 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยข้อมูล ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนสิงหาคม 2552 มีผู้หญิงถูกละเมิดทางร่างกาย ทางเพศ ทางจิตใจ โทรศัพท์มาปรึกษาและขอความช่วยเหลือ 262 เรื่อง ซึ่งมีถึง 214 เรื่องที่ถูกทำร้ายร่างกาย ส่วนใหญ่มีอายุ 31-40 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้หญิง


หน้า 25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น